ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

MQ ( Moral Quotient ) ความฉลาดในการทำความดี ( MQ ) 2


การตัดสินถูก ผิด ควร ไม่ควร มาจากวิจารณญาณของตนเอง

มีทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางจริยธรรมที่น่าสนใจอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม 6 ขั้นของ รอเลนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrance Kolhberg)

ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional)

1 : การลงโทษและการเชื่อฟัง : เด็กจะใช้ผลของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่าตัวเองทำ ถูก หรือ ผิด เช่น ถ้าเด็กถูกลงโทษ จะคิดว่าสิ่งที่ทำนั้น ผิด ไม่ดี และพยายามเลี่ยง แต่ถ้าทำแล้วได้ รางวัล หรือ คำชม เด็กจะคิดว่า สิ่งที่ทำไปนั้น ถูกต้อง ดีแล้ว และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

2 : กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน : เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับเพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตัว หรือทำดีเพราะอยากได้ของตอบแทน ยังไม่คิดถึงความยุติธรรมหรือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น แต่มักเป็นการแลกเปลี่ยนเช่น ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้...

ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม (Conventional)

3 :ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ "เด็กดี" : เป็นพฤติกรรมของ คนดี ตามความคาดหวังของพ่อแม่หรือเพื่อนวัยเดียวกัน คือไม่ทำผิด เพราะกลัวพ่อแม่เสียใจ

4 : กฎและระเบียบ :คนดีในขั้นนี้คือ คนที่ปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎหมาย ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม

จริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ของสังคม (Post-conventional level)

คนอายุ 20 ปีขึ้นไปจะมีจริยธรรมในระดับนี้ การตัดสินถูก ผิด ควร ไม่ควร มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจเหนือกว่าหรือกลุ่ม

5 : หลักการทำตามคำมั่นสัญญา : ให้ความสำคัญกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนในสังคมส่วนใหญ่ ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

6 : หลักการคุณธรรมสากล : เป็นหลักเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาค และเพื่อความยุติธรรม ของมนุษย์ทุกคน ถูก ผิดในขั้นนี้ขึ้นอยู่กับมโนธรรมที่แต่ละคนยึดถือ

หมายเลขบันทึก: 275660เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เข้ามาอ่าน หลายๆ Q ของ ตาเหลิม แล้วก็อึ้งคะ
  • มีความรู้เรื่อง Quotient มากขึ้นเลยคะ
  • หลังที่รู้ว่า Q ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยม (และเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ Q หลายๆ วงการ)
  • แล้วจะแวะมาอ่านเพิ่มเติมความรู้ของตัวเองอีกนะคะ
  • *_*

พี่ itom ครับ ผมคงไม่บังอาจมีความรู้ไปมากกว่าหรอกครับ 

แบ่งปันกัน อ่านเล่น เรียนรู้ ลองดู ลองใช้

เผื่อจะช่วยให้เกิดความรู้ฝังแน่น ไปปรับใช้กับพี่น้องลูกหลานได้

 

     แวะมาขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ คะ ไว้จะลงมือทำดู ผลจะออกหมู่หรือจ่า จะกลับมาเล่สู่ฟังคะ
P
4. itom
เมื่อ อา. 12 ก.ค. 2552 @ 19:18
1405406 [ลบ] [แจ้งลบ]

  • *_*
  • รู้สึกยินดีมากๆ ที่มีตาเหลิม มาให้แนวคิดและแสดงความคิดเห็น เรื่องนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองที่ดี
  • คิดว่าคำแนะนำใน blog ที่ 2 น่าสนใจมาก โดยเฉพาะการเข้าไปคุยกับเด็ก และขอบใจมากๆ สำหรับข้อแนะนำเรื่อง  ...ควรเริ่มต้น สร้างความไว้วางใจกับเด็กได้เลย... คิดตรงกัน  และขอบใจสำหรับคำแนะนำทุกขั้นตอน เมื่อลงมือทำ จะสามารถ  ...ได้ทราบอยู่ห้าเรื่อง ก็คือ เรื่องตัวตนของเขา, เรื่องครอบครัว, เรื่องชุมชน, เรื่องกิจกรรม-เพื่อน, เรื่องการศึกษา และความสนใจในอาชีพ...
  • เป็นคำแนะนำที่ดีมากจริงๆ คนที่เป็น "ครู" ต้องสามารถรวบรวมข้อมูลของเด็กเพื่อทราบสาเหตุพฤติกรรม อันนำไปสู่การหวิธีช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง พร้อมกับคำแนะนำ ...เด็กคนนี้อาจจะรู้สึกว่า โดนเพ่งเล็ง และจู่โจม จากพี่ไปแล้ว และรู้สึกว่า เกิดการใช้อำนาจเหนือกว่า ซึ่งเค้าอาจจะไม่ได้ต้องการแบบนั้น... ขอบคุณจริงๆ คะ ที่เตือนไว้ล่วงหน้า พร้อมการันตีว่า ผ่านการปรึกษานักจิตวิทยามาแล้ว...
  • ต้องใช้เวลาลองพิสูจน์ทฤษฎีนี้ดูคะ ไว้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็จะมาเล่าสู่ฟังอีกก็แล้วกันนะคะ
  • และสำหรับ Blog ที่ 3 สงสัยจะคิดมากไปเองคนเดียวจริงๆ ตามหลักการ คือ "ไม่ควรคิดแทนคนอื่น" จริงไหมคะ
  • ชื่นชมคนทำงานด้านสิทธิเด็กเลยคะ เข้าใจเด็กได้ในหลายๆ มิติ ถ้าได้ตาเหลิม เป็นที่ปรึกษาด้านปัญหาเด็กท่าจะดีมากเลยนะคะเนี่ย ...

คนอายุ 20 ปีขึ้นไปจะมีจริยธรรมในระดับนี้ การตัดสินถูก ผิด ควร ไม่ควร มาจากวิจารณญาณของตนเอง ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจเหนือกว่าหรือกลุ่ม

อันนี้มันดีหรือไม่ดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท