“เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ยากหรือง่าย” กันแน่


เกณฑ์การประเมินวิทยฐษนะแบบใหม่

“เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่ยากหรือง่าย” กันแน่

ผู้เขียนในฐานะเป็นหัวหน้างานพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้มีผู้สอบถามเป็นจำนวนมากว่าเกณฑ์การประเมินแบบใหม่ของข้าราชการครูที่จะคลอดในระยะเวลาที่ใกล้เข้ามานี้เป็นอย่างไร ยากหรือง่ายกว่าเกณฑ์เก่า (ฟังไว้พอทำเนา....เพราะปัจจุบันยังถกกันไม่จบ)

ผู้เขียนก็ไม่รอช้า รีบค้นคว้าหาความรู้คืบหน้าซึ่งได้ใจความดังนี้.........

คำตอบคือ เมื่อเทียบน้ำหนักการประเมินกันแบบตัวต่อตัวแล้ว  เกณฑ์ใหม่เปิดโอกาสให้ข้าราชการครูแสดงหลักฐานที่เรียกว่า “ประจักษ์พยานการสอน”  ได้มากกว่าเกณฑ์เดิม

                กล่าวสรุปให้ตรงประเด็นก็คือ เคยมีเพื่อนครูกลุ่มหนึ่งกล่าวอ้างว่า ครูที่ส่งผลงานทางวิชาการนั้น  เป็นครูที่เขียนเก่งแต่สอนไม่เก่ง  ไม่เหมือนตนเองที่สอนเก่งแต่เขียนไม่เก่ง 

                เกณฑ์ใหม่เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายสำแดงฝีมือกันได้เต็มที่  เพื่อพิสูจน์คำกล่าวหาซึ่งกันและกันว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นไปตามคำกล่าวหาหรือไม่  เช่น  ครูที่อ้างว่าครูที่ทำผลงานนั้นเขียนเก่งแต่สอนไม่เก่ง  ส่วนตนเองนั้นสอนเก่งแต่เขียนไม่เก่ง  ข้อพิสูจน์ของเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ที่เพื่อนครูกลุ่มนี้ต้องพิสูจน์  โดยแสดงหลักฐานประจักษ์พยานการสอนให้คณะกรรมการประเมินเห็นก็คือ ที่ว่า สอนเก่งนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนดีกว่า  เหนือชั้นกว่าครูที่ทำผลงานตรงไหน

                ถ้าไม่ดีกว่า ไม่เหนือกว่า ตามที่กล่าวอ้าง  ก็ถือว่ามิใช่ทองแท้  ตามที่กล่าวอ้าง

                สำหรับเพื่อนครูที่ทำผลงานทางวิชาการ และถูกกล่าวหาว่า เป็นครูที่สอนไม่เก่ง แต่เขียนเก่ง ก็จะมีโอกาสที่ดีในการแสดงประจักษ์พยานการสอน  ให้คณะกรรมการประเมินได้เป็นที่ประจักษ์ว่าตนเองได้สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ  สื่อ  นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่มีประโยชน์  ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนดีกว่า  เหนือกว่าเพื่อนครูที่กล่าวอ้างลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานทางวิชาการเทียบเคียงว่า  ครูที่ส่งผลงานสอนไม่เก่ง  แต่เขียนเก่ง ได้พิสูจน์กันให้กระจ่างว่า  ใครกันแน่ที่เป็นทองแท้ หรือ ทองเทียม

                เกณฑ์ประเมินวิทยฐานะใหม่  เปิดกว้างมากสำหรับการแสดง  “ประจักษ์พยานการสอน”  ของทั้งสองฝ่ายที่จะพิสูจน์กันด้วยนิติวิชาการที่ตรงไปตรงมา  วิทยาวิชาการ  ผลงานวิชาการที่เป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ผลได้  และวิทยาวิชาการ  การพิสูจน์ผลด้วยกระบวนการวิจัย

                เดิมเพื่อนครูที่ไม่ส่งผลงานวิชาการกล่าวอ้างว่าตนสอนเก่ง แต่เขียนไม่เก่ง

                กระแสโต้กลับที่ได้รับก็คือ การที่เด็กอ่าน  เขียน  วิเคราะห์มีระดับที่ตกต่ำ  เป็นเพราะเรียนกับครูที่เขียนไม่เก่งใช่หรือไม่  เพราะเมื่อครูเขียนไม่เก่ง  สะท้อนให้เห็นว่าครูขาดระบบการคิดวิเคราะห์การเรียบเรียง  การขยายความ  การย่อความ  เมื่อไปสอนเด็ก  ทำให้เด็กเขียนวิเคราะห์ไม่เป็นไปด้วย

                คำโต้กลับนี้นับว่ารุนแรง ไม่แพ้คำที่กล่าวหาเพื่อนครูอีกกลุ่มหนึ่งไป

                คราวนี้เพื่อนครูที่ยืนยันว่าผลงานทางวิชาการ  สื่อ  นวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเป็นผลงานทางวิชาการนั้น  สะท้อนให้เห็นว่าเป็นครูที่มีความคิดสร้างสรรค์  สามารถรวบรวมผลงานที่สอนจริงมาเป็นเอกสารทางวิชาการ  พัฒนาเป็นสื่อ  เป็นนวัตกรรม  เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนได้ ก็จะได้รับการพิสูจน์เช่นกัน

                รายละเอียดของเกณฑ์วิทยฐานะใหม่  สรุปแล้ว  ผู้ที่สอนจริง  และกรรมการที่ประเมินมีความรู้จริง  เกณฑ์ใหม่ง่ายกว่าเกณฑ์เก่า เพราะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยระบบวิธีประเมินที่เป็นความจริงแต่ต้องยุติธรรม

ที่มา :  ปริทัศน์การศึกษาไทย  ปีที่ 8  ฉบับที่ 79  กุมภาพันธ์ 2551        

หมายเลขบันทึก: 277597เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 04:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

บทความทันเหตุการณ์ดีมากครับ

รออีกสองปี ถึงจะทำประเมินวิทยฐานะค่ะ ขอบคุณบทความดีนะค่ะ

เรื่องประเมินจากของจริงน่ะชอบมากค่ะ ช่วงที่ตัดสินใจทำเรื่องขอประเมินวิทยฐานะก็เพราะว่าคณะกรรมการเขาจะมาดูการสอนของเราจริง ๆ เป็นรุ่นเชิงประจักษ์นะ ก่อนหน้านั้นไม่คิดว่าจะทำหรอก พอรู้ว่าเขามาดูเลยตัดสินใจขอประเมิน ที่ไหนได้ยังต้องส่งเอกสารอีกเพียบ สรุปแล้วกว่าจะผ่านได้เขาดูทั้งการสอนจริง และเอกสารประกอบค่ะ เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ถ้าเขาดูของจริงอีกก็จะขอประเมิน คศ.4 ต่อ แต่ต้องรออีก 2 ปีนะ ตอนนี้ไม่ไหวแล้ว เหนื่อยมากเลยค่ะพี่แจ๋น ทั้งเรียน ทั้งสอน จะเป็นมนุษย์เครื่องจักรอยู่แล้วค่ะ

ดีมีประโยชน์กับรุ่นน้อง ส่วนรุ่นพี่...เห็นควรด้วย กับท่านประเทืองเจ้าค่ะ

เราต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และจงจำคำว่า "ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น"

เอาเกณฑ์อะไรมาวัดล่ะครับ

ว่าครูคนไหนสอนเก่ง

คะแนนของเด็ก

ความเข้าใจของเด็ก

ความดีของเด็ก

................

................

หรือความต้องการของครู

ก็อีกแค่1ความเห็นอ่ะครับ :P

ครูจะเก่งดูว่าเก่งด้านไหน แต่ผลอยุ่ที่เด็กเป็นอย่างไร

  • สรุปแล้ว ผู้ที่สอนจริง และกรรมการที่ประเมินมีความรู้จริง เกณฑ์ใหม่ง่ายกว่าเกณฑ์เก่า เพราะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยระบบวิธีประเมินที่เป็นความจริงแต่ต้องยุติธรรม.. อยากให้เป็นจริงๆตามนี้ครับ
  • ที่ผ่านมา พิจารณาตั้งแต่เชิงประจักษ์มาเลย งานหรือเอกสารที่ครูต้องส่งเอาคะแนน ไม่เคยน้อยลง แม้ว่าจะปรับปรุงกติกาประเมินมาแล้วหลายรอบก็ตาม ซึ่งคำอธิบายก่อนหน้าใช้จริง มักพูดคล้ายๆกันนี้ทุกครั้ง
  • ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่เพื่อนครูควรทำความเข้าใจครับ

ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ พอดีเป็นครูชำนาญการครบ 1 ปี วันที่ 1 พ.ย ก็เลยตัดสินใจส่งเกณฑ์ครูชำนาญการพิเศษเกณฑ์ใหม่ เมื่อตอนเดือน ธ.ค ตอนแรกจะสอบถามบุคคลที่จะให้ความกระจ่างในเรื่องหลักฐาน การประเมิน และการส่ง ก็ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ ก็เลยตัดสินใจศึกษาเกณฑ์และจัดทำและส่ง ซึ่งทั้งเขตก็มีส่งคนเดียว ถ้าจะให้บอกว่าง่ายกว่าเกณฑ์เก่าใหม่ รู้สึกจะต้องเขียนรายงานยากส์ กว่าเกณฑ์เก่าอีกนะคะ แล้วต้องแนบหลักฐานมากมายกายกอง ซึ่งเกณฑ์เก่าส่งแค่ วฐ แล้วก็รายงานกับนวัตกรรมก็พอแล้ว ด้าน 1 ด้าน 2 ก็ไม่ต้องพิมพ์รายงานแต่เกณฑ์ใหม่รายงานทุกอย่าง แล้วจะว่าง่ายกว่าอย่างไรค่ะ รู้สึกว่าจะต้องส่งเอกสารมากกว่าเดิมอีกนะคะ แต่ตอนนี้รอประเมินด้าน 1 ด้าน 2 อยู่ ส่วนด้าน 3 ส่งไปแล้วที่เขต ถ้าผลการประเมินออกมาอย่างไรจะแจ้งให้เพื่อนครูทุกคนทราบนะคะ

เกณฑ์ใหม่นี้น่าจะเหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่ในตัวเมืองเพราะมีเด็กเก่งเด็กคัดอยู่แล้ว

หรืออย่างไร?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท