ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

เจาะหลักสูตรประถม 1-6 แก่น “วิชาชีวิต” เกิดขึ้นในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง


เช้านี้หลังจากวิจัยลมหายใจเสร็จ  เปิดอ่านข้อมูลเก่าๆที่เก็บไว้

เลยมาพบ  วิชาชีวิตที่อ่านแล้วเคยบันทึกข้อมูลไว้นานแล้วจึงก๊อบมาให้อ่านดูขอรับ...

เจาะหลักสูตร

อะไรคือแก่นวิชาชีวิต

รถจณา เถาว์พันธ์ ี่

วิชาชีวิตคืออะไร อะไรคือวิชาชีวิต...? ที่มาของวิชาชีวิต เกิดขึ้นในโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง

ี่ศรัทธาในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และจัดการเรียนการสอนแบบวิถีพุทธ เพื่อบ่มเพาะเมล็ด

พันธุ์แห่งความดี ตามหลักและวิธีการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ของพระพุทธศาสนา

ทำไมต้องมีวิชาชีวิต

เพราะการเรียนแค่เรื่องวิชาการ ไม่อาจสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ในภาวะที่สังคมคุณธรรมเริ่ม

เสื่อมถอยลงไปทุกที การผนวกเอาวิชาการกับการใช้ชีวิตมาไว้ในบทเรียนเดียวกัน เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่

จะสร้างเกราะชีวิต และพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ดังคำของพระอาจารย์ชยสาโร ที่ว่า “...ทุกวันนี้คนมี

ความรู้แน่นหนา แต่มีการศึกษาน้อยนิด ความรู้มันมาก แต่การศึกษามันน้อย ความรู้อยู่ในกรอบที่คับแคบ

มาก และเมื่อการแสวงหาความรู้ขาดหลักธรรมเป็นบาทฐาน หรือเป็นกรอบ ความรู้นั้นก็จะเกิดผลเสีย

มากกว่าผลดี...” ซึ่งพอสรุปได้ว่า การให้เด็กได้เรียนรู้แค่ในตำรา คงไม่เพียงพอเสียแล้ว เพราะวิชาการต่าง

ๆ เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิต ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ดังนั้นโรงเรียนทอสี จึงจัดให้นักเรียนได้เรียนวิชา

ชีวิตในลักษณะองค์รวม ไม่แยกส่วนระหว่างวิชาการกับวิชาชีวิต

วิชาชีวิตคืออะไร

อาจารย์พัชนา มหพันธ์ (ครูแจ๊ส) ที่ดูแลฝ่ายวิชาชีวิตของโรงเรียนทอสี เล่าให้ฟังว่า เดิมที

โรงเรียนทอสีจะเรียกฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวิชาการมาโดยตลอด แต่เมื่อครูแจ๊สได้เข้ามาทำงานร่วมกับครูอ้อน

(อาจารย์บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์) และคุณครูท่านอื่น ๆ ในโรงเรียน ก็ได้เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา

มากขึ้น เข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนามากขึ้น จึงได้มีการพูดคุยกันในโรงเรียนว่า อยากจะขอเปลี่ยน

ชื่อฝ่ายวิชาการนี้เสียใหม่ เป็นวิชาชีวิตเพราะที่โรงเรียนทอสีของเรา ไม่ได้สอนแค่วิชาการ แต่เราสอน

วิชาชีวิตด้วย ส่วนหน่วยบูรณาการที่มีการจัดการศึกษาแบบองค์รวม ก็ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกัน เป็นเด็ด

ดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

การจัดการเรียนการสอนในหน่วยบูรณาการ จะมีวิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาเป็นแกนในการ

ผูกโยงเข้ากับสาระวิชาอื่น ๆ และนอกเหนือจากการบูรณาการวิชาต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่ทอสีทำมาตลอดคือ

การใส่หลักการและเหตุผลที่เป็นองค์ธรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้น ๆ มาตลอด แต่เนื่องจากที่ผ่านมา เรา

ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ด้วยชื่อธรรมดา ๆ เช่น หน่วยข้าว ทำให้ครูยังคงติดอยู่ในกรอบของวิชาการ

อยู่ ทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมายที่เป็นองค์ธรรมที่เราต้องให้กับเด็ก หรือพฤติกรรมทางปัญญา และเมื่อปลาย

 

เทอมที่ผ่านมา (2548) ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อใหม่หมด ด้วยการตั้งชื่อให้มีความชัดเจนขึ้น ตื่นเต้นขึ้น

กระตุ้นให้เด็กอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น

ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ที่ต้องตั้งชื่อให้ดูตื่นเต้น เพราะเราเล็งเห็นว่า ชื่อมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นความสนใจของเด็ก

ทำให้เด็กอยากเรียนอยากรู้มากขึ้น โดยทุกระดับชั้นตั้งแต่ป.1-.6 จะเปลี่ยนชื่อใหม่หมด ยกเว้นวิชาที่เป็น

ทักษะ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และชื่อหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละระดับจะมีความสอดคล้อง เชื่อมโยง

มีเหตุ มีผล โดยในเทอมที่ 1 ของทุกระดับชั้น จะมีวิทยาศาสตร์เป็นแกนหลัก ส่วนเทอมที่ 2 จะมีสังคม

ศึกษาเป็นแกน แล้วเอาวิชาอื่นมาบูรณาการ แต่นอกเหนือจากการบูรณาการแล้ว จะต้องเป็นองค์รวมด้วย

กล่าวคือ จะไม่แยกวิชาการออกจากชีวิต และทำให้ทั้ง 2 เรื่อง เป็นเรื่องเดียวกัน ให้เด็กมองทุก ๆ อย่าง ให้

เป็นภาพเดียวกัน มองกายกับจิตให้เป็นภาพรวม

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว...วลีนี้มีที่มา

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว เป็นคำที่เรานำมาใช้เพื่อต้องการสื่อให้เด็กเห็นว่า สิ่งทั้งหลายใน

โลกล้วนเชื่อมโยงกันทั้งหมด เมื่อมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็ย่อมมีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นตาม หลักการใหญ่ที่เราเอามาใช้

ทรัพปยัตตา ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับกรรม และผลของการกระทำ และเนื้อหาวิชาที่เขาจะเรียนก็จะเกี่ยวพัน

ถึงชีวิตที่ผ่านมาของพวกเขา ไม่แยกส่วนกัน ไม่เหมือนเมื่อก่อน เวลาที่เราเรียนเรื่องอะไรจะแยกส่วนกัน

หมด อย่างจะเรียนเรื่องดิน ก็เรียนแต่เรื่องดิน จำให้ได้แล้วไปสอบ ไม่มีการเชื่อมโยงเลย ไม่รู้เลยว่าแก่น

ของดินจริง ๆ คืออะไร เราไม่รู้ว่า ถ้าไม่มีดิน ไม่มีชีวิต และไม่ตระหนักถึงความสำคัญ แต่การเรียนที่ทอสี

ก็จะเชื่อมโยงกัน ทำให้เด็กเห็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตรอบตัวที่อยู่รอบตัว

เพื่อให้รู้ถึงแก่น และสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก

รูปแบบกระบวนการเรียนรู้

รูปแบบการเรียนของชั้นประถมศึกษา ในหน่วย เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวนี้ จะแบ่ง

ออกเป็น 6 ปี 12 เทอม 12 บทเรียน โดยบทเรียนทั้ง 12 บทเรียนจะร้อยเรียงกัน ให้เขาเห็นว่า สิ่งใดที่เขาทำ

นั้นจะกระทบกับคนอื่นตลอดเวลา เพื่อที่เด็ก ๆ จะได้ใช้ชีวิตไปในทางที่ดีงาม และไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดย

ครูแจ๊สได้ยกตัวอย่างบทเรียนสั้น ๆ ว่า

ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เทอม 1 จะเรียนเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จุดมุ่งหมายของบทเรียน

นี้คือ ต้องการให้เด็กสามารถพึ่งตนเองให้ได้เร็วที่สุด เมื่อเกิดปัญหา เด็กสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ในทางที่ถูกต้องได้อย่างไร ส่วนเนื้อหาวิชาการที่ให้กับเด็กระดับนี้คือ การเรียนรู้เรื่องร่างกาย และจิตใจที่

เชื่อมต่อกัน ร่างกาย เราให้เด็กเรียนตั้งแต่ว่า เขาได้ร่างกายนี้มาจากไหน บ้านเกิดหลังแรกของเขาอยู่ที่ไหน

ซึ่งบ้านหลังแรกของเด็กคือท้องของแม่ เราก็จะพาเขาไปเรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อในเทอม 2 ใน

บทเรียนที่ว่า หนี้ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า หนี้ศักดิ์สิทธิ์นี้คือ หนี้ที่เรามีต่อพ่อแม่นั่นเอง เป็นหลักการและเหตุผลที่

จะนำเด็กเข้าสู่การเรียนรู้เรื่อง กฎ กติกา ของครอบครัว

 

ระดับประถมศึกษาปีที่ 2 เทอม 2 เราต้องการใหเด็กได้เรียนรู้เรื่อง คน พืช สัตว์ แบบเป็นภาพรวม

ให้เด็กเห็นว่า ทั้ง 3 สิ่งนี้เกื้อกูลกันอยู่ แต่ละชีวิต แต่ละสรรพสิ่งล้วนมีความเหมือน และความต่าง เราจึงใช้

ชื่อบทเรียนนี้ว่า กัลยาณมิตร ในเทอมที่ 2 เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องกฎ กติกาสังคมในกรุงเทพฯ ในบทเรียนที่

ชื่อว่า ระลึกคุณบ้านเกิด ขณะเดียวกับเราก็ต้องดึงเขากลับมามองตัวตนที่แท้จริงของเขาว่า บ้านหลังแรกคือ

ท้องแม่ ต่อมาคือผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยนั่นก็คือ กรุงเทพฯ และกรุงเทพฯ ในวันนี้เป็นอย่างไร น่าอยู่หรือไม่

ความสมดุลระหว่าง คน พืช สัตว์หายไปไหน เพราะน้ำมือคนใช่หรือไม่ แล้วเขาจะใช้ชีวิตอย่างไรให้ดี ไม่

เบียดเบียนผู้อื่น

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เทอม 1 เด็กก็ยังคงเรียนรู้เรื่องสิ่งมีชีวิตอยู่ ในบทเรียนที่ชื่อว่า เมล็ด

พันธ์แห่งความดี โดยมีข้าวเป็นตัวดำเนินเรื่อง เพราะข้าวเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต และวิถีชีวิตของ

ชาวนาก็น่าสนใจ เด็กจะได้รู้ถึงความอดทน ความมุ่งมั่นและคุณธรรมหลาย ๆ อย่างที่ชาวนามี ได้สัมผัส

ของจริง ด้วยการพาเขาไปทำนา ฝึกให้เขาเรียนรู้ชีวิต ให้อยู่กับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านช่วยฝึกเด็กของเรา เด็ก

ๆ จะได้ซึมซับกับอาชีพเก่าแก่ของคนไทย รับรู้ถึงความขยัน อดทน และสำนึกในบุญคุณของชาวนาที่ปลูก

ข้าวให้เรากิน ระลึกถึงบุญคุณข้าว ไม่กินทิ้งกินขว้าง และก็เอาเรื่องข้าวมาเปรียบเทียบกับชีวิตของเขาว่า

หากเขาเป็นเมล็ดพันธ์แห่งความดี จะหว่านลงตรงไหนก็เจริญงอกงาม และทำประโยชน์ให้กับสังคมได้

ส่วนในเทอมที่ 2 คืนสู่แผ่นดิน ในบทเรียนนี้เด็กจะได้เรียนเรื่อง กฎกติกาของชาติบ้านเมือง และเหตุ

ปัจจัยที่ทำให้แต่ละภาคมีความแตกต่างกัน จุดมุ่งหมายของบทเรียนนี้นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่อง

ภูมิศาสตร์ในด้านต่าง ๆ แล้ว คือ ต้องการปลูกฝังให้เด็กเห็นคุณค่าของแผ่นดิน และจะไม่ทำลายสิ่งที่มี

คุณค่านี้เมื่อเขาโตขึ้น

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เทอม 1 จะเริ่มเรียนรู้เรื่องของสิ่งไม่มีชีวิต และให้ชื่อบทเรียนว่า

พลังน้ำใจ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของดินน้ำลมไฟ โดยมีน้ำเป็นตัวดำเนินเรื่อง เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ รวม

ไปถึงน้ำในใจของเด็กแต่ละคนที่เรียกว่า น้ำใจ เทอม 2 จะเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ ในหัวข้อ ตามรอย

กรรม ย้ำดูตน ที่นอกจากจะสอนเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์แล้ว ยังสามารถสอดแทรกเรื่องของกฎแห่ง

กรรมได้เป็นอย่างดี

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เทอม 1 เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลก ในบทเรียนที่ชื่อ ต้นเหตุแห่ง

ตน ในด้านวิชาการเขาจะเรียนรู้ตั้งแต่การกำเนิดโลก คน พืช สัตว์ ในบทนี้เด็กจะรู้ว่าโลกที่เขาอาศัยอยู่นี้

ให้อะไรกับเขาบ้าง แล้วเขาจะคืนประโยชน์อะไรให้กับโลก เทอมที่ 2 จะเป็นเรื่อง ตนเป็นต้นเหตุ ซึ่งจะ

ต่อเนื่องจากเทอมที่ 1 ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร การที่เรามองว่า เราเป็นนายของธรรมชาติ เราทำ

อะไรบ้าง ตนเป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ของโลก เช่น ภาวะโลกร้อน หรือภาวะน้ำมากอย่างที่กำลัง

เกิดขึ้นในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่เกิดจากการกระทำและกิเลสของคนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่

เราไม่เคยรู้เลยว่า จะส่งผลกระทบต่อโลก และสิ่งเหล่านั้นจะย้อมกลับมาทำร้ายตัวเราเองอย่างไร

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เทอม 1 โลกรอดได้เพราะกตัญญู เด็กจะเรียนไกลออกนอกโลก ไปสู่

จักรวาล ดวงดาวต่าง ๆ แล้วดึงเขากลับมามองตนเองว่า ตัวเขาเล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับโลก และจักรวาล

การที่เขาคิดจะทำนั่น ทำนี่ มันสะท้อนให้เขาเห็นว่า จริง ๆ ตัวตนของเขาเล็กนิดเดียวนะ แล้วชีวิตของเขา

เมื่อตายไปมันก็จะเป็นดินน้ำลมไฟ แต่สิ่งที่ยังเหลืออยู่คืออะไร นั่นก็คือ คุณงามความดีที่ตนเองได้สร้างไว้

เท่านั้นที่จะยังคงอยู่ เขาต้องเพียรพยายามทำความดีให้กับโลกนี้ ให้เหลือไว้เป็นคุณค่าให้กับโลกใบนี้บ้าง

ส่วนในเทอมที่ 2 ซึ่งเป็นเทอมสุดท้าย เด็ก ๆ จะได้ แกะสลักชีวิต ซึ่งจะไม่เกี่ยวกับ พืชสัตว์ หรือจักรวาล

แต่จะให้เด็ก ๆ ทำโครงงานของตนเองขึ้นมา คือให้เขาเลือกที่จะแกะสลักชีวิตตนเอง ที่ผ่านมา มีคน

มากมายที่มาช่วยเขาแกะสลักชีวิต แต่ต่อจากนี้ไป เขาต้องเลือกที่จะแกะสลักชีวิตด้วยตนเองแล้ว เราก็จะ

มาพูดกับเด็ก ๆ ว่า เขาจะเลือกแกะสลักชีวิตของตนเองอย่างไร เขาจะแกะให้สวยงามหรือแกะให้หยาบ

กระด้าง ก็อยู่ที่ตัวเขาว่าจะเลือกเดินทางไหน เลือกเป็นคนอย่างไร

ด้วยพลังศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา สิ่งที่โรงเรียนแห่งนี้มุ่งหวังจากการ

จัดการเรียนการสอน คือ ปรารถนาให้เด็กมีศรัทธาที่จะทำความดี ปลูกสัมมาทิฐิให้เกิดกับเด็ก ซึ่งทุกฝ่าย

ทั้งโรงเรียน บ้าน ชุมชน ต้องช่วยกันในการที่จะพัฒนาสิ่งดีงามให้เกิดขึ้นกับเด็ก เพื่อให้เขาเป็นมนุษย์ที่

สมบูรณ์ ดีงามในอนาคต

ที่มาจาก........วงการครู  ปีที่3   ฉบับที่32   เดือนสิงหาคม 2549

มุมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หมายเลขบันทึก: 277962เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2009 06:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นมัสการ

ขอบพระคุณที่ท่านนำเรื่องที่ดีมากนี้มาให้ศึกษาครับ

Pหน้าที่ที่ธรรมฐิตจะพึงกระทำขอรับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท