องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา


ปัจจุบัน ทุกคนตระหนักดีว่าคอมพิวเตอร์มิใช่เป็นเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องจัดหาองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้พร้อม ๆ กัน บริษัท IBM ได้ใช้หลักการ 4 C’s Components ในการประเมินความพร้อมของประเทศต่าง ๆ ในการให้บริการความรู้ด้วยระบบ e-Learning หลักการ 4 C’s Components ประกอบด้วย Connectivity, Content, Capacity building และ Culture องค์ประกอบทั้ง 4 นี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้ ดังนี้

1   Connectivity  หมายถึง   องค์ประกอบด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต   เป็นองค์ประกอบที่นับได้ว่ามีการจัดหาดำเนินการมานานหลายปีแล้ว    แต่เนื่องจากองค์ประกอบนี้มีค่าใช้จ่ายสูง  ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันรวดเร็ว  จึงดำเนินการต่อเนื่องมานานหลายปี โดยมีการจัดทำแผนกำหนดเป้าหมายสัดส่วนคอมพิวเตอร์กับจำนวนนักเรียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในปี งบประมาณ 2549  ได้มีแผนจัดซื้อคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 เครื่อง ให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้มีสัดส่วน นักเรียน 20 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพัฒนาเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเช่นเกาหลีใต้และมาเลเซีย จะมีสัดส่วนที่ นักเรียน 5 คน ต่อ คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง เท่านั้น

            การต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบขององค์ประกอบนี้ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตกำลังมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดคุณค่าในการใช้เทคโนโลยีเข้าไปพัฒนาการศึกษา การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารทางไกล ซึ่งมีหลายรูปแบบ จึงจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้  (ดูภาพประกอบ)

                                 

2  Content    หมายถึง   สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ ประกอบด้วย  ข้อความ  รูปภาพ  Animation และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งรวมถึงวิดีทัศน์ด้วย  องค์ประกอบของ  Content  แบ่งได้เป็น 3 ส่วน   คือ  การสร้าง  การนำเสนอ  และ การเข้าถึง

                        (1) การสร้าง (Create) หมายถึง การเขียนเนื้อหา รวบรวม ออกแบบ และจัดทำเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                        (2)  การนำเสนอ (Offer)  หมายถึง  การจัดทำสื่อให้อยู่ในรูปแบบที่จะนำไปใช้งานได้ เช่น บันทึกลงในแผ่นซีดี (CD)  หรือดีวีดี (DVD)   บันทึกอยู่ในเว็บไซต์  ตลอดจนจัดเข้าอยู่ในระบบของ CMS (Content Management System)

                        (3)  การเข้าถึง (Access)  หมายถึง  การที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงหรือนำสื่อไปใช้ได้ เช่น การดาวน์โหลด (Download) จากเว็บไซต์   การนำซีดีหรือดีวีดีไปติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้  ตลอดจนการเรียนรู้วิธีการใช้สื่อต่าง ๆ ที่ต้องการเรียนรู้

                  ในการสร้างเนื้อหา  สามารถรวบรวมจากส่วนย่อยซึ่งอาจเป็นข้อความหรือรูปภาพต่าง ๆ นำมารวมเข้าด้วยกันก็จะได้หัวข้อเรื่อง  นำหัวข้อเรื่องต่าง ๆ มาต่อเข้าด้วยกันก็จะได้บทเรียนจนกระทั่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ต่อไป              

                  เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ประเภทแรกอาจเรียกว่า เป็นเครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เหมาะที่จะใช้สร้างสื่อเฉพาะส่วน เช่น Word Processing, Flash, Dream และ Power Point เป็นต้น  เครื่องมืออีกประเภทหนึ่งอาจเรียกว่าเป็นโปรแกรมสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์  สามารถใช้สร้างสื่อให้มีเนื้อหาเป็นเรื่องราวได้   ถ้าเป็นบทเรียนสามารถทำได้ทั้งบท   เครื่องมือประเภทนี้มีทั้งชนิดที่สร้างบทเรียนเบื้องต้นง่าย ๆ ได้   และบางชนิดสามารถสร้างบทเรียนที่สลับซับซ้อนได้ด้วย   โปรแกรมสร้างสื่อที่นิยมใช้กันในประเทศไทยมีมากมายตัวอย่างเช่น  Flip Publisher, Tool book,  Namo  และ Elicitus เป็นต้น    โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีไดอะแกรมภาพตลอดจนวิดีโอคลิป (Video clip)ให้ด้วย ดังนั้นผู้เริ่มต้นสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงมักจะใช้เครื่องมือเหล่านี้  และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นและต้องการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะเฉพาะบางประการก็จะต้องใช้เครื่องมือสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในประเภทแรกด้วย  จึงจะสามารถสร้างสื่อที่มีลักษณะตามความต้องการได้

                                               

                                 

 

3 Capacity building  หมายถึง การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้กำกับนโยบาย  ผู้บริหารหน่วยงาน  ครูผู้สอน  นักเรียน  ตลอดจนถึงผู้สร้างสื่อและเจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิค   ครูผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะที่จำเป็น 4 ด้าน คือ  การใช้สื่อ   ทักษะทางด้านเทคนิค    การประสานความร่วมมือ และ การสร้างเครื่องช่วยกับผู้เกี่ยวข้อง  ซึ่งครูผู้สอนจะต้องมีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์ผู้เรียน  กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้   การเลือกสื่อการเรียนรู้      การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องการความร่วมมือจากผู้เรียนและการประเมินผลครู    จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหน้าที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง    การพัฒนาครูให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ    และโดยที่ครูมีจำนวนมากประกอบกับความเปลี่ยนแปลงในภารกิจหน้าที่ ทำให้ต้องมีการอบรมครูเป็นจำนวนมากเป็นเวลาที่ยาวนาน ดังนั้น  การสร้างขีดความสามารถการเรียนรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้าไปใช้ในการเรียนการสอนประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

           

4   Culture  หมายถึง  วัฒนธรรมในการเรียนการสอนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการเรียนการสอนที่ครูพบกับนักเรียน และให้ความรู้ตามที่กำหนดไว้ในตารางเรียน  ซึ่งมีเวลาที่ชัดเจนและจำกัด  โดยครูเป็นผู้สอนให้ความรู้แก่นักเรียนไปตามขั้นตอนที่ครูเป็นผู้กำหนดทั้งหมด    เมื่อใช้เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยที่นักเรียนจะต้องรับผิดชอบต่อบทเรียนด้วยตัวเองมากขึ้น นักเรียนจะสามารถเรียนรู้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดขึ้นเอง   รู้จักการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  ตลอดจนการสังเคราะห์ความรู้ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน   ในขณะเดียวกันครูผู้สอนจะต้องจัดโปรแกรมให้นักเรียนแต่ละคนเรียนตามความสามารถและสนใจของแต่ละคนที่แตกต่างกัน    จะต้องเข้าใจพฤติกรรมความแตกต่างระหว่างบุคคลมากขึ้น    ตลอดจนยอมรับความแตกต่างเหล่านั้นและนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่พึงประสงค์  พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้าสู่เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานกลางให้ได้  ดังนั้น นวัตกรรมการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างจากเดิมมาก และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นจึงจะทำให้การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาเกิดผลดียิ่งขึ้น

 

องค์ประกอบทั้ง 4 ประการนี้  ต้องใช้ร่วมกันและต้องได้รับการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน จึงจะสามารถใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาให้เกิดผลดีได้  หากขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะทำให้ไม่สามารถใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ

 

  <p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify; tab-stops: 54.0pt 72.0pt 90.0pt;"></p>

 

 

หมายเลขบันทึก: 278187เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

สร้างบล๊อกแล้วค่ะอาจารย์ แวะมาเยี่ยมบ้างนะคะ

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะ รายละเอียดคำตอบกรณ๊ศึกษาที่ 5 ของ นางพวงผกา วรรณา http://gotoknow.org/journals/puang_2506

อาจารย์อย่าลืมมาดูคำตอบกรณีศึกษาที่ 1 ของครูตุ้ยนะค่ะ

ผม นายดิษฐพงษ์ เจริญลาภ มารายงานตัวแล้วครับ

จากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

มารายงานตัวแล้วค่ะอาจารย์ จากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

เรียน ดร.เอกพรต

อาจารย์คะหนูทำบล็อกกรณีศึกษาที่ 2 เรียบร้อยแล้วนะคะ

ไม่รู้ว่าถูกรึเปล่าคะ

นุ่น(ศูนย์สระบุรี)ค่ะ

มารายงานตัวใหม่ค่ะอาจารย์

เมื่อครู่ลงผิดบล็อก(ลงส่งดูค่ะ)

กรณีศึกษาที่ 2 นะคะ

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

วันนี้กลุ่มของผม ( วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี ) นำเสนองานแล้วนะครับ  จากศูนย์สระบุรี

ได้เข้ามาศึกษาแล้วมีประโยชน์มากขอขอบพระคุณอาจารย์

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณสำหรับข้อมูลวิชการค่ะ

กลุ่มผมนำเสนองานแล้วครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องไหมครับ แต่ว่าข้อมูลของ อาจารย์ อ่านแล้วกำลังทำความเข้าใจครับ

อรพินธ์ สังข์ทอง

นักศึกษาปริญญาโท ศูนย์สระบุรี ส่งรายงานย้อนหลัง 2 เรื่องค่ะ

ใบงาน 1 อธิบายความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้ (ศึกษากรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา) 1. การจัดการ/การบริหาร แนวตอบ คือ ความสามารถในการบริหารกระบวนการ (Process) อย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ ขององค์กรนั้นๆ อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. นวัตกรรม แนวตอบ in+novare (latin) กลายเป็น+ทำให้ใหม่ Make changes...new methods, ideas, or products 3. เทคโนโลยีการศึกษา แนวตอบ ศาสตร์ ที่ว่าด้วยวิธีการ หรือ การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหาในการจัด การศึกษา หรือการปฏิบัติทางการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน 4. ข้อมูล แนวตอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ และสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงการกระทำของสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย 5. สารสนเทศ แนวตอบ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เช่น ข้อมูลจากการขาย ข้อมูลนักเรียน หากมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ จะทำให้การตรวจสอบเป็นไปได้โดยง่ายและถูกต้อง แต่เมื่อไรที่นำข้อมูลมาประมวลผลจะได้ผลที่เรียกว่า “สารสนเทศ” 6. ระบบสารสนเทศ แนวตอบ ข้อมูลเป็น(input) โดยมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) ผ่านกระบวนการจัดการ (processing) กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้น กลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง (output) 7. ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา แนวตอบ ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ (input) โดยมีส่วนเก็บข้อมูล (storage) ผ่านกระบวนการจัดการ (processing) กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้น กลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง (output) เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษา 8. การสื่อสาร แนวตอบ คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล และสารสนเทศในแบบต่าง ๆ 9. เครือข่าย แนวตอบ การเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ / คอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร หรือถ่ายโอนข้อมูล 10. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวตอบ การผสานเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสารโทรคมนาคม ดังนั้น จึงครอบคลุมองค์ประกอบ ต่าง ๆ 3 ส่วน คือ 1.ระบบการสื่อสาร คือ เครือข่ายโทรคมนาคมที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ และใช้ร่วมกันได้ เพื่อการเชื่อมต่อของข้อมูลและการเชื่อมต่อของเครือข่าย 2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ เครื่องมือและการสื่อสารอื่น ๆ และคอมพิวเตอร์ 3.ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ระบบและอุปกรณ์ทำงานได้ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริการสารสนเทศและฐานข้อมูล 11.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา แนวตอบ หมายถึง การนำ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์ สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ส่งงานกรณีศึกษาที่ 3 แล้วนะครับ ถ้าอย่างไรช่วยติชมด้วยครับ

อาจารย์ค่ะมารายงานตัวค่ะจากศูนย์สระบุรี

ส่งงานกรณีศึกษาที่ 5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ขอให้อาจารย์ช่วยติชมด้วยนะค่ะ

นางสาวสุพัตรา กลับวงษ์

นักศึกษาปริญญาโท

สาขาบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ศูนย์สระบุรี

อาจารย์ช่วยตรวจงานเพิ่มเติมกรณีศึกษาที่1ของนางสุมาลี พลแสน ด้วยไม่ทราบว่าจะถูกต้องไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอรายงานตัวกับอาจารย์ด้วยนะค่ะ

กรุณาช่วยตรวจงานด้วย ขอบคุณมากค่ะ

รายงานตัวครับ

ผมชื่อนายชัยวัฒนา ดีใหม่

นักศึกษา ปริญญาโท บริหารการศึกษา

ศูนย์สระบุรี รุ่นที่ 2

ผมได้รายงานหน้าห้อง พร้อมส่งรายงานเรียบร้อยแล้วครับ

รายงานตัวด้วยคน

นักศึกษา ป. โท ปี 2553 จากศูนย์สระบุรี มารายงานตัวครับ

จุฑามาศ มะณีแสง นักศึกษา ป. โท 2553 จากศูนย์ สระบุรี มารายงานตัวด้วยคน ค่ะ

จุฑามาศ มะณีแสง

สมัคร บล๊อก ได้หรือยังครับ

เอกพรต

วิมล ไวยโภคา นักศึกษา ป. โท 2553 รุ่นที่ 3 จากศูนย์ สระบุรี มารายงานตัวด้วยคน ค่ะ

นักศึกษา ที่ทำ blog เสร็จ แล้ว

Print screen หน้า blog ส่งที่คุณอุ้มด้วยครับ

ปัญชนิตย์ โอปั่น ป.โท ปี 2553 ศูนย์สระบุรี รายงานตัวทำblogแล้วคะ

ทำไมที่หน้าประวัติ ไม่มีรูปแล้วละคะอาจารย์

วัชรี รอดแก้ว นักศึกษา ป. โท รุ่นที่ 3 จากศูนย์ สระบุรี มารายงานตัวด้วยคนค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ สมถวิล โกจินอก นักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 3 ศูนย์สระบุรี มารายงานตัวคะ

สวัสดีคะอาจารย์ มีปัญหาให้ช่วยคะ เข้าไปแก้ไขเพื่อใส่รูปให้เพื่อน เมื่อใส่รูปเข้าไปแล้ว มันฟ้องว่า translation missing: th, user, error_on_avatar_content_type  ต้องทำอย่างไรคะ 

สมัครได้แล้วค่ะ อาจารย์สุดหล่อของพวกหนูๆ

สวัสดีคะอาจารย์ สุรี เปียสกุล นักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 3 ศูนย์สระบุรี มารายงานตัวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท