ประวัติอำเภอนครไทย


อำเภอนครไทย

ชุมุมชนบ้านเมืองในบริเวณเขตของอำเภอนครไทย ลักษณะของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนจะเป็นกลุ่มๆโดยยึดแหล่ง น้ำตามธรรมชาติเป็นหลัก เช่นเดียวกับชุมชนในภูมิภาคอื่น โดยชุมชนส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ระหว่างหุบเขา จากหลักฐานทางด้านโบราณคดี พบว่าชุมชนนี้ มีพัฒนาการตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากชุมชน ขนาดเล็กได้พัฒนาอารยธรรมความเจริญของตนสืบเนื่องกันมาโดยลำดับ ถึงสมัยที่มีการตั้งเป็นชุมชนระดับเมือง ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีได้ปรากฏการตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมของชุมชน นครไทย ว่าเป็นชุมชนที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยในระยะแรกๆ ตั้งถิ่นฐานกระจายอยู่ทั่วไป ตามเพิงผา ถ้ำ ภูเขาและริมสายธารน้ำ มีการค้นพบเครื่องมือประเภทขวานหินขัดขวานหินมีด้าม ขวานสำริด และศิลปกรรม ที่เด่นคือภาพแกะสลักที่ถ้ำกา เขาช้างล้วงตำบลนครไทย และที่หน้าผาขีด อำเภอนครไทย ซึ่งเป็นภาพแกะสลัก เป็นลายเส้นและรูปกากบาทพาดพันไปมา บนผนังถ้ำ ซึ่งคล้ายกับภาพแกะสลัก ที่เทือกเขาภูพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ภาพแกะสลักนี้สันนิษฐานว่าเป็นภาพแกะสลักของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะ ชุมชนนี้คงจะมีการพัฒนาต่อมาและขยายตัวเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับชุมชนอื่น และชุมชนในต่างแดนได้ค้นพบเมืองโบราณนครไทย ที่มีลักษณะเป็นดินสูงคล้ายหลังเต่า มีพื้นที่ประมาณ 142 ไร่ มีคูน้ำ 2 ชั้นและคันดิน 3 ชั้น มีเมืองหน้าด่าน 4 เมือง คือ เมืองนครชุม เมืองโคกค่าย (โคกคล้าย) เมืองตานมและเมืองชาติตระการ จากการขุดค้นทางด้านโบราณคดีของอาจารย์ปราณี แจ่มขุนเทียน เมื่อปี พ.ศ.2527 จากหลักฐานที่ค้นพบ ทำให้สามารถสรุปได้ว่าชุมชนนครไทยเป็นชุมชนที่มีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ ราวพุทธศักราช 1711 ซึ่งเป็นระยะ ก่อนการสถาปนา กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ประมาณ 110 ปีสมัยเริ่มแรกของชุมชนนี้คงเป็น ชุมชนที่ไม่ใหญ่นัก การสร้างบ้านเมืองที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งคนในท้องถิ่นมีอาชีพ ทำเกษตรกรรม และล่าสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งเลี้ยง สัตว์ประเภท วัว ควาย ไว้ใช้งานมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนใกล้เคียงเช่น เมืองศรีสัชชนาลัย เพราะ พบหลักฐานการใช้เครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดาที่ผลิตจากเมืองศรีสัชชนาลัยในบริเวณนี้ และมีการค้นพบเครื่องถ้วย เคลือบสีเขียวในสมัยราชวงค์ชุงและราชวงค์หยวนของจีน ในสมัยนี้มีการนำเครื่องถ้วยตะครัน มาใช้ใส่น้ำมันตะเกียง สมัยสุโขทัย ชุมชนนครไทย ได้พัฒนาการมีความเจริญระดับชุมชนเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองนครไทย ได้ปรากฏชื่อครั้งแรกในจารึกวัดมหาธาตุ วัดสระศรี หลักที่ 7 ก. จารึกวัด เขา กับหลักที่ 11 และปรากฏ ชื่อในจารึกหลักที่ 93 ภาษาบาลีว่า “นครเทยย” นอกจากนั้นยังปรากฏ ชื่อในจารึกวัดบูรพาราม หลักที่ 286 ด้านที่ 1 ที่กล่าวถึงการขยายอาณาเขตของกษัตริย์สุโขทัยในปี พ.ศ.1939 ว่า “เบื้องข้างหนอุดร ลุนครไท..” และด้านที่ 2 เป็นภาษาบาลี กล่าวถึง “ปุพเพ นครเทยยก” จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่านครไทยเป็นเมืองที่ปรากฏชื่ออยู่ในทำเนียบ ของเมืองอยู่ในอาณาเขต ของอาณาจักรสุโขทัยแล้ว โดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นอยู่กับอาณาจักรสุโขทัย สมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองนครไทย คือ พงศาวดารกรุงเก่า ฉบับ หลวงประเสริฐฯ ว่า “ศักราช 824 มะเมียศก(พ.ศ.2005) เมืองนครไทยพาเอาครอบครัวหนีไปเมือง น่าน และให้พระยากลาโหมไปตามคืน มาได้” จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนครไทยกับเมืองน่านทำให้ในสงครามการสู้รบ ระหว่างพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาและ พระบรมไตรโลกนาถ และพระเจ้าติโลกราชได้ร่วมมือกับเจ้าเมือง เชลียงได้นำทัพจากเมืองเชียงใหม่มา ปล้นพิษณุโลกและกำแพงเพชร จากสงครามที่เกิดขึ้นเมืองนครไทย ได้รับผล กระทบจึงได้อพยพครอบครัวหนภัยสงครามไปเมืองน่านให้เมืองนครไทยร้างไปช่วงหนึ่งจนกระทั่งฝ่ายอยุธยา ขึ้นไปยึดครองกวาด ต้อนกลับมาจึงสร้างเมืองนครไทยใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังที่พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ได้กล่าวว่า ในปี พ.ศ.2020 “แรกตั้งเมืองนครไทย” นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนนครไทยใน สมัยอยุธยามีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านด้านลาวของกรุงศรีอยุธยา และเป็นดินแดนที่อยู่กึงกลางระหว่างอาณาจักรล้านช้าง หรือกรุงศรีสัตตนาคนหุตกับอยุธยาดังปรากฏหลักฐานของอาณาจักรล้านช้างที่กล่าว ถึงในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าฟ้างุ้มได้มีพระราชสาส์นแบ่งดินแดนกันระหว่างสองอาณาจักร หลักฐานของฝ่ายลาว มีข้อความว่า “เฮาหากแม่นอ้ายน้องกันมา (ตั้งแต่ขุนบุลม (บรม) พุ้น เจ้า(หมายถึงพระเจ้าอู่ทอง) อยากได้บ้านเมือง เอาเขตแดนภูสามเส้าเมื่อเท้าเถิงภูพระยาพ่อ แดนเมืองนครไทยพุ้น” นอกจากนี้ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อยุธยา แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของเมืองนครไทย มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านด้านลาวของกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏว่าในปี พ.ศ.2110 พระชัยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีีสัตนาคนหุตยกทัพมาตีพิษณุโลก เพื่อปราบพระมหาธรรมราชา ได้ยกกองทัพเข้ามาทางเมืองนครไทย จึงกล่าวได้ว่าในสมัยอยุธยาเมืองนครไทย คงมีฐานะเป็นเมืองเรื่อยมา ในสมัยรัตนโกสินทร์ จากจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เมืองนครไทย มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิษณุโลกที่มีฐานะเป็น หัวเมืองเอกของเมืองฝ่ายเหนือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมืองนครไทย ยังคงมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิษณุโลกอยู่ ดังปรากฏหลักฐานในใบบอกคำรายงานของ พระอินทร์คีรีรัตนบุรีปกาสัย เจ้าเมืองนครไทย ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้ากรม การนายหมวด นายกอง ขุนหมื่นตัวไพร่ เลขศักคงเมืองนครไทยทำราชการหัวเมืองขึ้นกับเมือง พระพิศะณุโลกย์”เมื่อจัดการปกครองรูปแบบเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2433 เมืองนครไทยถูกลดฐานะ ลงมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก และแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นเป็นผู้ปกครอง นายอำเภอคนแรกชื่อ หลวงพิทักษ์กิจบุรเทศ(เป๋า บุญรัตนพันธ์) มาดำรงตำแหน่งในช่วงปี พ.ศ.2433 – 2435 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึง ปัจจุบันนี้(ปี 2551) มีผู้มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอรวม 55 คน จากที่กล่าวมา เมืองนครไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดสาเหตุที่เมืองนครไทยสามารถพัฒนาชุมชน ของตนเองจนกลายเป็นเมือง และคงความสำคัญมีบทบาทในหน้าประวัติศาสตร์เรื่อยมา น่าจะมีเหตุผล จากปัจจัยที่ สำคัญ 2 ประการ คือ 1.เมืองนครไทย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าและเส้นทางการเดินทางระหว่างอาณาจักรตอนในคือสุโขทัยและ อยุธยากับอาณาจักร ลานช้างและหัวเมืองต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง โดยนครไทยมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่าน 2.เมืองนครไทยเป็นแหล่งที่มีสินค้า ซึ่งเป็นที่ต้องการของรัฐสุโขทัยและอยุธยา ตลอดจนเมืองอื่น ๆ คือ เกลือ และของป่าโดยเฉพาะเกลือ นครไทยมีบ่อเกลือ ซึ่งถือว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิตของคนในอดีต และปัจจุบันนี้การผลิตเกลือที่ตำบลบ่อโพธิ์ยังคงมีการ ผลิตกันอยู่ (นางสุภาพรรณ วงศ์สมบัติ ครู ค.ศ.3 โรงเรียนนครไทย : ข้อมูล นายุสรัตน์ วิทักษาบุตร : เรียบเรียง) นครไทยในแง่มุมอื่นๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ หนังสือ "พลังลาว ชาวอิสานมาจากไหน" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ ปรับปรุงจากหนังสือ "เบิ่งสังคมและวัฒนธรรมอิสาน" 2549 หน้า 71 ได้กล่าวถึงที่มาของบรรพบุรุษของชาวนครไทยว่า ".....รัฐล้านช้างที่เป็นลาว ขยายอำนาจลงมาทางลำน้ำโขงยึดเวียงจัน(หรือโคตรบูร)แล้วมีอำนาจเหนือบริเวณสองฝั่งโขง ลงไปทางทิศใต้ เช่น เรื่องท้าวฟ้างุ้ม แม้จะควบคุมไม่ได้ทั้งหมดก็ตาม นับแต่นี้ไป พวกลาวได้เคลื่อนขยายเข้าสู่อิสาน พร้อมกับคดีผีฟ้าพญาแถน แต่ลาวบางกลุ่มได้เคลื่อนย้าย เลยลงไปทางลำน้ำแควน้อย(ที่นครไทย-ชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก - อุตรดิตถ์) ลงลุ่มแม่น้ำน่านแล้ว แต่ไปทางลำน้ำยมของรัฐสุโขทัย (มีคำบอกเล่าเรื่องท้าวอู่ทอง กรุงศรีอยุธยาลงไปทางนี้ อยู่ในเอกสารของตาซาร์ตและลาลูแบร์) จนถึงรัฐอโยธยาศรีรามเทพ ลาวกลุ่มนี้เองที่รับเอา วัฒนธรรมมอญ-เขมร ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วทิ้งความเป็นลาว เรียกตนเองว่าคนไทย อยู่ในรัฐอยุธยา และรัฐสุโขทัย มีหลักฐานอยู่ในสมุทรโฆษ (คำฉันท์) แต่งในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช..." จากหนังสือดังกล่าว ได้พยายามอธิบายว่า บรรพบุรุษของชาวนครไทยมาจากฝั่งลาว (ล้านช้าง) และได้อพยพ เคลื่อนย้ายลงไปภาคกลางและมีอำนาจปกครองรัฐอโยธยาในเวลาต่อไป ส่วนบรรพบุรุษ อีกกลุ่มหนึ่งเคลื่อนย้าย จากล้านช้างลงมาภาคอิสานและเป็นคนอิสานในปัจจุบัน ผู้ที่ไปเยือนนครไทยจึงสัมผัสถึงความเหมือนระหว่าง คนอิสานและคนนครไทย ทั้งภาษา วัฒนธรรมและหน้าตา แล้วยังมักจะเรียกตนเองเป็น "ลาว" จึงประจักษ์ได้ถึงความยิ่งใหญ่ของชุมชนเล็กๆแห่งนี้ ว่าเป็นรากเหง้าดั้งเดิมของชนชาติไทยอย่างแท้จริง (สุรัตน์ วิทักษาบุตร : เรียบเรียง)

หมายเลขบันทึก: 276981เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

อาจารย์เท่สุดๆเลยค่ะ

พวกเราได้ความรู้จากประวัติที่อาจารย์ทำ

จักรกฤษฏิ์ เเซ่ซื้อ

...

อาจารย์เจ๋งมาก จำด้ายป่ะค่ะ คริสมาส ปี51 น่ะ

สวัสดีค่ะ นามสกุลเหมือนเพื่อนเลย ไม่ทราบว่ารู้จัก "แฟน บุญอาจ" รึ ป่าวคะ พอดีกำลังหาเพื่อนเก่าที่เรียนนครไทยอะค่ะ

อาจารณ์หลอมาก

 

ขอคุณมากค่ะสำหรับข้อมูลถ้าไมมีข้อมูลนี้ดิฉันคงทำรายงานไม่เสร็จขอคุณมากค่ะอาจาน

ผมจะขอรบกวนว่าท่านพอทราบประวัติอ.ชาติตระการบ้างไหมครับท่าน

ขอบคุณมากน่ะค่ะอาจารหนูทำรายงานได้แล้ว ขอบคุนค่ะ จากลูกขาวแดง

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากครับ 

จากอดีตลูุกแดง ขาว


เรียนรุ่นเดียวกับไอ้ยุท ลูกโกร้อง แต่จบแค่ ม.3 คิดถึงเพื่อนๆตอนนี้อยู่ นนทบุรี โทร0819791565

กำธร เสนจันทร์ฒิไชย

นักวิชาการ - นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า….วันนั้นในอดีต..ไม่มี…พ่อขุนบางกลางท่าว..เจ้าเมืองบางยาง(ปัจจุบันคือ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก) ย่อมไม่มีอาณาจักรสุโขทัย..และ..อาจไม่มีราชอาณาจักรสยามไทย ณ วันนี้…คนไทย 90% ไม่รู้เรื่องดังกล่าว..แม้แต่คนเมือง..สรลวงสองแควพิษณุโลก..ก็แทบไม่รู้จัก..พ่อขุนศรีอินทราทิตย์..อนุสรณ์สถานในเมืองพิษณุโลก..ก็ไม่มีให้เคารพบูชารำลึกถึงบรรพกษัตริย์(ผู้นำ)และบรรพชน(ผู้กล้า) ที่พลีชีพเอาชีวิตเข้าแลกฝ่าคมดาบคมหอกฝ่าห่ากระสุนปืน เพื่อให้มีแผ่นดินและรักษาไว้ให้ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย ทำมาหากินตามอัตภาพภาวะแห่งตน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท