การจัดการความรู้ในสถานศึกษา:43


“ผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นเรื่องสำคัญของกระบวนการจัดการเรียนรู้”

ความสุขของครูอยู่ที่นักเรียนเป็นสำคัญ

 

วันนี้สอนวิชาคอมพิวเตอร์นักเรียนชั้นม.2/4 เรื่องของหลักการคำนวณพื้นฐาน โดยการยกตัวอย่างโดยให้นักเรียนออกแบบโปรแกรมการคำนวณเงินเดือน ซึ่งมีการหักภาษีร้อยละ 7 จากเงินเดือนจริง หลังจากการอธิบายหลักการคิดคำนวณแก่นักเรียนทั้งห้องไปแล้ว ก็ให้นักเรียนทดลองเขียนสูตรการคำนวณ โดยการสุ่มถามนักเรียน 3-4 คน มีนักเรียน 2 คนที่ตอบได้ใกล้เคียง โดยนักเรียนทั้งสองคนตอบ ตามหลักการคำนวณยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์นัก ก็บอกนักเรียนไปว่า เป็นคำตอบที่ถูกต้องเพียง 80 %

 

ขณะเดียวกันเหลือบไปเห็นเด็กชายวรพงษ์  กำลังคุยกับเพื่อนอยู่

 

ซึ่งโดยสัญชาติญาณของครูโดยทั่วไป ก็คงคิดเช่นเดียวกันกับผมว่าถามเด็กชายวรพงษ์    เด็กชายวรพงษ์ก็คงตอบไปได้แน่นอน

แต่ก็ต้องถามเพื่อหยุดการพูดคุยของเด็กในขณะนั้น

และก็ไม่ผิดไปจากที่คาดการไว้

เด็กชายวรพงษ์ ตอบไม่ได้จริง ๆ เพราะมัวแต่คุยกับเพื่อนอยู่

ก็เลยบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก ครูเพิ่งถามเธอเป็นครั้งแรก แต่ครั้งต่อไป เธอคงมีคำตอบที่ดีกว่านี้ แทนคำตอบ ไม่ทราบครับ””

ก็กลับมาชี้ประเด็นของคำตอบของสุพัตราและอินทุอร ว่าทำไมคำตอบของทั้งสองคนจึงถูกต้องเพียง 80 % ว่าเป็นเพราะทั้งสองคนใช้หลักการคำนวณของวิชาคณิตศาสตร์เท่านั้น ไม่ใช่หลักการคำนวณโดยการใช้โปรแกรมการคำนวณด้วยเอ็กเซล

ซึ่งจะต้องใช้การคำนวณโดยการอ้างอิงเซลล์เป็นหลัก ไม่ใช่นำตัวเลขในเซลล์มาคำนวณเลย เช่น เซลล์ c2 มีค่าเป็น 5700 หักภาษีออกร้อยละ 7

สูตรในการคำนวณก็ควรเขียนได้ว่า =c2*7%

ไม่ใช่ =5700*7% หรือ = 5700*7/100 ซึ่งเป็นหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์เท่านั้น

ก็ลองให้ทั้งสองคน ทดลองเขียนสูตรการคำนวณอีกครั้ง ปรากฏว่าทั้งสองสามารถเขียนสูตรได้ถูกต้อง

หันไปเห็นเด็กชายวรพงษ์ กำลังมองมาที่ครูอยู่พอดี ก็เลยให้วรพงษ์ทดลองเขียนดูบ้าง ปรากฏว่าวรพงษ์เขียนได้ถูกต้องเช่นเดียวกัน

ก็เลยแสดงความชื่นชมไปว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ดีมากเลย (อยากชื่นชมจริง)

วรพงษ์ยิ้มหน้าบาน

สังเกตดูปฏิกิริยาเพื่อน ๆ ในห้องส่งเสียงฮือฮา กับวีรกรรมของวรพงษ์ ก็คิดในใจว่าเด็นคนนี้คงไม่เบา

เมื่อสุดท้ายให้นักเรียนคิดเงินเดือนสุทธิที่ได้รับจริง ก็ทดสอบถามนักเรียนให้เขียนสูตรอีกครั้ง

สุพัตราและอินทุอรก็ยกมือขอตอบทั้งคู่ และก็แปลกทั้งคู่ยังคงใช้หลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์มาใช้เขียนเช่นเดิม (สงสัยครูอธิบายไม่ได้เรื่อง)

 

ก็ถามซ้ำไปว่ามีใครสามารถให้คำตอบที่สมบูรณ์ ถูกต้องกว่านี้บ้าง

มองไปทั่วห้อง  นักเรียนก้มหน้า เงียบทั้งห้อง!!!

 

ท่ามกลางความเงียบ เด็กชายวรพงษ์ยกมือขึ้นแล้ว ลุกขึ้นตอบ สิ้นคำตอบทั้งห้องเงียบลงไปอีก เพื่อน ๆก็คงลุ้นว่าครูจำตอบว่าอย่างไร

 

เป็นคำตอบที่ยอดเยี่ยมมาก วรพงษ์ ครูไม่คิดเลยว่าคำตอบครั้งที่สามของเธอจะยอดเยี่ยมขนาดนี้ เป็นคำตอบที่ถูกต้อง และสุดยอดสำหรับครูมาก ๆ เลย

 

วรพงษ์หน้าบานยิ่งกว่าครั้งที่สอง เพื่อน ๆปรบมือเสียงดังทั้งห้องโดยที่ครูไม่ได้บอก

 

หลังจากนั้น เมื่อครูอธิบายเรื่องอะไร ก็รู้สึกว่านักเรียนทุกคนมีความตั้งใจมากยิ่งขึ้น สนใจเรียนมากขึ้น

 

สังเกตดูเด็กชายวรพงษ์ ใบหน้ามีความสุข ใบหน้ามีรอยยิ้มตลอดชั่วโมง

พลอยทำให้ครูอย่างเรา อดยิ้มและมีความสุขไปกับนักเรียนด้วย

 

นี่กระมั่งที่เขาว่า ความสุขของครูอยู่ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

 

หมายเลขบันทึก: 275015เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • แบบนี้เด็กๆๆ
  • คงชอบเรียนมาก
  • เด็กบางคน
  • เรียนไม่เก่ง
  • แต่เขาต้องมีเรื่องที่เขาเก่งอยู่บ้างครับ
  • มาให้กำลังใจครับผม
  • รอดูกิจกรรม world cafe' ของคุณครูโรงเรียนบ่อไร่
  • เย็นวันที่ 23 กค อยู่ตราดแล้ว
  • มีอะไรให้ช่วยไหม
  • 24 อยู่เมือง 25-26 อยู่เกาะช้างครับ

แวะมาก่อนจะสวดมนต์เข้านอน ก็เลยได้อ่านเรื่องราวท่จะทำให้นอนหลับฝันดีคืนนี้นี่ล่ะครูfaสร้างสุขตัวจริงเสียงจริง วินัยเชิงบวกตัวเป็นเป็นเชียวล่ะค่ะ ครูแมวขอกราบคารวะ

เข้ามาชื่นชมด้วยใจจริงครับ กับ การจัดการเด็กชายวรพงษ์

สวัสดีครับท่านรองฯวิชชา ครุปิติ

ก็ต้องขอบคุณท่านรองฯ ครับที่สร้างสรรค์โอกาสให้ได้มีโอกาสเรียนรู้เชิงบวกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท