สุขภาพน่ารู้ กับ อัษฎางค์โยคะ


อัษฎางค์โยคะ

ขภาพน่ารู้ กับ อัษฎางค์โยคะ

วันนี้เรามาดูแลสุขภาพกันดีกว่าเพราะปัจจุบันโรคมันมากเหลือเกิน   วิธีเดียวเท่านั้นที่จะสู้กับมันได้คือการออกกำลังกาย และโยคะก็เป็นทางเลือกทางหนึ่งที่ช่วยเราได้  เราไปทำความเข้าใจและเรียนรู้กันเลยดีกว่านะจ้ะ.......พร้อมทั้งลงมือปฏิบัติด้วย

 อัษฎางค์โยคะ หรือ มรรค  8 ของโยคะ

ผู้สนใจโยคะเบื้องต้น มักเข้าใจว่า การฝึกทำอาสนะ คือทั้งหมดของการฝึกทำโยคะ  ซึ่งหาเป็นเช่นนั้นแต่อย่างใดไม่  โยคะประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมด 8 ประการที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโยคะจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้  ทำความเข้าใจ และฝึกองค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้  จะฝึกเรียงลำดับหรือฝึกควบคู่กันไปก็ได้ คือ

1.             ยามะหรือ ศีล 5 หลายคนแปลกใจเมื่อรู้ว่าการเริ่มต้นฝึกโยคะ  ต้องเริ่มด้วยการถือศีล 5  โยคะ  เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์ และการมีจริยธรรมนั้นถือเป็นพื้นฐานอันดับแรกของความเป็นมนุษย์ทีเดียว ยามะ มีด้วยกัน 5 ข้อ ได้แก่ อหิงสา  ไม่ลักทรัพย์  ไม่พูดปด   ประพฤติพรหมจรรย์  และไม่ถือครองวัตถุเกินความจำเป็น

2.             นิยามะ หรือ วินัย 5  เมื่อมีศีล คือการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่เบียดเบียน  ลำดับถัดไปคือการสร้าง  วินัย         ในตนเอง  นิยามะมีอยู่ด้วยกัน  5 ข้อคือ อดทน  สันโดษ  ชำระกายใจให้บริสุทธิ์  หมั่นศึกษาตนเอง และมีศรัทธา

3.             อาสนะ หรือ การดูแลร่างกาย  เมื่อมีศีล  มีวินัย  ต่อมาก็ดูแลร่างกายตนเอง  อาสนะไม่ใช่การออกกำลังกายอย่าง    ที่หลายคนเข้าใจแต่เป็นการจัดปรับสมดุลให้กับระบบต่าง ขั้นตอนในการฝึกอาสนะได้แก่ การเตรียมความพร้อม  ฝึกท่าอาสนะ  ปิดท้ายด้วยการผ่อนคลาย

4.             ปราณยามะ หรือ การฝึกลมหายใจ  เมื่อร่างกายสมดุล เป็นปกติ ก็พร้อมต่อการฝึกควบคุมลมหายใจ  อันมีสาระสำคัญเพื่อควบคุมกลไกระบบประสาทอัตโนมัติของตนเอง  ลำดับขั้นของการฝึก ลมหายใจคือ เข้าใจระบบหายใจของตนเอง  มีสติรู้ลมหายใจของตนเองตลอดเวลา  ควบคุม ลมหายใจ หายใจช้าลง  และลมหายใจสงบ

5.             ปรัทยาหาระ หรือ สำรวมอินทรีย์  เมื่อร่างกายนิ่ง  ลมหายใจสงบ  จากนั้นก็ฝึกควบคุมอารมณ์   ซึ่งมักแปรปรวนไปตามการกระทบกระทั่งจากภายนอก  ปรัทยาหาระ  คือการควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่  การสำรวม  รูป  รส  กลิ่น  เสียง  และสัมผัส

6.             ธารณะ หรือ การเพ่งจ้อง CONCENTRATION  เมื่อกายสงบ  อารมณ์ก็มั่นคง จึงเริ่มอบรมจิต  ซึ่งมีธรรมชาติของการไม่อยู่นิ่ง  ธารณะคือ การฝึกอบรมจิตให้นิ่ง  จิตนิ่งเป็นจิตที่มีประสิทธิภาพ  เป็นจิตที่สามารถนำไปทำงานให้สำเร็จลุล่วงได้

7.             ฌาน MEDITATION การอบรมจิตสม่ำเสมอ  ทำให้จิตมีคุณภาพสูงขึ้น จนถึงขั้นฌาน  ฌานคือจิตที่สามารถจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเพียงเรื่องเดียวเป็นจิตดื่มด่ำอยู่ในสิ่งที่กำลังทำ  เป็นจิตที่รู้เห็นตามความเป็นจริง

8.             สมาธิ TRANSCONSCIOUSNESS สมาธิของโยคะไม่เหมือนกับสมาธิของพุทธเสียทีเดียว  ในที่นี้  สมาธิ  คือผลสูงสุดที่ได้จากการฝึกโยคะ  จิตสมาธิของโยคะ คือ จิตที่มีความเป็นหนึ่งเดียว (โยคะแปลว่ารวมเป็นหนึ่งเดียว) คือ สภาวะแห่งโมกษะ  หรือสภาวะแห่งความหลุดพ้น  เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง  เป็นเป้าหมายสูงสุดของโยคะ  ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของความเป็นมนุษย์

ต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมและวิธีลงมือปฏิบัติเชิญที่   www.horasaadrevision.com/index.php?lay=show...         ขออนุญาตนำภาพบางส่วนมาลง ณ ที่นี้เพื่อการเรียนรู้และเป็นกุศลผลบุญที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นะคะ        และขอขอบพระคุณเจ้าของเว็บไซด์นี้เป็นอย่างมากที่ทำให้รู้วิธีทำให้อายุยืนยืดไปอีก

 

 

คำสำคัญ (Tags): #อัษฎางค์โยคะ
หมายเลขบันทึก: 277175เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โอย...ยายแจ๋น....ลึกนะจะลองทำ (เฉย)ดู คุณอู๊ดขา...ดูคุณแจ๋นซิคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท