จับประเด็นร้อนเกี่ยวกับการพัฒนานโยบาย


เรียนรู้เรื่องการพัฒนานโยบายกับความไม่รู้

       จับประเด็นร้อนเกี่ยวกับการพัฒนานโยบาย   โดย   nidnaka                  

 

         การศึกษาวิชานโยบายนั้นดูเป็นเรื่องที่ง่ายแต่แฝงด้วยคำถามที่เกิดขึ้นในใจถึงความไม่ชัดเจนแต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญสิ่งสำคัญที่สุดคือทำอย่างไรจึงจะหาข้อสรุปนิยามศัพท์ในเนื้อหาวิชาและสามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  เนื้อหาวิชาอันทรงคุณค่าและมีประโยชน์ เป็นสิ่งที่ผู้เรียนควรตระหนักและเกิดการเรียนรู้จนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกิดการตกผนึกทางความคิด จนสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันน่าจะเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากกว่า

       การพัฒนานโยบายเป็นสิ่งที่จำเป็นและนำไปสู่การปฎิบัติ นิยามของคำว่าพัฒนานโยบายหมายถึงอะไร คำว่าพัฒนานโยบาย ประกอบด้วยคำประสม2คำคือ  พัฒนา  กับนโยบายซึ่งคำว่าพัฒนาหมายถึงการทำให้ดีขึ้น นโยบาย  คือ  คำ2 ส่วนอันประกอบด้วย นย+อุบาย นยแปลว่าข้อความที่เข้าใจได้ อุบาย แปลว่า วิธีการอันแยบคาย ดังนั้นนโยบายจึงมีความหมายว่า วิธีการที่คิดอย่างละเอียดและเข้าใจได้เองการพัฒนานโยบายเมื่อผ่านการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์แล้วก็คือการทำวิธีการที่คิดอย่างละเอียดให้ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น

        แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายของอมร  รักษาสัตย์  ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าต้องมีปัญหากมีกระบวนการแก้ปัญหาคือการวิเคราะห์ทางออกก่อนจะเลือกนโยบายนั้น แสดงว่าการพัฒนานโยบายจะต้องมีกระบวนการในแต่ละขั้นตอนคือการนำนโยบายไปปฏิบัติและทำการประเมินผลว่าดีหรือควรปรับปรุงแก้ไข

ในขั้นตอนการวิเคราะห์ จึงต้องมีตัวแบบในการนำมาใช้เป็นเครื่องมือ การก่อตัวนโยบาย  กระบวนการนโยบายและการประเมินผลนโยบายคือองค์ประกอบในขั้นตอนการวิเคราะห์นโยบายความสับสนของคำศัพท์เหล่านี้เรียกว่าเป็นความยากที่อยู่ในความง่าย  สรุปความหมายของการพัฒนานโยบายจึงหมายถึงกระบวนการศึกษาวิเคราะห์วิจัยระบุปัญหา ระบุทางเลือกของนโยบาย กำหนดโครงสร้างของนโยบายจนกระทั่งร่างเป็นนโยบายโดยมีปัจจัยในการพัฒนานโยบายดังนี้

   1.เป้าหมายของหน่วยงาน

   2. มีความรับผิดชอบต่อส้งคม

  3. โครงสร้างของหน่วยงาน

   4. นโยบายของหน่วยงานที่เป็นอยู่

   5. สภาพแวดล้อมของหน่วยงาน

    กระบวนการนโยบายจึงเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานโยบาย

         สรุป  การศึกษาในเรื่องการพัฒนานโยบาย จึงต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้า การเรียนรู้การวิเคราะห์สังเคราะห์และการเปิดใจยอมรับในสิ่งใหม่ๆ  ความมีสมาธิ  ไม่ว่าการกระทำกิจกรรมใดๆในชีวิต  สิ่งที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จ คือหลักธรรมที่เรียกว่าอิทธิบาท 4  คือ ฉันทะความพอใจ  วิริยะ  ความเพียรพยายาม

จิตตะคือความเอาใจใส่ และวิมังสาคือ  การรู้จักปรับปรุง ตรวจสอบ อยู่เสมอ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 275628เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท