เวทีเครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง(4)


ลักษณะการจัดการเรียนรู้ในการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง
 
     

                   

    ตอนที่ 4 ของเรื่องเล่าเวทีเวทีเครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง จะเป็นความเห็นของนักวิชาการจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย คือ ผศ.อรรถพล อันตรวรสกุล ที่ได้นั่งสังเกตการณ์การถอดบทเรียนรู้ และได้ให้เกียรติมาร่วม วิเคราะห์ผลโดยรวม ที่น่าสนใจให้พวกเราฟัง สรุปได้ดังนี้:

      ลักษณะการจัดการเรียนรู้ในการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง :

          * การเรียนรู้ด้วยหลักคิดของความพอเพียง..ในบริบทของความพอเพียง..เพื่อความพอเพียง

          * การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ลองผิด-ลองถูก มุ่งสู่การแก้ปัญหา

          * การบันทึกวิเคราะห์ผลของการเรียนรู้โดยเปรียบเทียบ ก่อนทำ-หลังทำ

          * การเรียนรู้แบบบูรณาการที่ "เนียน" จนเข้าไปอยู่ในทุกภาคส่วนของโรงเรียน

          * การเรียนรู้ร่วมกันผ่านประสบการณ์ และ "ตกผลึก" เป็นวิธีคิด

          * การเรียนรู้ผ่านกระบวนการสร้างศรัทธา พาให้คิด ปฎิบัติสม่ำเสมอ จนอยู่ในวิถีชีวิต

          * การเรียนรู้ที่กำกับด้วย ความรู้ สติปัญญา และคุณธรรม

                                 

              

              ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อความสำเร็จ : 

      *  การจัดพื้นที่ให้มีแหล่งเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้ในโรงเรียน

      * การจัดบรรยากาศในโรงเรียนให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

      * การกำหนดวันเวลาสำหรับจัดกิจกรรมอย่างชัดเจน

      * ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอในการจัดกิจกรรม

      * การมีหลักสูตรระดับหน่วยการเรียนรู้ และมีแผนการเรียนรู้บูรณาการ

      * การมีศรัทธาร่วมกันของบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน

      * การได้รับความสนับสนุนอย่างจริงจังของผุ้บริหารโรงเรียน

      * การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของครูแกนนำทั้งภายในและภายนอก

      * ความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของของครูในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบุคลากรทุกระดับในโรงเรียน

      *  ความสามารถของครูและบุคลากรในการเชื่อมโยงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงาน

      * การสร้างกลุ่มนักเรียนในการทำกิจกรรม

      *การสนับสนุนของชุมชน

                   

              

     ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง :

        * ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องเดียวกับเกษตรทฤษฏีใหม่

        * ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องเดียวกับกิจกรรมการประหยัดและการออม(เป็นเพียงภาคปฏิบัติหนึ่ง)

        * การจัดการเรียนรู้ของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือการเรียนรู้ทางเศรษฐกิจ (บูรณาการหลักคิดของปรัชญา)  

        * การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นภาระหน้าที่ของของกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 

        * การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจัดเป็นกิจกรรมเสริมไม่สามารถนำมาบูรณาการในสาระการเรียนรู้ 

      

     ข้อสังเกตเกี่ยวกับการบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง :

     * การบูรณาการเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนไม่ใช่กระบวนการผลักดันให้เกิดการ ทำงานใหม่ หรือเพิ่มภาระให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง แต่เป็น การต่อยอด

   * แม้จุดเริ่มต้นการทำงานที่ไม่เหมือนกัน บริบทที่แตกต่าง แนวทางที่หลากหลาย หากแต่ยืนอยู่บนการสร้างศรัทธา การระเบิดภายใน ด้วยการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จอย่างยั่งยืน

      * ครู 4 แบบ คือ     

          - ทำได้ / รู้ตัว / อธิบายได้               

          - ทำอยู่ / ไม่รู้ตัว

          - อยากทำ /ไม่แน่ใจ / ไม่รู้ทาง

          - ยังไม่อยากทำ /ยังไม่เห็นทาง

    * ลักษณะ การบูรณาการ :

          - บนลงล่าง

          - ล่างขึ้นบน

          - แนวตั้ง

          - แนวนอน

     * ประเด็นการบูรณาการ  :

    - ที่มา/ช่องทาง

    - หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดที่นำไปใช้ไม่ใช่สอนตรงๆ

     * กระบวนการขับเคลื่อนไม่ไช่แรงกระเพื่อมแต่เป็นระลอกคลื่นที่ส่งพลังต่อเนื่อง

     * กิจกรรมทุกวิชาควรดูผลสะท้อนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่ อย่าติดกรอบ ปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ กรอบจะหายไปเอง     

   การบรรยายข้างต้น..ผู้ร่วมเวทีทุกระดับเขารุมจีบอาจารย์อรรถพลกันเพียบ เพื่อขอ powerpoint ของอาจารย์กลับไปเป็นข้อเตือนใจ ใส่กระเป๋า ไว้ติดบอร์ด ให้เห็นเด่นเป็นสง่าที่โรงเรียน....

           ดิฉันขอจบการเล่าไว้แต่เพียงนี้..ของดีๆเชิงลึก โปรดอ่านจากที่ดิฉันสรุปหนังสือเล่มเล็ก ๑๕ ของสรส. สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์  ที่ได้เคยลงใน blog ของดิฉันไปแล้วค่ะ...

  

                                                                   

             

     

 

                          

                                            

                 

                   

      

 

     

  

หมายเลขบันทึก: 277043เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

56000000 ขอบคุณค่ะน้อง berger..ขอให้มีความสุขนะคะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท