แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

สัมภาษณ์ครูทิวารี By ครูสุภาพร / ครูทิพยวรรณ/ ครูเล้ง


 
เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

 
สัมภาษณ์ครูทิวารี
O.P. Tiwari
(อดีตเลขาธิการ สถาบันโยคะไกวัลยธรรม
เมืองโลนาฟลา อินเดีย)

โดย: ครูสุภาพร / ครูทิพยวรรณ/ ครูเล้ง
อ้างอิงข้อมูลจาก ; เว็บไซด์สถาบันโยคะวิชาการ

ในวันที่ 6 ของการเรียนปราณยามะ หลักสูตร 7 วัน ที่สถาบันไกวัลยธรรม พวกเราคิดว่า คงจะดีถ้าเราได้มีของฝากติดไม้ติดมือ จากหลักสูตรที่เรากำลังเรียนอยู่นี้ มาให้เพื่อนครู / สมาชิกจดหมายข่าวของเรา ก็เลยขอนัด สัมภาษณ์คุณครูที่สอนปราณของพวกเรา คุณครูก็ใจดีมาก ตอบตกลงทันที และนัดให้มาพบกันหลังเลิกเรียน วันพรุ่งนี้

พวกเราได้สรุป คำถาม-คำตอบ จากที่ได้คุยกับครูทิวารี มาให้อ่านกัน..ดังต่อไปนี้จ้า..

Q: ประสบการณ์ การฝึกปราณยามะ
A: เริ่มฝึกเมื่อปี ค.ศ.1957 กับสวามีกุลวัลยนันท์ ฝึกมา 50 ปีแล้ว ขณะนี้ คุณครูอายุ 75 ปี ยังแข็งแรงดี เดินเหินคล่องแคล่ว

นี่ ก็เพิ่งไปฝึกสมาธิที่ตำบล แกงโก้ทรี Gangottri ใกล้ๆ อุตตระ กาชี UttaraKashi สถานที่แห่งนี้อยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ระยะทาง 200 กม. จากเมืองฤษีเกศ ซึ่งต้องเดินเท้า ฝ่าหิมะ หรือ ธารน้ำแข็ง ประมาณ 10 กม.

ตาม ปกติ จะฝึกโยคะวันละ 3 ชั่วโมง ตั้งแต่ ตี 4 แต่ฝึกอาสนะน้อยมาก ทำอาสนะในท่า ก้ม แอ่น บิด เอียง เพียงเพื่อ ดูแลกระดูกสันหลัง เพื่อให้มีสุขภาพดี หลังจากนั้น เวลาที่เหลือจะฝึก ปราณายามะ และ สมาธิ

เนื่อง จาก ในการฝึกปราณายามะ เราจะได้ประโยชน์มากกว่า และลึกลงไปถึง .ระดับจิตให้สำนึก Subconscious level ทำให้ระบบความคิดดีขึ้น แจ่มใสขึ้น ขจัดโรคภัยอันเนื่องมาจากระบบประสาท จิตใจสงบ เป็นการขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกได้เต็มที่ ทำให้ร่างกายแลจิตใจบริสุทธิ์

Q: เล่าเรื่องประสบการณ์ การฝึกปราณายามะ 1 ปี ในหิมาลัย
A: ตอนกลับลงมา ก็ต้องมาปรับตัวกันใหม่ แต่ก็รู้สึกว่า ร่างกาย และจิตใจกระฉับกระเฉง หน้าตาก็เป็นหนุ่มขึ้น (ยิ้ม..) ทำงานก็ว่องไวขึ้น (ใครอยากเป็นหนุ่ม เป็นสาว โดยไม่ต้อง ไปฉีดโบทอกซ์ สงสัยต้องไปฝึกสมาธิที่หิมาลัย..) อยู่ที่หิมาลัย ได้พูดคุย ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และ ความคิด ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการใช้ชีวิต ทัศนคติในการใช้ชีวิต กับโยคีที่ฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้น ทั้งอากาศ และน้ำก็บริสุทธิ์ ขณะที่นั่ง ฝึกสมาธิ ริมลำธารเล็กๆ ก็ได้ยินเสียงน้ำไหล นับว่าเป็นสถานที่ฝึกสมาธิที่ดีมาก ที่แกงโก้ทรีนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร

Q: ทำไมจึงฝึกปราณ
A: ฝึกแล้ว ก็จะได้รู้ในสิ่งที่...ไม่เคยรู้ ได้ทำในสิ่งที่...ไม่เคยทำ ได้ประสบการณ์ และทำให้เราเติบโตขึ้น คนที่ว่างเปล่า เปลี่ยวเหงา ก็จะไม่รู้สึกว่าตนขาดแคลน หรือโหยหา สิ่งใดๆ

การฝึกสมาธิ..ไม่ได้ ละทิ้งครอบครัว แต่กลับทำให้เราดูแล (ความรู้สึก) คนในครอบครัวได้ดีขึ้น ครูทิวารีมีลูกชาย 3 คน ทำงานอยู่ที่อเมริกา 1 คน แคนาดา 1 คน และอยู่ข้างกายท่านที่อินเดียอีก 1 คน)

Q: การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ ชัดเจนหลักจากการฝึกปราณ
A: เราจะรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความรู้สึกที่ไม่บริสุทธิ์ ความโกรธ ความขัดเคือง ความขุ่นข้องหมองใจที่ก่อตัวขึ้น

Q: ทำอย่างไรจึงจะฝึกได้อย่างต่อเนื่อง
A: มีกุญแจที่สำคัญอยู่ 2 คำ

การให้คุณค่ากับการฝึก Value คือหากฝึกแล้วเรารู้ว่าจะหายปวดฟัน หรือทำงานได้ดีขึ้น เราก็จะมีกำลังใจในการฝึกใช่ไหม? ถ้าเรารู้ว่า เพียงแค่การฝึกหายใจ เข้า-ออก ก็จะทำให้เซลในร่างกายของเราเป็นหนุ่ม..เป็นสาว ความคิดแจ่มใส คิดอะไรก็แจ่มแจ้ง..แทงตลอด..เราก็จะฝึกทุกวันใช่ไหม? นี่ก็เป็นเรื่องของการเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าในการฝึกนั่นเอง

การวางแผน Planning ต้องวางแผนว่าเราจะฝึกทุกๆ วัน ในเวลาที่เรากำหนดไว้ แค่วันละ 10 นาที ก็วิเศษแล้ว

Q: ความสุขสูงสุดในขณะฝึกปราณ
A: คือความปิติ.. Inner Joy ที่เกิดขึ้นในใจ ความสงบก่อให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอะไรควรทำ / ไม่ควรทำ

Q: ความคิดเห็น เกี่ยวกับความรัก ความเกลียดชัง สันติภาพ
A: ในโยคะ ไม่เคยพูดถึงเรื่อง ความรัก เราจะหาความรักได้จากที่อื่นมากมาย ถ้าเรารัก..เราจะทุกข์..หากความรักนั้น ไม่ได้ดั่งใจปรารถนา

โยคะ.. พูดเรื่อง..อหิสา หากเราไม่ทำร้ายกัน ไม่เบียดเบียนกัน ความรักก็จะเกิดขึ้นเอง กล่าวคือ ความรักเป็นผลพลอยได้จากการปฏิบัติอหิงสา เป็นของแถมจากอหิงสา

Q: อยากให้ฝากข้อความถึงผู้อ่านที่เมืองไทย
A: ในการเรียนโยคะ เราต้องฝึกฝน หากฝึกแล้วพบว่าสิ่งนั้นไม่เหมาะกับเรา...ก็ให้ทิ้งไปโดยไม่ต้องเสียดาย เพราะมันไม่เหมาะกับเรา ตัวเราตัดสินใจได้ดีที่สุด...(ครูคงจะหมายถึงบางเทคนิคของปราณายามะ..เช่นใน บางขณะ หากร่างกายเราเย็นเกินไป ...ฝึก สิตาลี - หายใจเข้าโดยการม้วนลิ้น คงจะไม่เหมาะ)

Q: เป้าหมายในชีวิต
A: การหยั่งรู้ตนเอง Self realization



มูลนิธิหมอชาวบ้าน
2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 276843เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท