การบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารแบบมีส่วนร่วม

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การบริหารแบบสมดุลของโรงเรียนพานทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ที่เหมาะสมกับการบริหารของโรงเรียน
พานทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ของโรงเรียนพานทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ต่อประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ของโรงเรียนพานทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม(Mixed Method) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง เลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Selection) โดยทำการศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 48 คน เก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคกระบวนการ AIC การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ระดับลึก (Indepth Interview)
การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการจดบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ที่เหมาะสมกับการบริหารของโรงเรียนพานทอง ได้ดำเนินการดังนี้ ศึกษาปัญหาสภาพทั่วไปของโรงเรียน ด้วยเทคนิคกระบวนการ AIC วิเคราะห์และกำหนดมุมมองเป็น
4 มุมมอง คือ ด้านนักเรียน ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และด้านงบประมาณและทรัพยากร การทบทวนวิสัยทัศน์ จัดทำแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategic Map) กำหนดเป้าหมายและกิจกรรมเชิงกลยุทธ์ กำหนดผู้รับผิดชอบปฏิบัติ ติดตามประเมินผลด้วย
การมีส่วนร่วม รายงานผลและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2. ประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced
Scorecard) ของโรงเรียนพานทอง พบว่า มุมมองด้านนักเรียน นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐาน ในปีการศึกษา 2549 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยใน 8 กลุ่มสาระ ผลการดำเนินงานทุกสาระสูงกว่าเป้าหมาย 50% ดังนี้ วิชาภาษาไทย ร้อยละ 59.00 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 58.50

วิทยาศาสตร์ ร้อยละ 62.50 สังคมศึกษาฯ ร้อยละ 50.50 ภาษาอังกฤษ ร้อยละ 52.75 การงานอาชีพฯ ร้อยละ 78.50 สุขศึกษาฯ ร้อยละ 79.50 และศิลปะ ร้อยละ 76.50 มีนักเรียนออกกลางคัน คิดเป็นร้อยละ 1.77 ต่ำกว่าเป้าหมาย (ไม่เกินร้อยละ 2) นักเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 97.51 สูงกว่าเป้าหมาย (90%) นักเรียนมีความรับผิดชอบ
ร้อยละ 97.06 สูงกว่าเป้าหมาย (90%) นักเรียนที่มีสุขภาพกายตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 97.77
สูงกว่าเป้าหมาย (95%) ส่วนที่มีสุขภาพจิตที่ดีร้อยละ 98.48 สูงกว่าเป้าหมาย มุมมองด้านกระบวนการภายใน โรงเรียนมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมตามหลักการของ SBM มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาได้ในระดับ 4 เท่ากับเป้าหมาย (ระดับ 4) โรงเรียนมีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งสามารถดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนได้ร้อยละ 100 สูงกว่าเป้าหมาย (95%) มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา โรงเรียนมีครูมืออาชีพคิดเป็นร้อยละ 100 สูงกว่าเป้าหมาย (90%) มีจำนวนแหล่งเรียนรู้ที่ขึ้นทะเบียนและใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 76.47 สูงกว่าเป้าหมาย (70%) มีการแสวงหาความรู้จากองค์กรภายนอกและชุมชนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ระดับ 4 เท่ากับเป้าหมาย (ระดับ 4) มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่เชื่อถือได้อยู่ในระดับ 4 เท่ากับเป้าหมาย (ระดับ 4) มีครูที่ใช้ IT ในการเรียนการสอนร้อยละ 90.56 สูงกว่าเป้าหมาย (70%) มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร มีการระดมทรัพยากรจากชุมชนเพื่อการพัฒนาการศึกษา ได้ระดับ 5 เท่ากับเป้าหมาย (ระดับ 5) โรงเรียนใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานด้านค่าสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.07 สูงกว่าเป้าหมาย (ประหยัดได้ร้อยละ 2) ความสำเร็จของการใช้ทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ ร่วมกันอยู่ในระดับ 4 เท่ากับเป้าหมาย (ระดับ 4)
3. ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ต่อประสิทธิผลของการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยใช้การบริหารแบบสมดุล (Balanced Scorecard) ของ
โรงเรียนพานทอง อยู่ในระดับมาก

 

นายอุทัย สิงห์โตทอง : [26 มี.ค. 2552]

http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=7321&bcat_id=16

หมายเลขบันทึก: 276716เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท