ระบบการได้ยินกับการส่งเสริมศักยภาพเด็ก


ในการเรียบเรียงคู่มือระบบการรับความรู้สึกทั้ง 7 (SI) กับการส่งเสริมศักยภาพเด็ก เป็นเพียงการยกตัวอย่างของพฤติกรรมความบกพร่องและกิจกรรการส่งเสริมในแต่ละระบบเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อ่านใช้สังเกตและให้การส่งเสริศักยภาพเด็กในความดูแลของท่าน เพื่อให้ได้ผลดี ท่านควรปรึกษานักกิจกรรมบำบัดที่อยู่ใกล้บ้านท่านร่วมด้วย เพื่อช่วยประเมิน ให้คำแนะนำ และจัดโปรแกรมการส่งเสริมศักยภาพให้ตรงกับลักษณะบุตร-หลานของท่าน

ระบบการได้ยิน

Hearing: The Auditory Sense

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางระบบการได้ยิน

  • หันเหง่ายต่อเสียงที่ได้ยิน
  •  มีความลำบากในการพูดให้ชัดเจน
  • มีความลำบากในการอ่านออกเสียงดัง
  • ทำคนละอย่างกับคำสั่งหรือสิ่งที่คนอื่นบอก
  • มีความลำบากในการร้องเพลงประกอบจังหวะ
  • พูดคุยคนละเรื่องกับสิ่งที่เพื่อนในกลุ่มพูดคุยกัน
  • มีความยากลำบากในการพูด/เขียนเรียงประโยค
  • มีความลำบากในการฟังแล้วเขียนสรุปจับประเด็น
  • มีความลำบากในการบอกแหล่งที่มาของเสียงที่ได้ยิน
  • แยกแยะเสียงที่อ่านใกล้เคียงกันลำบาก เช่น หมี กับ มี
  • มักมองหน้าคนถาม ก่อนที่จะตอบสนอง หรือขอคำถามใหม่
  • แสดงอาการรำคาญ/ไม่ชอบเวลาได้ยินเสียงกระซิบ เครื่องดูดฝุ่น
  • ไม่สามารถจดจ่อกิจกรรมที่ตนเองทำอยู่ได้ หากได้ยินเสียงอื่นแทรกเข้ามา

กิจกรรมเพื่อส่งเสริมระบบการได้ยิน

  • เล่นเก้าอี้ดนตรี
  • เล่นเกมทายปัญหา
  • เล่นเกมพายกระซิบ
  • อ่านหนังสือออกเสียง
  • ฟังเพลงจากเครื่องใส่หูฟัง
  • ร้องเพลงตามเพลงที่ได้ยิน
  • ฟังเพลงที่มีจังหวะแตกต่างกัน
  • เล่นเกมจับคู่เสียงที่ได้ยินกับรูปภาพ
  • เล่นเกมบอกตำแหน่งที่มาของเสียงที่ได้ยิน
  • เล่นเครื่องเล่นดนตรี เช่น เปียโน ระนาด กลอง
  • เอาจาน/วัตถุต่างๆ มาเคาะประกอบเสียงเพลง
  • เปิดเพลงบรรเลง เสียงเบา/ใส่หูฟัง ขณะทำการบ้าน
  • ฟังเสียงจากเทปแล้วบอกว่าเสียงที่ได้ยินคือเสียงอะไร
  • เคลื่อนไหวประกอบเสียงดนตรี เสียงเพลง/จังหวะเคาะ เช่น เคาะเสียงดังและเร็วให้เดิน เคาะเสียงเบาเป็นจังหวะสม่ำเสมอให้วิ่ง
  • ฟังเสียงจากแหล่งกำเนิดทางธรรมชาติโดยตรง เช่น ไปทะเล ฟังเสียงคลื่น เสียงลม หรือเสียงสัตว์เลี้ยงในบ้าน
หมายเลขบันทึก: 278509เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท