Sick Around the World


ความสุขและความพึงพอใจนั้นถูกแลกมาด้วยความทุกของคนอื่นๆในระบบหรือไม่โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการ

          ผมต้องตื่นแต่เช้าเพื่อลุกขึ้นมานั่งดูสารคดีเรื่องนี้เนื่องด้วยอาจารย์ของผมท่านได้บอกถึงโปรแกรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 11-12 ก.ค. 52 ว่าหนึ่งในรายการคือการพูดคุยเกี่ยวกับ Sick Around the World หลังดูไปได้เพียงเล็กน้อยทำให้ผมหายง่วงเป็นปลิดทิ้งเพราะนี่คือคำถามในใจผมมาตลอดว่า ระบบสุขภาพของประเทศใหญ่ๆในโลกเขาทำกันอย่างไร เป็นการสรุปในแง่มุมต่างๆ ได้อย่างดีแท้แม้ว่าบางประเด็นยังต้องสืบค้นเพิ่มเติมก็ตาม

                ที่น่าสนใจคือจุดเริ่มต้นของสารคดีเรื่องนี้คือการล้มละลายของคนไข้ที่เกิดจากการรักษาพยาบาล แต่จากการค้นหาในประเทศต่างๆกลับพบรูปแบบหลากหลาย ในทุกประเทศที่มีระบบสุขภาพที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายย่อมเป็นระบบที่มีความพึงพอใจสูงสุด อันที่จริงอาจต้องมองลึกลงไปอีกว่า ความสุขและความพึงพอใจนั้นถูกแลกมาด้วยความทุกของคนอื่นๆในระบบหรือไม่โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ให้บริการ

หมายเลขบันทึก: 276721เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

- ในระบบที่ประชาชนต้องจ่ายเงิน แต่จ่ายในตัวเงินที่เป็นมาตรฐาน ไม่มีการแบ่งแยกระดับของการบริการไม่มีการค้ากำไรของโรงพยาบาล ก็น่าจะเป็นความพึงพอใจในอีกระดับหนึ่งนะคะ

- ความทุกข์ยากส่วนใหญ่ของกลุ่มผู้ให้บริการ น่าจะมาจากจำนวนคนไข้ที่มาก รู้สึกว่าต้องรับภาระหนัก ไม่มีเวลาเป็นส่วนตัว หยุดได้ไม่ตรงกับใคร ... หวังใจไว้เหมือนกันค่ะว่า ซักวันนึงที่ระบบ primary care บ้านเราแข็งแรง ความทุกข์เหล่านี้จะค่อยเบาบางจางลง

- แต่คำถามที่อยากฝากไว้ตอนนี้คือ ทำอย่างไรให้ประชาชนดูแลตัวเองได้ , primary care แข็งแรง , บุคลากรมีความอยากที่จะทำงาน มีค่าตอบแทนที่เหมาะสม และ ต้องทำอย่างไรที่จะให้ประเทศไทยของเราไม่ใช่แค่กรุงเทพ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท