แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

ไวราคยะ : การบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต (๒)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


ไวราคยะ :
การบรรลุถึงการดับการปรุงแต่งของจิต

(๒)

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
โยคะสารัตถะ ฉ.; พ.ค.'๕๒

ในขั้นสุดท้ายของไวราคยะนี้เป็นขั้นที่โยคีมีความเชี่ยวชาญมากจนกระทั่งเขา ไม่ได้รู้สึกเพลิดเพลินยินดีกับวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ที่เขาเห็นหรือได้ยิน

เหตุที่ปตัญชลีกล่าวถึงเฉพาะขั้นสุดท้ายของไวราคยะในประโยคที่ ๑๕ นี้อาจเป็นเพราะขั้นนี้เป็นขั้นที่สำคัญมากของการพัฒนาในโยคะ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทั้งสามขั้นแรกนั้นผู้ฝึกโยคะทุกคนจำเป็นต้องก้าวผ่านมา แล้ว และแม้ว่าตอนนี้พวกเขาจะพัฒนามาถึงขั้นที่สี่ซึ่งเป็นขั้นที่สูงมากของการ พัฒนาไวราคยะ แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นระดับที่ก้าวหน้าและให้ความพึงพอใจสูงสุดได้ซึ่งจะมี การอธิบายประเด็นนี้ในประโยคถัดไป

ในความหมายที่สองของคำว่า "สัมชญา" นั้นแปลว่า การตระหนักรู้ ในประโยคนี้ของโยคะสูตรกำลังชี้ให้เห็นว่า มีเพียงขั้นนี้เท่านั้นที่โยคีจะมีความเชื่อมั่นว่าเขาสามารถควบคุมประสาท สัมผัสทั้งหมดได้จนถึงขนาดที่ว่าเขาไม่รู้สึกเพลิดเพลินยินดีกับสิ่งต่างๆ ที่รับรู้ผ่านทางสัมผัสทั้งหลาย ดังนั้นโยคีจึงขจัดความอยากทั้งปวงออกไปได้ ในขั้นนี้จึงเป็นเป้าประสงค์ของความก้าวหน้าในโยคะตามการนำเสนอของปตัญชลี

โยคี ต้องขจัดความยินดีในความอยากทั้งปวงหมายถึงทั้งความอยากในสิ่งที่มองเห็น สัมผัสได้และในสิ่งที่มองไม่เห็นแต่เชื่อว่ามีอยู่

ดังที่ปตัญชลีกล่าวถึงในคำว่า "ทฤษฏะ" (เห็น) หมายรวมถึงทุกสิ่งที่ปรากฏในโลกซึ่งมีให้โยคีได้เพลิดเพลิน

ส่วนคำว่า "อนุศรวิกะ" หมายถึงสิ่งซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้แต่อาจจะมีอยู่ถ้าเขาเชื่อว่ามันมีอยู่ ตามที่เคยได้ยินได้ฟังมา เช่น สวรรค์ เป็นต้น แม้โยคีจะไม่เพลิดเพลินยินดีกับสิ่งที่สัมผัสได้แล้วแต่หากยังติดข้องอยู่ กับความอยากในสิ่งที่สัมผัสไม่ได้ เช่นต้องการไปสู่สวรรค์ หรืออยากบรรลุภูมิธรรมใดๆ ก็ตาม ความอยากเช่นนี้ก็ควรถอดถอนละวางหรือขจัดออกด้วยเช่นกัน

ถัดไปในประโยคที่ ๑๖ กล่าวไว้ว่า "ตัตปะรัม ปุรุษะขยาเตรคุณไวตฤษณยัม" หมายความว่า ขั้นสูงสุดในการตระหนักรู้ของปุรุษะจะเกิดขึ้นเมื่อความต้องการ(ตัณหา) ในคุณะทั้งสาม หมดไปอย่างสิ้นเชิง

ขั้นสูงสุดของไวราคยะคือขั้นที่ภาวะ ไร้ตัณหาได้เกิดขึ้นในโยคี แม้แต่สภาวะของคุณะทั้งสามซึ่งเป็นรูปเดิมของประกฤติก็ไม่ส่งผลต่อโยคีเช่น กัน ในวศีการะสัมชญาไวราคยะนั้นแม้ว่าโยคีจะควบคุมอินทรีย์ประสาททั้งหมดไว้ได้ แล้ว ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่การยึดติดผูกพันกับวัตถุต่างๆ ไม่ได้ถูกกำจัดออกไปทั้งหมดแต่จะกลับขึ้นมาทำงานใหม่ได้ เพราะว่าความรู้สึกต่างๆ นั้นมีพลังเหนียวแน่นมาก

การเผลอเพียงเล็กน้อยของโยคีอาจนำไปสู่สถานการณ์ซึ่งความอยากที่จะสนุกเพลิด เพลินกับวัตถุต่างๆ ที่กระตุ้นความรู้สึกอาจเงยหัวทะยานขึ้นมาอีกครั้ง เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมาก

โยคีที่ครั้งหนึ่งเคยพัฒนาสภาวะที่ไร้ความอยากในวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบอาจรู้สึกว่าตอนนี้วัตถุเหล่านั้นไม่อาจทำให้เขาเกิดความ ยินดี(ยินร้าย) หรือทำอันตรายใดใดต่อเขาได้ เพราะเขาเข้าไปเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับวัตถุเหล่านั้นด้วยอาการที่ไม่ยึด ติดหรือผูกพันทางใจ

อย่างไรก็ตามเมื่อความไม่ยึดติดหรือผูกพันทางใจค่อยๆ ลดน้อยถอยลงจากการเข้าไปสัมผัสกับวัตถุเหล่านั้นบ่อยๆ จนโยคีค่อยๆ เริ่มเกิดความพึงพอใจในความเพลิดเพลินกับวัตถุเหล่านั้น

ดังนั้นการยึดติดผูกพันกับวัตถุจึงกลับมาอีกครั้งในขณะที่ไวราคยะ(การถอดถอน /ละวาง) ก็หายไป มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเช่นนี้เป็นจำนวนมากที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตจริง โดยมีเรื่องเล่ามากมายของธรรมชาติที่เกิดขึ้นดังกล่าวปรากฏอยู่ในคัมภีร์ ชื่อว่า "เปาราณิกะ (Pauranika)"

ความสมบูรณ์แบบของไวราคยะที่บรรลุถึงนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ฝึกเกิดความ ตระหนักรู้ในปุรุษะหรือธรรมชาติเดิมแท้ของตัวผู้รู้

หรืออาจกล่าวได้ว่า การเข้าถึงสภาวะสูงสุดของไวราคยะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด ของโยคะ การตระหนักรู้ในปุรุษะก็คือการบรรลุถึงสภาวะของไกวัลย์นั่นเอง

หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคุณะไวตฤษณยะ ไวราคยะ ก็เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า บรมธรรม หรือ summum bonum ตามมรรคาแห่งโยคะของปตัญชลี

อย่างไรก็ตามตราบเท่าที่บุคคลยังมีกายและจิตอยู่ก็ยังมีการเชื่อมโยง สัมพันธ์กันระหว่างปุรุษะกับประกฤติอยู่ (เพราะในขั้นที่ละเอียดแล้วกายและจิตก็เป็นส่วนที่เกิดจากประกฤติ)

ดังนั้นดูเหมือนว่าขั้นสูงสุดของไวราคยะหรือคุณะไวตฤษณยะจะไม่สามารถบรรลุ ถึงได้ในชีวิตนี้(เพราะยังมีกายและจิตอยู่) คำถามที่เกิดขึ้นในใจก็คือ อะไรคือเป้าหมายของการกล่าวถึงไวราคยะในที่นี้ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะ บรรลุถึงในขณะมีชีวิตอยู่

อาจเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของโศลกนี้ต้องการเตือนให้โยคีหรือผู้ฝึกกระตือ รือร้นอยู่เสมอ และไม่ย่อหย่อนต่อการฝึกฝนพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น

หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้รักษาระดับของไวราคยะที่บรรลุถึงไว้ให้ได้(ไม่ถอย หลัง) เพราะหากโยคีประมาทแม้เพียงเล็กน้อยโดยเริ่มรู้สึกเพลิดเพลินยินดีเมื่อรับ รู้วัตถุหรือสิ่งต่างๆ จากภายนอก

เขาก็อาจจะพัฒนาการยึดติดผูกพันกับสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาอีก ดังนั้นเขาควรจะระมัดระวังไม่ให้สภาพเช่นนี้เกิดขึ้น ในอีกแง่หนึ่งภายหลังจากไวราคยะได้รับการพัฒนาขึ้นมาจนถึงระดับสูงแล้ว ยมะในข้ออปริคระหะ 4 ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอย่างจริงใจและพิถีพิถันอยู่เสมอ

สรุปว่าทั้งสองประโยคของโยคะสูตรข้างต้นนี้ดูเหมือนว่าปตัญชลีจะไม่ได้ อธิบายรายละเอียดของไวราคยะขั้นพื้นฐาน และก็ไม่ได้ระบุชัดหรืออธิบายรายละเอียดของการฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาไวราคยะ ในขั้นต่างๆ ให้เกิดขึ้น เพียงแต่บอกว่าการพัฒนาไวราคยะในระดับสูงมากนั้นเป็นสิ่งเดียวที่สำคัญยิ่ง ต่อการฝึกฝนพัฒนาด้านโยคะอย่างแท้จริง

4 อปริคระหะ เป็นหนึ่งในยมะ ๕ ข้อที่กล่าวถึงการฝึกฝนตนเองด้วยการไม่รับ ไม่ครอบครอง และไม่สะสมกักตุนสิ่งต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินยินดี(ราคะ) กับวัตถุต่างๆ ที่ได้มา (ผู้แปล)

เอกสารอ้างอิง :
Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

 


 


มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 277559เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท