๑๔.เศรษฐีน้อย..ที่บ้านนา


การจัดการการเงินของเรา โดยหลักๆ ก็คือการจะซ่อนตัวเองไม่ให้ไปเอามาใช้ได้อย่างไร โดยกรอบที่ยึดก็คือการที่ชีวิตจะยังสามารถอยู่ได้ดี ไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป

ทำไมเราจึงต้องทำการสร้างระบบการออมคำตอบก็คือ พยายามทำให้ คำให้พรของพระ ของพ่อแม่นั้นศักดิ์สิทธิ์นะครับ และอีกอย่างก็คือถ้าไม่ทำเราก็จะสอนลูกไม่ได้หรอก เพราะเรารักลูก คนแรกเลยที่ต้องปรับปรุงก็คือผมเองและภรรยา การออมเราก็ล้มลุกคลุกคลานกันมาตลอดล่ะครับ แต่เราก็ยังพยายามกันต่อไปซึ่งก็ดีขึ้นครับ การทำเรื่องนี้สำคัญมากๆ เลยก็คือ ระบบต้องง่ายครับ สะดวก  และถ้าระบบยังไม่ใช่คุณก็ควรปรับจนมันใช่  เช่น เก็บ 10 % มากเกินทำให้ค่าใช้จ่ายขาดไป 2% คุณก็ควรลดการเก็บเงินลงเหลือ เพียง 8 % ครับ ..

วิธีที่ง่ายๆและสามารถปฏิบัติได้ผลอย่างในองค์กรของผมก็คือการออมผ่านระบบสหกรณ์ครับ ที่นี่เค้านิยมทำกันครับ พอถึงเดือนแผนกการเงินก็เก็บตังค์เราเข้าสหกรณ์ให้เลยโดยที่เราไม่รู้สึกอะไร เราก็เลยยังไม่มีโปรเจคใดๆ เกิดขึ้นมาในหัว.. จริงๆ ผมเองก็ตั้งใจออกแบบระบบให้สอดคล้องกับนิสัยคนไทยอย่างตัวผมเองด้วย คือเงินที่แบ่งไว้ใช้นั้น สามารถใช้ให้หมดได้เลย ไม่ต้องกังวล

...ในช่วงแรกที่เริ่มทำนั้น สำคัญที่สุดก็คือความอดทนครับ เราต้องทำตามวินัยที่เราได้ตั้งไว้โดยเคร่งครัด และควรทำอย่างน้อยก็ 5 ครั้ง คิดเป็นเวลาก็ 5 เดือนล่วงไปนะครับ ซึ่งก็นานพอที่จะกลายเป็นนิสัยของตนเองและครอบครัวครับ จากนั้นก็ไม่มีอะไรที่ต้องยุ่งยากแล้ว เพียงแค่เมื่อมีรายได้เพิ่ม ในส่วนที่เพิ่มนี้คุณก็เพิ่มเข้าไปในสหกรณ์ของคุณครับ

ทำอย่างนี้เรื่อยไปอะไรจะเกิดขึ้น คุณเท่านั้นที่ทราบดี คนอื่นไม่สามารถสรุปได้หรอกครับ

อีกอย่างที่ใช้ประกอบกันก็คือ คุณค่าของเงินในมุมมองของเศรษฐี .. ซึ่งก็คือเรื่องของเศรษฐีครอบครัวหนึ่งใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย และเห็นคุณค่าของทุกสิ่ง อยู่มาวันหนึ่งเขาทานกล้วยไข่ไป แต่เกิดทานไม่หมด ท่านจึงนำมีดบางมาปาดตรงรอยกัดนั้นออกทิ้งและก็เก็บกล้วยผลนั้นไว้ทานต่อ ... มันแปลก ซึ่งปกติถ้าผมทานไม่หมดผมก็โยนทิ้ง เรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกอย่างไรก็บอกไม่ถูกนะ   แต่เรื่องนี้จำได้แม่นจริงๆ ก็วนเวียนอยู่ให้ได้คิดตลอด

เงินที่หักทุกเดือนของผมก็ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ก่อนใช้อย่างอื่นครับ คือจ่ายค่าจ้างตัวเองก่อน (จริงๆ ใครๆในโลกก็คงทำกันหมดแล้วล่ะ) จากนั้นจึงค่อยใช้จ่ายอย่างอื่นครับ ภรรยาก็ทำเหมือนกัน ที่บ้านเราต่างก็มีเงินเก็บเป็นของตนเองครับและในส่วนของค่าใช้จ่ายภาพรวมเราร่วมกันรับผิดชอบ ส่วนของการศึกษาลูกก็ช่วยกันดูแล ค่าใช้จ่ายในทุกส่วนที่จำเป็นก็ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง จึงทำให้เรามีค่าใช้จ่ายที่คงที่ ส่วนรายรับนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าใครหาได้มากกว่า จึงเป็นผลทำให้เงินเหลือของเราทั้งสองคนไม่เท่ากัน คนที่หาได้เยอะก็รวยกว่าคนหาได้น้อย ก็คือว่ากันไปตามเนื้อผ้าครับ ที่เน้นก็คืออิสระทางการเงินของสมาชิกครับ...แล้วของคุณล่ะเป็นอย่างไร...

 

/ สร้างสุขในชีวิตประจำวัน / ลองทำเว็บบล็อคกันไหม / กาแฟ /การจัดการด้านเสียง /

/ เคล็ดลัพธ์ต่างๆ ในการดูแลคอมพิวเตอร์ /พัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเรา /

หมายเลขบันทึก: 275845เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท