ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และการทรงท่า


ในการเรียบเรียงคู่มือระบบการรับความรู้สึกทั้ง 7 (SI) กับการส่งเสริมศักยภาพเด็ก เป็นเพียงการยกตัวอย่างของพฤติกรรมความบกพร่องและกิจกรรการส่งเสริมในแต่ละระบบเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านใช้สังเกตและให้การส่งเสริศักยภาพเด็กในความดูแลของท่าน เพื่อให้ได้ผลดี ท่านควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดที่อยู่ใกล้บ้านท่านร่วมด้วย เพื่อช่วยประเมิน ให้คำแนะนำ และจัดโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพให้ตรงกับลักษณะบุตร-หลานของท่าน

ระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และการทรงท่า

Body Position: The Proprioceptive Sense

 

 

 

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และการทรงท่า

  •  เล่นแรง
  • เปิด-ปิดประตูเสียงดัง
  •  ชอบแกะ หัก สิ่งของต่างๆ
  • เคี้ยว/กัด ปลายดินสอ/เล็บ
  • กล้ามเนื้อดูนิ่มเหมือนคนไม่มีแรง
  • ชอบปีน ป่าย/ทำกิจกรรมผาดโผน
  • มีความลำบากในการขึ้น-ลงบันได
  • ชอบนั่งแบะขาหรือนั่งหมอบลงบนโต๊ะ
  • มีความลำบากในการไต่ราวสลับแขนซ้าย-ขวา
  • มีความลำบากในการทรงท่าทำกิจกรรมต่างๆ
  • หยิบจับสิ่งของต่างๆได้ แต่ดูไม่มั่นคงเหมือนคนไม่มีแรง

กิจกรรมเพื่อส่งเสริมระบบกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ และการทรงท่า

 

  • เล่นว่าว
  • โหนราว
  • เล่นชักเย่อ
  • ซักผ้า บิดผ้า
  • นอนคว่ำวิดพื้น
  • กรอกน้ำใส่ขวด
  • ใช้มือตี/ตบลูกบอล
  • ตบมือประกอบจังหวะ
  • เช็ดกระจก/เช็ดกระดาน
  • ใช้ไม้ตีก้อนน้ำแข็ง/ตอกตะปู
  • ผลัก ลาก ดัน วัตถุที่มีน้ำหนัก
  •   ใช้บัวรดน้ำ/แก้วน้ำ รดน้ำต้นไม้
  • จัดหนังสือเรียงบนชั้นวางหนังสือ
  • กระโดดบนแทรมโพลีน/โซฟา/เบาะ
  • คลานข้ามหมอนข้างหรือทางต่างระดับ
  • มือ 2 ข้างวางบนพื้น ยกขา 2 ข้างขึ้นกำแพง
  • กระโดดท่าต่างๆ เช่น กระโดดกระต่ายขาเดียว กระโดดท่ากบ
  • สะพายกระเป๋าเป้/ถือวัตถุที่มีน้ำหนัก ไม่เกิน 5% ของน้ำหนักตัว
หมายเลขบันทึก: 278527เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ทราบได้อย่างไรว่าเด็กวัย 2 -3 ขวบ น่าจะทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทรงตัวแบบใหนได้บ้าง

คุณวิภาวรรณ สามารถดูได้ตามหนังสือคู่มือพัฒนาการเด็กทั่วไปได้คะ

ตัวอย่างกิจกรรมที่เด็กวัยนี้ทำเกี่ยวกับระบบการทรงตัวเช่น

- เดินขึ้น-ลงบันไดแบบแกะราว

- การก้าวข้ามสิ่งกีดขวางที่มีความสูงและความกว้างไม่มากเกินความสามารถของเด็ก

- การเดินขึ้น-ลง ทางต่างระดับ

- การเดินบนเบาะ/โซฟา หรือพื้นที่ไม่มีความมั่นคงต่างๆ

- การปีนป่าย เช่น ปีนขึ้นโต๊ะ/เก้าอี้ หรือปีนป่ายเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น

ณิชาภัทร ศรีนฤวรรณ

หากมีอะไรสงสัย สามารถเมลล์มาถามเพิ่มเติมได้คะ

ตาลคะจากเชียงใหม่

สวัสดีคะอาจารย์

ตาลเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตาลสนใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษคะ แต่ตาลไม่ได้จบมาทางนี้ ตาลอาจจะไม่มีความรู้มากเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัด

แต่ถ้าตาลสามารถทำได้จะเป็นเรื่องที่ดี และแปลกใหม่สำหรับตาลด้วยคะ

ตอนนี้ตาลก็เป็นครูสอนโยคะด้วยคะ ก็เลยสนใจอยากจะทำวิจัยเกี่ยวสามารถเอาโยคะเข้าไปเกี่ยวกับด้วย

ตาลอยากจะสอบถามว่ามีใครบ้างที่ทำงานวิจัยที่ใช้โยคะเข้ามาเป็นกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กพิเศษบ้างคะ

รบกวนอาจารย์แสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ

ตอบทางอีเมล์เลยก็ยิ่งดีคะ

ตาลคะ

นางสาวสุขหล้า พรหมฝาย

นศ.ป.โท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคพิเศษ

สวัสดีคะคุณสุขหล้า พรหมฝาย

เป็นเรื่องที่ดีมากคะที่มีคุณสนใจจะนำโยคะมาสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตัวเองก็สนใจคะ ก็มีการนำไปปรับใช้เหมือนกัน ได้ผลดีเช่นกันคะ แต่กว่าจะสอนในขั้นนี้ได้ ต้องฝึกให้เด็กเรียนรู้การรักษาสมดุลของร่างกายก่อน เรียนรู้การแยกแยะซ้าย-ขวา การจัดระเบียบของร่างกายก่อน และที่สำคัญคือการมีสมาธิที่จะจดจ่อในการทำกิจกรรมคะ แปลกแต่จริงนะคะ เด็กกลุ่มนี้มีความยืดหยุ่นน้อยมาก หากคุณสุขหล้า สนใจจริงๆ เรามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้คะ เพราะตนเองก็สนใจเช่นกัน กะจะทำเรื่องนี้ในการเรียนต่อขั้นสูงอยู่พอดีเลยคะ

สนใจส่ง mail มาได้คะ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท