กฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าในประเทศไทย โดย รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร


ชนเผ่าคือใคร ชนเผ่ามีสิทธิอะไรบ้าง ชนเผ่าใช้สิทธิได้จริงไหม ต้องคุ้มครองสิทธิชนเผ่าอย่างไร กฎหมายช่วยอะไรชนเผ่าได้บ้าง และทำอย่างไรให้ชนเผ่ารู้กฎหมาย คำถามเหล่านี้อาจารย์แหววมีคำตอบ

เมื่อวานนี้ได้เข้าฟังการบรรยายพิเศษ กฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าในประเทศไทย " โดย รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ในโครงการปริญญาโทสาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาจารย์พันธุ์ทิพย์ได้เริ่มการบรรยายด้วยคำถามที่ว่าชนเผ่าคือใคร และอาจารย์ได้ให้แนวคิดการแบ่งชนเผ่าตามยุคสมัยได้อย่างน่าฟังว่า ชนเผ่าในอดีตอธิบายด้วยสายโลหิตและชาติพันธุ์เป็นตัวบ่ง ชนเผ่าในยุคปัจจุบันอธิบายด้วยความคิด เช่นความเชื่อทางการเมือง ลัทธิบริโภคนิยม เป็นต้น ส่วนชนเผ่าในโลกอนาคตอธิบายด้วยเทคโนโลยี อาจารย์ยังจำแนกชนเผ่าตามคำนิยามในพจนานุกรม มนุษยวิทยา นิติศาสตร์และรัฐศาสตร์

รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทรได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายพิเศษในกฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าในประเทศไทยทุกปีนับตั้งแต่ปี 2549

บรรยากาศการบรรยายพิเศษ

อาจารย์เล่าถึงการลงพื้นที่ไปตามชุมชนบนพื้นที่สูง

อาจารย์บรรยายว่าการจัดทำทะเบียนชุมชนบนพื้นที่สูงตามแผนแม่บทนี้นับเป็นประวัติศาสตร์การจัดการประชากรชนกลุ่มน้อยของไทยเลยทีเดียว

ตัวอย่างบัตรชนกลุ่มน้อย หรือที่ถูกเรียกว่าบัตรสีต่างๆ ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ประวัติศาสตร์ความคิดน่าศึกษา

อาจารย์บรรยายสูตรสำเร็จการจัดการประชากร 5x6 ซึ่งขณะนี้ทางสถาบัน SWIT ร่วมมือกับมูลนิธิเอเชียกำลังจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ คาดว่าถ้าตีพิมพ์เสร็จ คงขจัดความไม่รู้ของคนหลายๆฝ่ายและจะนำไปสู่การจัดการประชากรที่ยั่งยืน

ติดตามศึกษากฎหมายกับการคุ้มครองสิทธิชนเผ่าในประเทศไทยในห้องเรียนอิเลคทรอนิกส์ของอาจารย์แหววได้ที่

http://www.archanwell.org/

http://learners.in.th/blog/human-right-and-archanwell/278084

การให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่จะนำกฎหมายไปบังคับใช้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากผู้บังคับใช้กฎหมายเป็นผู้ไม่รู้เสียเองบ้านเมืองคงดำเนินไปอย่างยากลำบากแต่หากมีความรู้และการจัดองค์ความรู้ที่ถูกต้องก็จะนำไปสู่แนวทางการปฎิบัติและพัฒนาประเทศสืบต่อไป และสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่งก็คือการปลูกฝังจิตสำนึก มีความรู้ ความสามารถประกอบกับจิตสำนึกอันดีงามสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศก้าวไปได้อย่างมั่นคง

หมายเลขบันทึก: 275786เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ต้องชื่นชมที่พยายามฝึกเขียน เห็นไหมว่า การเขียนทำให้สมองคิดว่า เราได้ฟังอะไร ได้ยินอะไร จัดระบบการนำเสนอ อันนี้เป็นผลลัพธ์ที่จับต้องไม่ได้ แต่ให้ศักยภาพสมองมาก แต่ผลต่อไป ก็คือ สิ่งที่จับต้องได้ ตัวบันทึก ที่คนมาอ่าน และมารู้จักคนเขียน และเรื่องที่เราเขียน และชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่เราเขียน ..... หนึ่งบันทึกสร้างสุขอเนกอนันต์ค่ะ 

มีผิดที่ต้องแก้ไข หนังสือแม่อายสู่อันดามัน เป็นงานในความร่วมมือของหลายฝ่ายทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคล และองค์กร มิใช่แค่ SWIT มีมูลนิธิกระจกเงา มีกรมการปกครองด้วย มีอัยการด้วย ฯลฯ ที่สำคัญเป็นงานของเดือนตุลา กล่าวคือ พี่สถาพรด้วย เป็น social joint venture ขนาดใหญ่

เรียกว่า เป็นงานของ "โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน" ซึ่งสร้างขึ้นโดยเตือน และมีมิวและไหมเป็นผู้สนับสนุนการทำงาน เรียกว่า มี main doer ๓ คนนี้ค่ะ จึงเป็นโครงการของเขาสามคน 

ต้องให้เตือนมาอธิบายในรายละเอียด

ถ้าเราเห็นแก้วเป็นบรรณาธิการหนังสือ ก็คือ การไปสนับสนุนกิจการนี้ เป็น co- doer ของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน"

มูลนิธิเอเซียเป็นคนจ่ายเงิน ใช่แน่นอน

สูตรความรู้ห้าคูณหกเป็นของ อ.แหวว และมวลมิตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกศิษย์สายกฎหมายระหว่างประเทศ ศึกษากันมารุ่นต่อรุ่นตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๒ อ่านงานของด๋าวและกานต์ดีๆ นะคะ ที่สรูปความเป็นมาของเรื่องนี้ 

แต่การทดลองสูตรนี้โดยผ่านคนจริงๆ ๙๖ คนนั้น ทำโดยคลินิกแม่อายเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ และยังดำเนินอยู่ 

ส่วนโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายสู่อันดามัน ก็มีกิจกรรมถ่ายทอดห้าคูณหกในหลายรูปแบบสู่อันดามัน มีกิจกรรมการฝึกอบรม ลงพื้นที่เสวนากับเครือข่าย หนังสือ 

สรุปว่า ต้องรู้จักงานของเตือนมิวไหมในเรื่องนี้ให้ดี เป็นประวัติศาสตร์ของการทำงานสายการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยที่จะเป็นประวัติศาสตร์ในอนาคต ต้องอ่าน ต้องถาม 

งานความคิดเรื่องการคืนสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตให้คนไทยพลัดถิ่น ก็เป็นผลของใครหลายคน ที่ถูกลืม เพราะคนเหล่านั้นไม่พูดไม่เขียนไม่แสดงตน วันนี้ ก็มีบทความลงในมติชน แต่ไม่พูดถึง "เตือนมิวไหม" สักนิดเดียว หรือแม้ครูแดงที่ลงตัวลงใจในเรื่องนี้มากมาย 

บ่นเพลิด ... งานสรุปความคิดคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นก็เป็นผลงานของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้แม่อายสู่อันดามันนี้ล่ะค่ะ ....

เลยถือโอกาสมาสร้างสรรค์งานเขียนในบันทึกของหนึ่งเสียเลย วันนี้ ตื่นก็เที่ยงวัน หิวจังเลย

เอาภาพกรอบงานของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากแม่อายถึงอันดามันมาให้ดูค่ะ

เห็นด้วยค่ะ เพราะการไม่บันทึก ไม่เผยแพร่ ทำให้คนนอกไม่รู้ว่าเราอะไรบ้าง

แต่ที่ไม่บันทึกไม่เผยแพร่ ไม่ใช่เพราะว่ากลัวคนนอกรู้และจะเอาไปเป็นเเบบอย่างนะคะ แต่ที่ไม่บันทึกนั้นเพราะ ด้วยความขี้เกียจของตัวเองบ้าง ลืมบ้าง

แต่จะพยายามให้มากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ มาช่วยเติมเต็มบันทึกและที่สำคัญกว่านั้นมาช่วยเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจ

ความผิดเป็นคนละเรื่องกับความผิดพลาดค่ะ
และจะโทษหนึ่งก็ไม่ได้ทั้งหมด เพราะเตือนเองก็ไม่เคยเอาใจใส่เผยแพร่งานของตนเองให้โลกรู้
การที่หนึ่งเข้าใจผิดก็จะเป็นเครื่องช่วยเตือนสติคนชื่อ "เตือน" ให้เข้าใจภารหน้าที่ของตนเองมากขึ้น

ไม่ต้องรอถึงหนังสือออกหรอกค่ะ ก็ไปแก้ไขบันทึกให้ถูกต้องว่า หนังสือเป็นของใคร และใครบ้างที่มาร่วมใจทำงาน

หรือไม่ ก็อาสาเตือนทำข่าวเรื่องความคืบหน้าของหนังสือทั้ง ๓ เล่มนี้นะคะ มีตั้ง ๓ เล่ม เห็นคำนำที่ อ.แหววเขียนในอีก ๒ เล่มล่ะยัง หรือเล่มแรกก็ยังไม่เห็น เพราะ อ.ก็ยังไม่ได้เผยแพร่ อ.แหววก็แย่เหมือนกันนะ อย่าว่าแต่คนอื่นเลย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท