หัดบอกเขาว่า "เราไม่รู้..."


 

การทำงานเกือบขวบปีที่ผ่านมานั้น เราถูกพร่ำ ถูกสอนให้พูดคำว่า “เราไม่รู้” อยู่เสมอ
กลยุทธ์ในการจัดการความรู้ คือ การบอกกับเขาว่า “เราไม่รู้” ซึ่งนั่นคือ “ความจริง”

เราต้องการความรู้เรื่องใด เราอยากรู้เรื่องใด เราจะ “จัดการความรู้” เรื่องใด เราต้องบอกเขาว่า “เราไม่รู้”


“ตอนนี้เรากำลังทำงานเรื่องนี้อยู่ เราเองก็ไม่มีความรู้ จะทำอย่างไรดีน๊อ...?”
หลาย ๆ ครั้งที่เราได้รับมอบหมายงาน พร้อมกับมอบหมายนโยบายซึ่งเป็นเทคนิคการจัดการความรู้ที่ทรงคุณค่า

ช่วงแรกเราถูกสอนให้เล่าความเป็นมาเป็นมาของงาน เล่าให้เขาฟังโดยละเอียด
เช่น ตอนสร้างเมรุฯ นี้ก็บอกเขาว่า

"เมรุฯ หลังนี้ เป็นเมรุฯ เพื่อการกุศล เผาฟรี ไม่ได้เก็บสตางค์
จากนั้นจึงเล่าให้เขาฟังต่อว่า ตอนนี้เรากำลังจะติดตั้ง “สายล่อฟ้า” เราเองก็ไม่มีความรู้ ทำอย่างไรให้เมรุฯ หลังนี้ปลอดภัยจากฟ้าผ่าดีน๊อ..."

ทุก ๆ ครั้งเมื่อกล่าวนำเช่นนี้ ความรู้จากคู่สนทนานั้นจะเกิด จะมี จะพรั่งพรูจากปากของเขาสู่หูของเรา

ถ้าเราหยิ่ง เราทะนง ว่าเรารู้ เขาก็ไม่บอกความรู้อันเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของเขา
ถ้าเราอ่อนน้อม ถ่อมตน บอกเขาไปตรง ๆ ว่าเราไม่รู้ เขาก็จะเต็มที่ เต็มใจ ที่จะบอก จะ “สอน” ประสบการณ์อันเป็น “ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge)” ที่เขาเคยผิด เคยพลาด เคยล้ม เคยลุก บอกมาให้กับเราโดยไม่เสียดาย

หากรู้จักพูดว่า “เราไม่รู้” เราจะมีความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้อีกมาก...

คำสำคัญ (Tags): #ความไม่รู้
หมายเลขบันทึก: 275210เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับท่าน สุญญตา จริงด้วยครับที่เราบอกว่ารู้แล้วๆ จริงๆแล้วยังไม่รู้ รู้ไม่หมด

"ถ้าเราหยิ่ง เราทะนง ว่าเรารู้ เขาก็ไม่บอกความรู้อันเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของเขา"

 ขอบคุณที่เตือนความคิด ที่คิดว่าเรารู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท