ยูบิควัตัส : เทคโนโลยี On Mobile


เทคโนโลยี On Mobile สำหรับการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

เทคโนโลยี On Mobile สำหรับการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

         ยูบิควิตัส หมายถึง

  เทคโนโลยี......ในการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

ยูบิควิตัส  (Ubiquitous) เป็นคำภาษาลาตินมีความหมายว่าทุกหนทุกแห่ง ส่วนเทคโนโลยียูบิควิตัสนั้นมีความหมายถึง
เทคโนโลยีอัจฉริยะ (intelligent technology) เทคโนโลยีการสื่อสารในทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการสื่อสาร
ในรูปแบบใหม่ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ทำการสื่อสารได้ไม่เพียงแต่กับมนุษย์ด้วยกันเองหากแต่ยังสามารถทำการสื่อสาร
กับสิ่งของในสภาพแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นฝาผนัง ห้องนอน สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้นว่า ตู้เย็นฝังไมโครชิปขนาดจิ๋วที่เชื่อ
มต่อกับอินเตอร์เน็ตจะบอกกับเราว่ามีของอะไรในตู้เย็นที่ใกล้จะหมดลงและสามารถสั่งของมาเพิ่มได้ทันทีที่ของในตู้เย็นหมด ก็อก
น้ำพร้อมจะให้บริการน้ำไหลเพียงแค่นำมือไปรองไว้ใต้ก็อกน้ำ เตาไฟฟ้าสามารถจำแนกภาชนะเครื่องครัวออกจากมือมนุษย์หรือสิ่ง
ของอื่นๆโดยจะเริ่มทำงานเมื่อมีการนำหม้อหรือกะทะไปวางบนเตาและจะหยุดทำงานเมื่อเราวางมือหรือสิ่งของอื่นลงเหนือเตาฯลฯ
เริ่องราวที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี ICT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Communication Technology)รวมทั้งการพัฒนาระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio
Frequency Identification )ที่ปัจจุบันพัฒนาจนมีขนาดเล็กลงกว่าเมล็ดข้าวสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษหรือฝัง
ในเนื้อสัตว์ได้ จึงมีการนำระบบนี้มาใช้กันในงานหลายประเภทเช่น บัตรประจำตัว ฉลากสินค้า บัตรเอทีเอ็มฯลฯ ชิวิตมนุษย์ในโลก
ยุคใหม่จะผสานกันกับเทคโนโลยีๆจะผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชิวิตมนุษย์โดยที่เราอาจไม่ได้รู้สึกตัวเลย

          ชีวิตในโลกที่เทคโนโลยีได้แทรกเข้ามาป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันนี้ ฟิลิป เค ดิค(Philip K. Dick) นักเขียนนวนิยายเชิง
วิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันได้บรรยายไว้เมื่อ 38 ปีก่อน (ค.ศ.1969) ในหนังสือเรื่อง “ยูบิค” (Ubik ) เขาได้มองเห็นถึงโลกแห่ง
อนาคตของมวลมนุษย์และอิทธิพลแห่งของเทคโนโลยี ต่อมาในปีค.ศ.1984 ศาสตราจารย์ เค็น ซะคะมุระ (Ken Sakamura)
แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น ได้ดำเนินโครงการวิจัยที่ชื่อว่า“โครงการตรอน” (TRON Project) ตามโครงการนี้
ศาสตราจารย์ ซาคามูระ ได้ทดลองสร้างบ้านอัตโนมัติขึ้น โดยบ้านอัตโนมัติหลังนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ ดังเช่น ในกรณีที่มี
ผู้บุกรุกเข้ามาภายในบ้านจะมีการส่งข้อความเตือนไปยังเจ้าของบ้าน และในปีค.ศ. 1991 มารค์ ไวเซอร์ (Mark Weiser ) แห่ง
ศูนย์วิจัย พาโล อัลโต (Palo Alto) ของบริบัท ซีรอกซ์ (Xerox) ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเขาได้มีแนวคิดเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี1988
ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานที่ชื่อว่า“คอมพิวเตอร์สำหรับศตวรรษที่21” (Computer for 21st Century ) และได้ให้ความหมาย
ของยูบิควิตัสคอมพิวติ้ง (Ubiquitous Computing)ไว้ว่า“ เราสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนแห่งทุกสภาพแวดล้อมที่
สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด” มารค์ไวเซอร์ยังได้กล่าวถึงจุดสูงสุดของระบบคอมพิวเตอร์
ไว้ด้วยว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะสามารถทำการสื่อสารกับมนุษย์ได้และยังได้กล่าวถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีไว้ว่าคืออิทธิพลที่มากที่สุด
คือการที่เราจะไม่ได้รู้สึกถึงมันเลยเพราะสิ่งนี้ได้ถักทอเป็นเนื้อเดียวกับกับชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว
           สามทศวรรษหลังจากที่ผู้บุกเบิกสังคมยูบิควิตัสทั้ง3ท่านได้ให้วิสัยทัศน์ไว้ สังคมยูบิควิตัส...สังคมแห่งโลกอนาคตก็เริ่มต้น
ปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้น ในสังคมยุคใหม่นี้เครือข่ายดิจิทอลเช่นอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีดาวเทียมได้เข้ามาช่วยเชื่อมโยง
ประชาคมชาวโลกให้สื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน ไร้กาลเวลา อีกทั้งพัฒนาการรุ่นที่3ของโทรศัพท์เคลื่อนที่(3G)ก็ทำให้โทรศัพท์
เคลื่อนที่เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันมากกว่าการมีไว้ใช้พูดคุยกันเท่านั้น ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้นิยมใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ๆ พวก
เขาเรียกว่า“เคไต” (keitai) มาทดแทนการใช้คอมพิวเตอร์เพราะเคไตนี้สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่คอมพิวเตอร์ทำได้ สมมติว่า
เรากำลังอยู่ที่สนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และต้องการที่จะสอบถามเส้นทางเข้าเมือง ชาวญี่ปุ่นจะก้มหน้าก้มตาค้น
หาข้อมูลจากเคไตและภายในชั่วพริบตาเขาจะโชว์แผนที่พร้อมทั้งตำแหน่งที่เราอยู่ในปัจจุบันรวมไปถึงตารางรถไฟหรือรถโดยสาร
ประจำทาง เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นแต่ในนวนิยายวิทยาศาสตร์ของมารค์ ไวเซอร์เท่านั้นแล้ว แต่เป็นปรากฏการณ์
จริงในสังคมบางแห่งเช่นญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา และกำลังจะเป็นแนวโน้มใหม่แห่งโลกอนาคต
          สำหรับประเทศญี่ปุ่น ในปีค.ศ. 2004 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศนโยบายนำประเทศเข้าสู่สังคมยูบิควิตัสหรือยู-เจแปน
(u-Japan) ในปีค.ศ.2010หรืออีกเพียง3ปีข้างหน้าและได้จัดตั้งคณะทำงานภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงกิจการภายในและ
การสื่อสาร (Ministry of Internal Affairs and Communications) เพื่อดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวโดยประกอบด้วยนักการ
เมือง นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนักธุรกิจ

           การที่สังคมจะพัฒนาเข้าสู่สังคมยูบิคได้ตามความมุ่งหวังหรือไม่นั้นขึ้นกับองค์ประกอบของการมีเทคโนโลยีระดับสูงที่แพร่
หลาย จำนวนประชากรมีขนาดใหญ่และมีฐานะทางเศรษฐกิจในการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมทั้งมีความรู้ความสามารถในการใช้
เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นๆด้วย ปัจจุบันในสังคมญี่ปุ่นมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเคไตนี้เป็นจำนวนมากกว่า 86 ล้านคน จากจำนวน
ประชากรทั้งหมด 127 ล้านคน และในจำนวนนี้ร้อยละ 89 ใช้เคไตสำหรับอินเตอร์เน็ตโดเป็นประจำทุกวันโดยใช้ในการรับ-ส่งอี-เมล์
การอ่านข่าวสาร การเช็คตารางรถไฟหรือรถโดยสารประจำทาง นอกจากนี้ยังใช้ในการเล่นเกมส์ ดูหนังฟังเพลงฯลฯ พวกเขา
เพลิดเพลินกับการใช้เคไตและเทคโนโลยีใหม่ๆแม้ว่าจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนเท่าใดนักแต่พวกเขาก็รู้ว่าจะ
ใช้สิ่งประดิษฐ์เหล่านั้นอย่างไรเพราะธุรกิจได้มาช่วยทำให้การใช้สะดวกง่ายขึ้นประกอบกับทางราชการห้างร้านก็พยายามเผยแพร่
ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งใหม่ๆ ทางภาครัฐบาลก็ได้ให้การลงทุนพัฒนาเครือข่ายให้ครอบคลุมและสนับสนุนการวิจัยพัฒนา
เทคโนโลยียูบิควิตัสอย่างต่อเนื่องโดยมีศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ด้านภาคเอกชนธุรกิจรายใหญ่เช่นบริษัทพานาโซนิค โซนี่
โตโยต้า ฟูจิซึฯลฯต่างก็มีศูนย์วิจัยของตนเองและได้ดำเนินการศึกษาพัฒนาในเรื่องของเทคโนโลยียูบิควิตัสกันมาเป็นเวลาหลายปี
แล้วเช่นที่บริษัทโตโยต้าได้พัฒนาเครื่องนำทาง (navigator) ระบบการเตือนการหลับเวลาขับยานยนต์และบ้านยูบิควิตัสที่มีชื่อว่า
พีเอพีไอ(PAPI) http://www.toyotahome.co.jp/papi ในบ้านหลังนี้อุณหภูมิจะมีการปรับเองตามความเหมาะสม เสียงเพลงจะ
ดังขึ้นเบาๆยามตื่นนอน ไฟฟ้าในห้องต่างๆจะเปิด-ปิดโดยอัตโนมัติ และทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะเกิดในสังคมยูบิควิตัส ณที่ซึ่งเทคโนโลยี
การสื่อสารมีในทุกที่ทุกเวลา คำว่ายูบิควิตัสจึงนับว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่ช่วยให้เราเห็นถึงโลกแห่งอนาคตที่สังคมมนุษย์ชาติกำลัง
เดินทางไปสู่...

ที่มา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/6-51(500)/page1-6-51(500).html

 

หมายเลขบันทึก: 274962เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท