โรคภัยไข้เจ็บ


วิธีสวมหน้ากากอนามัย ป้องกันเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นับวันจะเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากขึ้นเมื่อ 2 วันก่อนมีนักศึกษาไม่มาเรียนหลายคน บางคนโทรมาแจ้งว่ามีอาการคล้ายอาการไข้หวัดต้องรีบไปโรงพยาบาล บางคนเขียนจดหมายมาลาบอกว่าญาติมารับกลับต่างจังหวัดไปรักษาตัวแล้ว จากการติดตามข่าวก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ต้องหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ที่อาจจะไปสัมผัสกับเชื้อหรือไปแพร่เชื้อมากขึ้น จากการแนะนำของ สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อจะหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ แนะนำไว้ดังนี้ครับ

  1. การแพร่ระบาดของโรคจะเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ หาก     ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง จะมีจำนวนผู้สัมผัสเชื้อน้อยและจะมีผู้ป่วยไม่มากนัก แต่หากผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ป่วยจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการแพร่เชื้อไปสู่   บุคคลที่ผู้ป่วยใกล้ชิดและคลุกคลีด้วย นั่นคือ หากผู้ป่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ไม่ดี จะมีบุคคลอื่นในครอบครัวหรือบุคคล อื่นในที่ทำงานป่วยตามมาได้นั่นเอง
  2. ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้อื่นหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ  และกลับเข้าเรียนหรือทำงานได้ เมื่อหายป่วยแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  3. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น  หรือใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม
  4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ โดยเฉพาะหลังการไอ จาม

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.kmddc.go.th

 

ทางหนึ่งที่น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันหวัดได้ดี กระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาให้คำแนะนำ คือ การสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันหวัดมรณะ และลดการแพร่กระจายของเชื้อที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ถึงร้อยละ 80 นพ.วิชัย เดชะทัตตานนท์ แผนกสร้างเสริมสุขภาพ ประกันสังคม โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 ได้ให้คำแนะนำการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า การใส่หน้ากากอนามัยสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดได้จริง และจากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า การใส่หน้ากากอนามัยสามารถลดการแพร่กระจายของอณูเล็กๆ ประเภทน้ำมูก เสมหะจากการไอ จาม พูดเสียงดัง และน้ำลาย (Droplets) ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ถึงร้อยละ 80 หน้ากากอนามัยที่ขายอยู่นั้นมีอยู่หลายประเภท แต่หน้ากากประเภทที่ใช้ในห้องผ่าตัด (Surgical Mask) เพราะหน้ากากประเภทนี้สามารถกรองอนุภาคได้ 5 ไมครอน (เสมหะและน้ำลายมีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน) อีกทั้งยังมีราคาถูกและสามารถใส่ได้สบายกว่าโดยไม่อึดอัด และควรใส่ทุกครั้งที่อยู่ในที่สาธารณะที่มีบริเวณจำกัด โดยเฉพาะสถานที่ที่เป็นห้องปรับอากาศ เช่น บนเครื่องบิน รถโดยสาร ห้องเรียน ออฟฟิศ โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร สถานที่ออกกำลังกายที่เป็นห้องปิด เป็นต้น เพราะเชื้อโรคนั้นสามารถแพร่กระจายได้ในรัศมี 3 ฟุต และสามารถใช้หน้ากากอนามัยได้ 3 วัน แต่ในช่วงที่มีการแพร่กระจายของโรค ขอแนะนำว่าควรที่จะเปลี่ยนทุกวันหรือเมื่อชำรุด ปนเปื้อน และควรใส่หน้ากากอย่างถูกวิธี ดังนี้

 

1. เอาด้านที่มีสีเข้มออกด้านนอก

2. สวมให้พอดีกับหน้าหรือสันจมูก

3. ให้ด้านที่เป็นโลหะอยู่บนสันจมูก

4. หน้ากากต้องคลุมบริเวณจมูก ปาก และคาง

5. กดโลหะให้แนบสนิทกับสันจมูก

6. สายรัดควรจะพอดีเมื่อคล้องไปที่หู

 

นอกจากนี้พบว่าหลายคนพอสวมหน้ากากอนามัยแล้วด้วยความไม่เคยชินจะเอามือจับอยู่ตลอดเวลา มือก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้เราติดเชื้อมาแล้วสัมผัสกับหน้ากากอยู่ย่อย ๆ แทนที่จะป้องกันก็เลยจะทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ก่อนหยิบหน้ากากมาสวมก็ควรจะล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้งและล้างอย่างถูกวิธีด้วยครับ เวลาถอดหากจะนำมาใช้อีกก็ควรเก็บไว้ในที่ที่สะอาดด้วย

ขอให้ทุกคนปลอดภัยจากเชื้อร้ายนี้ครับ

 

ที่มา    http://www.valuba.com/story/view/564630.html

          www.kmddc.go.th

หมายเลขบันทึก: 276695เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท