การปฏิรูปการศึกษารอบ 2


ความคิดเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศกล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ไม่ควรทำแบบดาวกระจาย หรือทำทุกเรื่อง หากทำเช่นนั้นอีก 10 ปีมั่นใจว่าต้องมีการปฏิรูปรอบสาม เพราะขณะนี้ระบบการศึกษาและบรรยากาศในโรงเรียนนอกจากจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ยังทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย ที่สำคัญสังคมไทยยังบ้าปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา ซึ่งถือเป็นการล้มละลายทางปัญญาอย่างช้า ๆ

เรียน อาจารย์ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมณ์คำตอบข้อ 5 การปฏิรูปการศึกษารอบ 2

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวไว้ว่าไม่ควรทำแบบดาวกระจาย  ท่านได้กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง ปฏิรูปประเทศไทย เริ่มด้วยร่วมใจปฏิรูปการศึกษาภาคกลางซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.)ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ว่า

การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2

เบื้องต้นได้กำหนดแนวทางไว้ 9 ประเด็น คือ

1.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผู้เรียน

2.การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา

3.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาและการมี ส่วนร่วม 4.การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

5. การผลิตและพัฒนากำลังคน

6.การเงินเพื่อการศึกษา

7.เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

8.กฎหมายเพื่อการศึกษา และ

9.การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

ซึ่งหลังการรับฟังความคิดเห็นภายในเดือนมีนาคมนี้จะต้องได้คำตอบใน 3 ข้อคือ

1.จะปฏิรูปอะไร

2.จะจัดลำดับความสำคัญอย่างไร

3.และจะปฏิรูปอย่างไร

      เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมอารยประเทศ ซึ่งภายในเดือนมีนาคมนี้ต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด และตนมั่นใจว่าภายในปีนี้จะได้เห็นผลงานในการปฏิรูปการศึกษารอบสองอย่างชัดเจนแน่นอน

ความคิดเห็นท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

     กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ไม่ควรทำแบบดาวกระจาย หรือทำทุกเรื่อง หากทำเช่นนั้นอีก 10 ปีมั่นใจว่าต้องมีการปฏิรูปรอบสาม เพราะขณะนี้ระบบการศึกษาและบรรยากาศในโรงเรียนนอกจากจะไม่ส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว ยังทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย ที่สำคัญสังคมไทยยังบ้าปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา ซึ่งถือเป็นการล้มละลายทางปัญญาอย่างช้า ๆ

ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษารอบสอง

1.ต้องสร้างการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง

2.ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก

3.ต้องสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหาร

      เพราะขณะนี้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีไม่ถึงร้อยละ 10 ที่มีภาวะผู้นำที่จะนำพาองค์กรให้ถึงจุดหมาย ส่วนใหญ่จะทำตามคำสั่งจากนักการเมือง.

คำตอบคือ จากการที่ ดร.จีระได้เน้นตามข้อมูลข้างต้นอธิบายได้ดังนี้คือ

1.ต้องสร้างการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็ง

     เราสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของ 3 วงกลมเพื่อที่จะสร้างระบบการบริหารจัดการในระบบการศึกษาให้เข้มแข็งโดยต้อง เน้นถึงสภาพแวดล้อมทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานประถมศึกษา, ผู้บริหารโดยเฉพาะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด, ครูหรืออาจารย์ทั้งหมดให้เกิดความเข้มแข็งโดยการนำ 8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภท ว่าด้วยเรื่องพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังต่อไปนี้คือ

 

2.ต้องปฏิรูปวิธีการเรียนรู้ให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก

    โดยการนำทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการ; 5 K’s (ใหม่) เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  มาใช้เป็นนโยบายเพื่อที่จะสร้างเด็กใหม่ให้เกิดและเจริญเติบโตมาในแบบของคนที่กล้าคิด กล้าแสดงออก และรักการเรียนรู้ (Long Life Learning)

     การสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้บริหาร  เราเน้น 3 หัวข้อหลัก ๆ เพื่อให้ได้ผู้นำที่มีความรู้และความสามารถ  อีกทั้งมีวิสัยทัศน์และความเป็นผู้บริหารที่ใช้ใจ  ความทุ่มเท ความจริงใจสามารถทำให้ได้รับการยอบรับและนำองค์กรไปสู่เป้าหมายได้จริง เพื่อที่จะให้ได้ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์จุดสำคัญคือต้องให้เขาเหล่านั้นมีความเข้าใจวิสัยทัศน์ในด้าน HR ใหม่ดังนี้คือ

 ธนพล  ก่อฐานะ

Ph.D.3 SSRU

หมายเลขบันทึก: 277628เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 08:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอให้สิ่งที่อาจารย์พยายามที่จะพัฒนาระบบการศึกษาให้ได้ตามที่ท่านปรารถนาครับ

เรียนคุณธนพล ที่เคารพ

ขอบพระคุณค่ะที่นำเรื่องนี้มาให้ได้เรียนรู้ หนูอยู่ภูธร แต่สนใจการปฎิรูปการศึกษารอบ 2นี้มากว่าจะเป็นจริงอย่าไร ขอเมตตาท่านชี้แนะ ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์มีอะไรบ้างคะ

เรียนครูแมว ที่นับถือ

ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นสิ่งที่เราต้องพยายามเรียนรู้ให้ได้คือ E-Learning ครับ และผมได้ส่งข้อมูลที่น่าสนใจมาให้ก่อนนะครับ แล้วผมจะส่งข้อมูลมาให้เพิ่มเรื่อย ๆ คอยอ่านนะครับ

ขอขอบคุรมากที่เข้ามาดูและส่งความคิดเห็นนะครับ

ธนพล ก่อฐานะ

14. tanapol kortana

เมื่อ อ. 14 ก.ค. 2552 @ 12:58

1409463 [ลบ] [แจ้งลบ]

Dear All

Khun Ladda Ph.D.3 SSRU ส่งมาให้เพื่อน ๆ เป็นข้อมูลนะครับ

ladda pinta <[email protected]>

บ ท ที่ ๗

ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน ระบบเศรษฐกิจจะต้องสามารถสร้างให้เกิดเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันที่เอื้อต่อการปรับตัวเมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะผันผวนของระบบเศรษฐกิจโลก รวมทั้งจะต้องมีสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศและภายนอกประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและรู้เท่าทัน มีการปรับโครงสร้างการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตแทนการเพิ่มการใช้ปัจจัยการผลิต ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ รวมทั้งเชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างสมดุล เพื่อสร้าง

มูลค่าเพิ่มของภาคการผลิตและบริการที่ตรงกับความต้องการของตลาดภายในและภายนอกประเทศตลอดจนสร้างความแปลกใหม่เพื่อนำตลาด นำไปสู่การเพิ่มการจ้างงาน การยกระดับรายได้ที่แท้จริงและคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

ในปัจจุบันปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวยังมีประสิทธิภาพต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสามารถด้านการบริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานที่คุณภาพไม่ดีพอ การเสริมสร้างให้ปัจจัยเหล่านี้มีคุณภาพและ

เพียงพอเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เนื่องจากเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาคการผลิตมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยการสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์โดยอาศัยนโยบายและมาตรการระดับมหภาคโดยลำพัง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงแนวทางการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งต่อธุรกิจพื้นฐานด้านการผลิต การค้า และบริการ

ภาคการผลิตในช่วงที่ผ่านมามีการปรับตัวที่ค่อนข้างช้าเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะที่โลกปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยฐานความรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง โดยพืชเกษตรหลักไม่สามารถแข่งขันได้ มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ขาดการอนุรักษ์ฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะที่ดินและทรัพยากรน้ำ ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของฐานการผลิตและเป็นปัญหาต่อเนื่องด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว อีกทั้งสถาบันเกษตรกรยังขาดความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรและภาคการเกษตรโดยรวม ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีต้นทุนในกระบวนการผลิตสูง เนื่องจากแรงงานขาดทักษะและไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ ขาดการออกแบบที่ดี รวมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดอ่อนในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคการผลิต ขาดการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ยังอ่อนแอ และขาดกลไกที่จะประสานเชื่อมโยงธุรกิจข้ามชาติในการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน รวมทั้งผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาดที่มีพลวัตและผันผวนสูงขึ้นได้

ในด้านบริการ แม้ว่าการท่องเที่ยวจะเป็นแหล่งทำรายได้และการจ้างงานที่สำคัญ แต่ก็ได้ส่งผลกระทบในเชิงลบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายประการ อาทิ ความเสื่อมโทรม

ของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ รวมทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ธุรกิจบริการที่ต่อเนื่องกับการท่องเที่ยว ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับข้อจำกัดด้านบริการการท่องเที่ยวที่ไม่เพียงพอและขาดคุณภาพ การเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนภาพพจน์ด้านลบของประเทศด้านยาเสพติดและโสเภณีเด็ก

สำหรับด้านการค้า สินค้าส่งออกหลักส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า

เพิ่มต่ำและสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐานโดยสินค้าเกษตรแปรรูปประเภทอาหารและมิใช่อาหาร

ยังมีน้อยประเภท ทำให้ฐานสินค้าส่งออกค่อนข้างแคบ ขาดความหลากหลาย ขณะเดียวกัน

การส่งออกยังต้องพึ่งพิงตลาดหลัก ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงมีโอกาสได้รับผลกระทบจากภาวะผันแปรทางเศรษฐกิจในตลาดหลักเหล่านี้ได้ง่าย ในขณะที่ประเทศไทย

ยังมีอำนาจการต่อรองต่ำในเวทีระหว่างประเทศ ทำให้ไม่สามารถขยายส่วนแบ่งด้านของตลาด

สินค้าส่งออก รวมทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอื่นได้ ความเป็นเอกภาพในกรอบอาเซียนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงมีความสำคัญในภาวะที่การรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคมีอิทธิพลต่อการค้าและการลงทุนของโลกสูงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืน ในส่วนการเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าของประเทศให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันในการที่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าเพิ่มในทุกขั้นตอนของการผลิตและการตลาด ในขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงการผสมผสานและความสอดคล้องกับหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการในระดับชาติ การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในกระบวนการทำงาน การแบ่งปันประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถพึ่งพาตนเอง รวมถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากธุรกิจขนาดใหญ่ โดยผสมผสานภูมิปัญญาไทยกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพและความรวดเร็วของบริการโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน

๑ 1 วัตถุประสงค์

เพื่อให้ประเทศมีรากฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และกระจายผลสู่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทอย่างทั่วถึง สามารถวางรากฐานให้

คนไทยมีความพร้อมด้านทุนทางปัญญาในการก้าวเข้าสู่เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปของโลกและประเทศได้อย่างเชื่อมั่น เห็นควรกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา ดังนี้

๑.๑ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน โดยการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ บนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ที่มุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง

๑.๒ สร้างความเชื่อมโยงและความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการวางรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจเสรี นำไปสู่การยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๒ 2 เป้าหมาย

๒.๑ พัฒนาสมรรถนะและขีดความสามารถการแข่งขันในระดับประเทศ ระดับวิสาหกิจและหน่วยผลิตพื้นฐาน

(๑) ให้ประเทศไทยคงความเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกสินค้าเกษตร รวมทั้งเป็นแหล่งแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง

(๒) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคเกษตรขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒.๐ ต่อปี โดยที่ผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๐.๕ ต่อปี

(๓) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๔.๕ ต่อปี โดยผลิตภาพการผลิตรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๒.๕ ต่อปี

(๔) ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๓ ต่อปี

(๕) สร้างความมั่นคงของภาคเกษตรโดยขยายกระบวนการพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกร ด้วยการยกระดับรายได้ควบคู่กับการมีงานทำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

(๖) ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น โดยมีวิสาหกิจที่จดทะเบียน คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๒ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ทั้งหมดในปี ๒๕๔๙

(๗) สร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบมีความต่อเนื่องในการพัฒนาคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และโครงสร้างพื้นฐาน

(๘) สร้างระบบข้อมูลและตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการติดตามและประเมินผล

๒.๒ สร้างความเชื่อมโยงและความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยการสร้างรากฐานและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจเสรี

(๑) ให้การส่งออกสินค้าขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖ ต่อปี โดยเพิ่มส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทย ให้อยู่ในระดับร้อยละ ๑.๑ ของตลาดโลก ในปี ๒๕๔๙

(๒) ให้มีนโยบายการลงทุนที่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะยาว โดยมุ่งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการสร้างมูลค่าเพิ่มควบคู่ไปกับการส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และการริเริ่มสร้างเทคโนโลยีด้วยตนเอง

(๓) รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ ๗-๘ ต่อปี และให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๓ ต่อปี

๓ 3 แนวทางการพัฒนา

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าให้สอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยอาศัยปัจจัยหลักที่สำคัญ ได้แก่ ทักษะและองค์ความรู้ของคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ

คุณภาพของกระบวนการผลิตและความคล่องตัวด้านการตลาด คำนึงถึงสมดุลกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างและผลักดันการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการในระดับชาติ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจชุมชน รวมทั้งการปรับระบบการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศให้มีเอกภาพสร้างอำนาจต่อรอง และขยายศักยภาพการลงทุนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคควบคู่ไปกับการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนา ซึ่งจะทำให้ภาคการผลิต การค้า และบริการของประเทศมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจให้เกิดเสถียรภาพ มีภูมิคุ้มกัน และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยมีแนวทางการพัฒนาตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

๓.๑ การปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าให้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองและสร้างภูมิคุ้มกันของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

(๑) ปรับกระบวนการผลิตและวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพโดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพคน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ โดย

(๑.๑) สร้างมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบการเกษตร โดยส่งเสริมการแปรรูป

ผลผลิตการเกษตร การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาระบบงานวิจัยและบุคลากรวิจัยทางการเกษตรและเกษตรแปรรูป พร้อมทั้งสนับสนุนการผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ให้ตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

(๑.๒) เร่งรัดการพัฒนาการแปรรูปสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรในรูปอาหารและไม่ใช่อาหารที่มีศักยภาพในการขยายสัดส่วนการตลาดและการ

ส่งออก โดยนำเอาเทคโนโลยี ผลการวิจัยและพัฒนา มาใช้ในเชิงพาณิชย์เพื่อการเพิ่มมูลค่าของปัจจัยและกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง

(๑.๓) เพิ่มขีดความสามารถ ทักษะของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ให้มีขีดความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการได้ สามารถตัดสินใจและวางแผนการผลิตเชื่อมโยงกับการตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ มีการใช้ระบบข้อมูลข่าวสารด้านการผลิต ราคาสินค้า และการตลาดเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ รวมทั้งการแปรรูปสินค้าและการตลาด โดยใช้หลักสหกรณ์

(๑.๔) ผลิตและพัฒนาบุคลากรในภาคการผลิตที่แท้จริง เพื่อให้ทันกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและตลาดแรงงาน โดยพัฒนากลไกและสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันฝึกอบรม สถาบันเฉพาะทาง และสถานประกอบการในภาคการผลิตต่างๆ

(๑.๕) สนับสนุนให้สถาบันเฉพาะทางมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นศูนย์กลางการให้บริการแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเฉพาะ

อุตสาหกรรมสนับสนุนและอุตสาหกรรมวิศวการ ทั้งในด้านประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี การตลาด รวมทั้งคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน โดยการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารองค์กรทั้งด้านบุคลากรและงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

(๑.๖) ปรับโครงสร้างภาษี เพื่อสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการผลิตที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วน และการนำเข้า ปรับใช้ หรือพัฒนาเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อใช้ในการลดต้นทุนและผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง โดยให้องค์กรภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิตเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปด้วย

(๑.๗) ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับทิศทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยสนับสนุนการลงทุนและการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างวิสาหกิจข้ามชาติและวิสาหกิจท้องถิ่น

(๑.๘) พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การประกอบการธุรกรรมและขยายโอกาสทางการตลาด

(๑.๙) ส่งเสริมและพัฒนาระบบคุณภาพของประเทศ เพื่อให้เป็นกลไก

ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ อาทิ ระบบมาตรวิทยา ระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ระบบทดสอบผลิตภัณฑ์ และระบบรับรองระบบงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและสามารถรองรับความต้องการของภาคการผลิต

(๒) เสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการตลาดและการกระจายผลผลิตไปสู่ตลาด และเตรียมความพร้อมเพื่อแสวงโอกาสจากการค้าเสรี โดย

(๒.๑) ปรับปรุงตลาดสินค้าเกษตรทุกระดับให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุนการผลิตอย่างเพียงพอ ให้สามารถสร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างตลาดท้องถิ่น ตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ และตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีขีดความสามารถในการกระจายผลผลิตไปยังผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง

(๒.๒) กระจายตลาดสินค้าส่งออกไทยที่มีศักยภาพสูงให้กว้างขวางเพื่อลดผลกระทบจากการพึ่งพิงตลาดหลัก โดยส่งเสริมภาคเอกชนในการขยายลู่ทางการตลาดของสินค้าไทยร่วมกับกลุ่มเศรษฐกิจและประเทศต่างๆ ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี การผนึกพลังร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาสินค้าที่มีเครื่องหมาย

การค้าของตนเองที่เน้นคุณภาพและมาตรฐาน มีการวางระบบการขายและกระจายสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมทั้งใช้มาตรการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบต่างๆ เช่น การซื้อขายแบบให้

สินเชื่อและการค้าต่างตอบแทน

(๒.๓) ส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการจัดหาและเป็น

ช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า โดยให้ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค เตรียมความพร้อมในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งด้านบุคลากรระบบโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และสนับสนุนกลไกที่จำเป็นต่อการสร้างหลักประกันและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้ามามีบทบาทในการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนร่วมมือกับกลุ่มประเทศในภูมิภาคต่างๆ ในการผลักดันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ

(๒.๔) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ให้สามารถให้บริการข้อมูลแก่กลไกที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการเชื่อมโยงระบบข้อมูลระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถบริการข้อมูลด้านการค้า การตลาด และการลงทุน แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน นำไปสู่การส่งเสริมการค้าและการลงทุนได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่

(๒.๕) ทบทวน ปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการค้าและการลงทุน และการนำกฎหมายที่จำเป็นมาใช้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสร้างหลักประกัน สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยของสังคม รวมทั้งพัฒนาสถาบันและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้กฎหมายสามารถบังคับใช้และส่งผลต่อการสร้างความสมดุลของการเปิดรับกระแสเศรษฐกิจโลกและการคุ้มครองภาคการผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศ

(๓) สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย

(๓.๑) ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนโดยให้เกษตรกรเรียนรู้จากประสบการณ์ของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในหลายๆ รูปแบบ

(๓.๒) ขยายการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างดุลยภาพของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และเสริมสร้างขีดความสามารถการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้การเกษตรยั่งยืนอยู่รอดได้ในเชิงพาณิชย์ โดยให้มีการจำแนกประเภทกิจกรรมทางการเกษตรแบบยั่งยืนที่มีโอกาสในการพัฒนาสูง ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่องทางการตลาดที่แตกต่างกัน

(๓.๓) สร้างระบบเครือข่ายให้สามารถเชื่อมโยงการเกษตรแบบยั่งยืนและระบบเศรษฐกิจชุมชน พร้อมทั้งพิจารณาจัดทำมาตรฐานการผลิตและคุณภาพสินค้าเกษตรแบบยั่งยืน ควบคู่ไปกับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ตระหนักในเรื่องคุณภาพของสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ

(๓.๔) สร้างความรู้และความเข้าใจให้เแก่เกษตรกรเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีการเกษตรอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษให้แพร่หลาย พร้อมทั้งเร่งรัดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนสารเคมีการเกษตรและให้มีการขยายผลในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง

๓.๒ เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านระบบการขนส่ง สื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน และสาธารณูปการเพื่อสนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะภาคการผลิตและบริการ โดย

(๑) ใช้ประโยชน์จากระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ได้พัฒนาขึ้นแล้วให้คุ้มค่า โดยให้ความสำคัญกับการจัดการดูแลบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพและการเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัย มีราคาที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของระบบเศรษฐกิจโดยรวม

(๒) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงข่ายโทรคมนาคม ท่าอากาศยานและท่าเรือหลัก รวมทั้งกิจการพาณิชย์นาวี ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับมาตรฐาน สะดวกรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะของภาคการผลิตและบริการของประเทศ

(๓) จัดหาพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการอย่างมีคุณภาพ มีความ

มั่นคงในระดับราคาที่เหมาะสม และพัฒนาการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

(๔) ปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมโครงการให้มีความสมบูรณ์ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ภาระหนี้ของประเทศ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของ

ชุมชน และสนับสนุนให้มีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งมีการดำเนินการตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ

โปร่งใส และเกิดการยอมรับจากประชาชน

(๕) ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นขั้นตอน โดยให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อม ทั้งในด้านการปรับองค์กรและการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี สนับสนุนบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนที่คำนึงถึงประสิทธิภาพการให้บริการเพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ และเป็นทางเลือกให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพดีขึ้น ขณะเดียวกันมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานรายสาขาให้ได้มาตรฐาน ทั้งในด้านคุณภาพและอัตราค่าบริการ เพื่อให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ให้และผู้ใช้บริการ และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม

๓.๓ สร้างและผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย

(๑) พัฒนาปัจจัยหลักในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต ได้แก่ การสร้างให้เกิดจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตของคนในชาติ การพัฒนาทักษะของคน การพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาระบบข้อมูลพื้นฐานและดัชนีชี้วัดการติดตามประเมินผลเพื่อสนับสนุนและผลักดันให้แผนพัฒนาของชาติทุกด้านและทุกระดับเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

(๒) พัฒนาเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน โดยให้มีองค์กรที่เป็นมืออาชีพ มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสาน เชื่อมโยง และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตในระดับประเทศ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

(๓) พัฒนากฎหมายและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง และสนับสนุนผู้ประกอบการให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

๓.๔ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและธุรกิจชุมชน เพื่อการสร้างงานและขยายฐานการผลิตให้มั่นคงและยั่งยืน

(๑) สนับสนุนการพัฒนาระบบบริหารจัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดย

(๑.๑) พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบและครบวงจร เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน นำไปสู่การขยายฐานด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการของภาคการผลิตและบริการ โดยส่งเสริมการรับช่วงและเชื่อมโยงการผลิตระหว่างกิจการอุตสาหกรรมในลักษณะของกลุ่มอุตสาหกรรม ฝึกอบรม

ผู้ประกอบการในด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเพิ่มการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

(๑.๒) สนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่โดยใช้มาตรการจูงใจ เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการตลาดทุกระดับร่วมกัน

(๒) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจชุมชน โดย

(๒.๑) สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจแก่ธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการ

ร่วมกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในรูปเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน จัดทำระบบข้อมูลสินค้าชุมชน สนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ที่เน้นการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ โดยให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการได้ด้วย

ตนเองตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด

(๒.๒) เพิ่มปริมาณสินเชื่อให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และ

ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจอย่างเพียงพอตามความจำเป็น รวมทั้งพัฒนาระบบเครือข่ายสินเชื่อให้เชื่อมโยงกับสถาบันเกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการ

(๒.๓) สนับสนุนกระบวนการสหกรณ์ให้เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจที่จะ

ส่งเสริมการผลิตของชุมชน รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และ

การเมืองภาคประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุนให้บรรจุในหลักสูตรการศึกษาเพื่อประชาสัมพันธ์แนวคิดแก่ชุมชน

๓.๕ ปรับปรุงระบบการเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศด้านเศรษฐกิจ การค้า และ การลงทุน

(๑) การสร้างเอกภาพในการเจรจาทางการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดย

(๑.๑) ให้มีการกำหนดทิศทางในการเจรจาการค้า ทั้งภาครัฐและเอกชน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นแกนกลางร่วมกับกลไกระดับนโยบายเฉพาะด้านในการจัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดภารกิจ และการแบ่งงานกันทำ รวมทั้งการประสานงานระหว่างกัน

(๑.๒) กำหนดกลไกในการดำเนินการเจรจาการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งในกรอบพหุภาคีและทวิภาคี ให้มีความชัดเจน รวมทั้งระบบการประสานงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำหนดให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

(๑.๓) สนับสนุนใหัภาคเอกชนมีการรวมตัวกันในการกำหนดท่าทีของประเทศร่วมกับภาครัฐในการเจรจาและร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในกรอบต่างๆ

(๒) เสริมสร้างอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีเศรษฐกิจ การค้า การ

ลงทุนระหว่างประเทศ

(๒.๑) แสวงหาโอกาสสร้างเงื่อนไขใหัไทยและมิตรประเทศสามารถเข้าไปมีบทบาทมากขึ้น ในการกำหนดทิศทาง การสร้างกฎระเบียบและรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุน และการเงินระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับ

ผลประโยชน์และทิศทางในการพัฒนาประเทศของไทย

(๒.๒) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับประเทศในภูมิภาค เช่น อาเซียน เอเปค อาเซม เพื่อการขยายตลาดสินค้าและบริการ

รวมทั้งการเพิ่มแหล่งวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าที่มีศักยภาพ ตลอดจนการขายบริการด้านการศึกษา ท่องเที่ยว และสาธารณสุข ที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน

(๓) ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อขยายโอกาสด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน นำไปสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในภูมิภาค โดย

(๓.๑) ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและอินโดจีน โดยเฉพาะการสนับสนุนการดำเนินการด้านตลาดร่วมกันเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในภูมิภาค และการพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานระหว่างแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน

(๓.๒) พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างกันให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่สามารถสนับสนุนการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่เขตเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมขีดความสามารถด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

(๓.๓) ร่วมมือกับประเทศที่สามและ/หรือองค์กรระหว่างประเทศในการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน โดยการกระตุ้นธุรกิจด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจที่มีศักยภาพ

๓.๖ ส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงาน กระจายรายได้ และหา

รายได้จากเงินตราต่างประเทศ

(๑) พัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชน โดย

(๑.๑) พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกลุ่มพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่สอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท