การบริหารระบบสารสนเทศในสถานศึกษา


ครูเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งในการที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เนื่องจากครูต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนที่มีครูอายุค่อนข้างสูงส่วนมากจะมีปัญหา เพราะครูกลุ่มนี้จะไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าจะให้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจทำให้ครูบางคนไม่ชอบหรือบางคนอาจจะปฏิเสธไปเลย และหากจะให้ครูเหล่านี้ไปอบรมคอมพิวเตอร์ครูก็จะไม่ค่อยอยากไปโดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เช่น แก่แล้วสายตาไม่ดี มีภาระด้านครอบครัว กำลังจะลาออกแล้ว เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้าไปใช้ในโรงเรียนที่มีครูอายุมาก ๆ จึงค่อนข้างจะมีปัญหา บางครั้งเทคโนโลยีอาจจะไปสร้างปัญหาให้แก่ครูแทนที่จะไปแก้ปัญหาและช่วยพัฒนางาน

1.ความพร้อมของบุคลากรในสถานศึกษา

สำหรับโรงเรียนที่ครูมีอายุเฉลี่ยต่ำกว่า 45 ปี    ครูกลุ่มนี้จะเป็นครูที่ผ่านสถาบันการศึกษาที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาแล้ว   ดังนั้น จึงพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพียงแต่ขาดการสนับสนุนเท่านั้น   หากสถานศึกษาให้การสนับสนุน  พวกเขาก็พร้อมที่จะทุ่มเท   จึงมักพบเสมอว่าครูบางคนลงทุนไปซื้อหาอุปกรณ์ทางด้านเทคโนโลยีด้วยเงินทุนส่วนตัว   เพื่อนำอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ในการสอนนักเรียนหรือใช้ทำงานอย่างอื่นเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียน  ดังนั้น การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในโรงเรียนที่ครูมีอายุเฉลี่ยค่อนข้างต่ำจึงไม่ค่อยมีปัญหา

หลักสูตร

 

       สถานศึกษาซึ่งสอนระดับอนุบาลและประถมศึกษา  นักเรียนส่วนมาก
ยังไม่สามารถคิดในสิ่งที่เป็นนามธรรมครูผู้สอนจึงต้องช่วยให้เด็กสามารถคิด
โดยนำเสนอในสิ่งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี 

นวัตกรรมทางด้านสื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง   สื่อที่นักเรียนจับต้องได้หรือสามารถทำด้วยตนเองจะช่วยให้   

นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เช่น อาจใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนเรียนศิลปะโดยการหัดวาดรูป  หรือให้ออกเสียงใน

การเรียนภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในกรณีที่นักเรียนอ่านหนังสือออกแล้ว   นอกจากนี้ นักเรียนยังสามารถค้นหา

ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพื่อทำงานส่งครูหรือสามารถใช้ซอฟท์แวร์บางตัวในการฝึกประสบการณ์เพิ่มจากชั้นเรียนได้

สำหรับสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษา  เนื่องจากเด็กวัยนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นและอยากพิสูจน์

ความสามารถของตนเอง   การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะเป็นการเสริมประสบการณ์ที่ดียิ่ง   อินเทอร์เน็ตที่

นำมาใช้ในโรงเรียนจะช่วยให้นักเรียนค้นหาความรู้เพิ่มเติมทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนและสิ่งที่เขาอยากรู้เองได้      

อินเทอร์เน็ตส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม ระบบ e - Learning   จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจในสิ่งที่พวกเขา

ยังไม่เข้าใจขณะที่เรียนในห้องเรียนเพิ่มขึ้น   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer- Assisted  Instruction : CAI)

 จึงสามารถช่วยนักเรียนได้ทั้งในการเรียนเนื้อหาใหม่   ทบทวนเนื้อหาเดิมที่เรียนแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ  ช่วยให้เรียนรู้และเข้าใจ

สื่อที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้น

        สถานศึกษาที่สอนหลักสูตรปริญญาตรีหรือสูงกว่า นักศึกษาในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ  และสังคมในมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีมากขึ้น   ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาจะต้องฝึกฝนและเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ  โดยเฉพาะนักศึกษาที่เรียนวิชาชีพครูจะต้องเรียนรู้นวัตกรรมด้านการสอนและด้านสื่อการศึกษา เช่น นักศึกษาที่เรียนวิชาเอกเคมี  จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของเครื่องมือสมัยใหม่   การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง เพราะทำให้นักศึกษาได้ค้นหาในสิ่งที่จะนำไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคต   ได้ค้นหาความรู้บางอย่างเสริมในสิ่งที่อาจารย์สอนแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ   รวมทั้งได้ค้นหาความรู้บางเรื่องที่อาจารย์กำหนดให้ศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก

ด้านการบริหาร   

การสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษา

                   

  อำนาจในการบริหารโรงเรียนส่วนมากอยู่ที่ผู้อำนวยการหรืออาจารย์ใหญ่  แต่ในสถาบัน อุดมศึกษาผู้มีอำนาจสูงสุด ได้แก่ อธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัย   ถ้าผู้บริหารเป็นผู้ที่ไม่สนใจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีแล้วการดำเนินการก็จะไม่ราบรื่น  สถานศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องจัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว   ในการจัดทำแผน ต้องให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน   ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ทั้งครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร ต้องร่วมกันคิด  เมื่อได้วิสัยทัศน์แล้วการทำแผนก็จะต้องนำไปสู่วิสัยทัศน์นั้น  แผนจะเป็นตัวกำหนดว่าโรงเรียนจะพัฒนาไปในทิศทางใด

                  เมื่อพิจารณาปัจจัยสภาพแวดล้อมแล้ว ขั้นต่อไปสถานศึกษาจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เหมาะสมกับสภาพที่เป็นอยู่ ความไม่พร้อมของปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนจะยกเลิกการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ทั้งหมด แต่โรงเรียนจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ให้ได้การใช้เทคโนโลยีในการสอนปัจจุบันมีมากมายหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีกลยุทธ์ในการสอนที่แตกต่างกัน  

                                            

                ปัจจุบันสถาบันการศึกษาหลายแห่งกำลังขาดบุคลากรอันเนื่อง มาจากนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการลดกำลังคน    การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพได้   ตัวอย่างเช่นงานทะเบียนและวัดผล  เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ในการคิดเกรดจะทำให้ลดภาระของอาจารย์และทำให้นักศึกษาได้ทราบผลการเรียนเร็วขึ้น   หรือการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานห้องสมุดก็จะทำให้ลดเวลาเกี่ยวกับการทำบัตรรายการและบริการการค้นหา

หมายเลขบันทึก: 277816เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้ามาศึกษาแล้วดีมากเลยครับ

ภาสรัตน์ ม่วงมิตร

ศึกษาแล้วได้รับความรู้ และความเข้าใจ ขอบคุณค่ะ

นักศึกษา ป.โท ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์สระบุรี รุ่นที่ 3

ศึกษาแล้วเป็นข้อมูลที่น่าสนใจน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนของโรงเรียนของได้

จริงค่ะ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการเรียนการสอนยิ่ง ดิฉันเป็นครูประถมและไม่มีความสามารถในการสอนศิลปะแต่จำเป็นต้องสอนจึงแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนศิลปะให้นักเรียนหัดวาดรูป และใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการทราบ ซื่งถือว่า นวัตกรรมและเทคโนโลยีช่วยให้การเรียนการสอนสะดวกและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นศ.ป.โท รุ่น 3 ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์สระบุรี

ตอบ พี่ สุภี สุภานันท์

บางที่ ครู ก็ไม่ได้เก่งทุกเรื่องครับ

แต่การหาวิธีพัฒนา เด้กให้เป็นคนที่สมบูรณ์

ตามควรแก่วัยได้ เป็นสิ่งที่ครู ดีๆ ทำได้ทุกคนครับ

รู้สึกชื่นชมในความตั้งใจของพี่ครับ

เอกพรต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท