แสตมป์บำรุงเสือป่า ชุดที่ ๑ มีจำหน่ายที่ไหน


แสตมป์บำรุงเสือป่า ชุดที่ ๑ เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยต้อนรับ เหตุเพราะว่าต้องซื้อราคาสูงกว่าดวงแสตมป์ เวลาใช้กลับใช้ได้ เน้นลูกค้าที่คนชั้นสูง (มีกะตังค์) หรือชาวต่างประเทศ เข้าใจว่ามีวางจำหน่าย ๓ จุด

ฉากที่ ๓ แสตมป์บำรุงเสือป่า ชุดที่ ๑ มีจำหน่ายที่ไหนบ้าง เรื่องนี้พิจารณาดูแล้ว คงจะไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามที่ทำการ
ไปรษณีย์ต่างๆ ทั่วประเทศ เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยต้อนรับ เหตุเพราะว่าต้องซื้อราคาสูงกว่าดวงแสตมป์ เวลาใช้กลับใช้ได้
เพียงราคาในดวงแสตมป์ (อย่าว่าแต่สมัยโน้นเลย - สมัยนี้ก็เหมือนกัน แสตมป์บวกราคาเพิ่มขายไม่ค่อยได้ ด้วยเหตุผลเดียวกัน)

*
ในสมัยนั้นรู้ปัญหานี้ดี จึงคิดว่ามีการวางจำหน่ายเป็นจุดๆ เท่านั้น เน้นลูกค้าที่คนชั้นสูง (มีกะตังค์) หรือชาวต่างประเทศ
(
เห็นว่าวิสัยทัศน์สมัยนั้น เหนือกว่า ปณท. สมัยนี้เสียอีก)

ความเห็นอีตาไทย เข้าใจว่ามีวางจำหน่าย ๓ จุด เท่านั้นคือ
๑. กรมพระคลังมหาสมบัติ ในกรุงเทพฯ (สมัยนั้นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดพิมพ์แสตมป์ ไม่ใช่
กรมไปรษณีย์โทรเลข) จุดนี้เน้นลูกค้าชาวต่างประเทศ ที่ซื้อหาไปเพื่อการสะสมเท่านั้น แต่ถ้าคนไทยจะไปซื้อก็คงได้ เข้าใจ
ว่าจุดจำหน่ายตรงนี้ จะประทับตราด้านหลังด้วยตรายางสีน้ำเงินเป็นตราควบคุมว่า กรมพระคลังมหาสมบัติ ตรวจแล้ว
ตามรูปประกอบด้านบน
๒. สำนักงานภายในดุสิตธานี เมืองจำลองหรือนครรัฐอิสระเล็กๆ ภายในกรุงเทพฯ (คล้ายกับนครรัฐวาติกันในกรุงโรม ประเทศ
อิตาลี) จุดนี้เน้นลูกค้าที่เป็นคหบดีหรือขุนนางผู้มีทรัพย์ในกรุงเทพฯ ในจุดนี้คงมีสำนักงานทำหน้าที่คล้ายสำนักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ตรงนี้จะประทับตราด้านหลังด้วยตรายางสีน้ำเงินเป็นตราควบคุมว่า ดุสิตราชธานี เป็นตราเล็กๆ
ตามรูปประกอบด้านบน
๓. กองอำนวยการซ้อมรบของกองเสือป่าที่ค่ายหลวง (เขตท้องที่อำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง ของจังหวัดราชบุรี ใน
ปัจจุบัน) จุดนี้เน้นลูกค้าที่เป็นคหบดีหรือขุนนางท้องถิ่นในแถบนั้น ในจุดนี้เข้าใจว่าขายภายในค่ายหลวง (ไม่ใช่ขายที่ไปรษณีย์)
ตรงนี้จะประทับตราด้านหลังด้วยตราเหล็กสีดำเป็นตราควบคุม ซึ่งเป็นตราประจำวันของไปรษณีย์บ้านโป่ง (สมัยนั้นไปรษณีย์
โพธารามยังไม่ได้จัดตั้ง) ตามรูปประกอบด้านบน

หมายเหตุ อาจเป็นไปได้ว่า อาจจะพระราชทานให้เป็นของที่ระลึกกับผู้บริจาคหรือผู้สนับสนุนกิจการเสือป่าด้วย ยังมี
เกร็ดเล่ากันว่า มีพี่น้องคหบดีชาวบ้านโป่ง ๒ คน เป็นผู้อุปถัมภ์ด้านเสบียงแก่กองกำลังเสือป่าอยู่เป็นนิตย์ ถึงกับทรงพระราช
ทานบรรดาศักดิ์ให้ด้วยแต่เป็นกิตติมศักดิ์ ๒ พี่น้องคู่นั้นคือนายกิมเลี้ยง วังตาล อีกคนจำชื่อไม่ได้ ได้รับพระราชทานบรรดา
ศักดิ์เป็น หลวงศาลเทพกิจ และ หลวงสิทธิ์เทพการ (กิมเลี้ยง) ในปัจจุบันตระกูลวังตาล นับเป็นตระกูลคหบดีเก่าของแถบ
บ้านโป่ง กาญจนบุรี ฯลฯ

ขอขอบคุณ http://www.siamstamp.com/forum/index.php?topic=336.msg16818



คำสำคัญ (Tags): #scouting for boys
หมายเลขบันทึก: 275705เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผมทำงานไปรษณีย์ครับ

จากรวบรวมคำสั่งกรมไปรษณีย์โทรเลขลงวันที่ 15 ธันวาคม 2463

มหาอำมาตย์ตรี พระยาสวัสดิ์วรวิถี รั้งการแทนตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขคำสั่งที่ 69/2463 เรื่องให้ที่ทำการไปรษณีย์ทั้งหลายช่วยจำหน่ายตราไปรษณียากรบำรุงเสือป่า มี 7 ราคา

2/3/5/10/15/25/50 ขายราคาดังนี้

5/3/5/10/15/25/80 คิดราคาส่วนต่างเอง

ในคำสั่งมีรายละเอียดมา

การบริหารจัดการ กระทรวงคมนาคม บริหารดำเินินการ เรื่องการจัดการการเงิน กระพระคลังมหาสมบัติดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 แล้วครับ

รายละเอียดเรื่องต่างๆโดยเฉพาะอยุทธยา ย่าศึกษามากที่แฝงอยู่ในคำสั่งกรมไปรษณีย์โทรเลข แม้กระทั้งการแยกผักไห แยกเสนา

และแทบทุกเรื่องต้องขอโปรดเกล้า ทั้งหมด เรื่องฝึกลูกเสือ เสือป่า จนกระทั้ง ให้ พลทหารเสือป่า ไปฝึกซ้อมในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ ร.6 ยังมีคำสั่งมากมายครับ

ผมทำงานไปรษณีย์ครับ

มาอีกรอบ ขอแก้ไขราคา ที่ขายเอาส่วนต่าง

ชนิดราคา 2 สตางค์ ขาย 5 สตางค์ บำรุงเสือป่า 3 สตางค์

- 3 - 5 - 2 -

5 10 5

10 15 5

15 20 10

25 50 25

50 80 30

เรื่องราวต่างๆเกียวกับประวัติศาตร์การสื่อสารโทรเลข

การได้ดินแดนตั้งที่ทำการใหม่ การเสียดินแดน ในคำสั่งกรมไปรษณีย์มีมากมายครับ

การวางสายโทรเลข จากวังไปบางปอิน ต่อมาเป็นกางวางสายโทรศัพท์สมัย ร.6

การให้นายไปรษณีย์รับเสด็จ เพราะยุคนั้นถือว่าโทรเลขเป็นสื่อสารที่รวดเร็วที่สุด

การเสียดินแดน ช่างสำรวจ ม.ปาลวี ชาวฝรั่งเศศตัวแซบ ที่เข้ามา สมัย ปลาย ร.

ปัญหาการปกครองมากมาย กับการเสียดินแดนบูรพา มีในคำสั่งกรมฯ

ผมเข้าใจว่าในอดีตนั้นหน่วยงานนี้สำคัญมากๆ

เรื่องแสตมป์ชุดแรกๆ สมัยร. อยู่ที่กรมวังครับ

ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงที่ให้ข้อมูลข้างต้น เป็นประโยชน์มากเลยครับ ผมขอเป็นวิทยาทานนำไปเผยแพร่ในการอบรมครูและนักเรียน และขอน้อมรับข้อเสนอแนะ และเกร็ดความรู้ที่ท่านจะเอื้อประโยชน์ให้ กราบมาด้วยความเคารพ

ที่บ้านมีสแตมป์นี้ด้วยค่ะ เป็นของปู่ทวดเก็บไว้นานมาก ค้นเจอสมุดสะสมสแตมป์ที่ห้องเก็บของ โหเพิ่งรู้ว่ามันหายาก !!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท