อีกวิธีที่ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าของแอร์ที่บ้าน


ในแง่ของความเย็นถ้าความเร็วลมที่มาสัมผัสกับผิวหนังเราเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมก็จะช่วยพาความร้อน (และความชื้น) ที่ผิวหนังเราไปได้มากขึ้น ทำให้เรารู้สึกได้ว่าอากาศเย็นลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันการตั้งอุณหภูมิที่แอร์ให้สูงขึ้นก็ช่วยให้คอมเพรสเซอร์มีชั่วโมงการทำงานลดลงซึ่งหมายถึงค่าไฟฟ้าที่ลดลงนั่นเอง

แอร์ในที่นี้ไม่ใช่แอร์โฮสเตสนะครับ แต่เป็นแอร์ที่ทำความเย็นให้กับห้องนอนห้องนั่งเล่นของเราๆท่านๆนี่แหละครับ วิธีที่ผมจะแนะนำนี้ปัจจุบันส่วนตัวนั้นก็ทำอยู่แล้วและคิดว่าช่วยได้จริงกับค่าไฟฟ้าที่ลดลงและยังได้ความสบายเหมือนเดิมครับ เลยขอนำมาแบ่งปันกันตรงนี้ ใครเห็นด้วยก็ลองนำไปใช้ ส่วนใครไม่เห็นด้วยและพอใจกับแบบเดิมก็ไม่ว่ากันครับ อันนี้เป็นสิทธิ (ค่าใช้จ่าย) ส่วนบุคคลครับ

ไม่มีอะไรมากครับถ้าหากที่บ้านของท่านมีพัดลมตั้งโต๊ะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ (ที่ไม่ได้ใช้งานในช่วงที่เปิดแอร์นอน) ก็เอามาใช้โดยเปิดไปพร้อมกับแอร์น่ะแหละครับ จะเปิดเบอร์ไหน ส่ายหัวหรือไม่ส่ายหัวอันนี้แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน จากนั้นให้ปรับอุณหภูมิของแอร์ที่เทอร์โมสตัทหรือที่รีโมทจากปกติ 25-26 องศาเซลเซียสเพิ่มขึ้นมาเป็น 27-28 องศาเซลเซียสดูครับ จากนั้นลองจับความรู้สึกดูว่าขณะที่เปิดพัดลมไปด้วยพร้อมกับเปิดแอร์ที่อุณหภูมิใหม่นี้เป็นอย่างไรบ้าง ถ้ารู้สึกว่าเย็นและสบายรับได้เหมือนเดิมก็ OK แล้วครับ ที่เหลือก็แค่ทำต่อเนื่องแบบนี้ทุกวันตามปกติแล้วสังเกตดูว่าค่าไฟฟ้าในใบเสร็จค่าไฟลดลงมาหรือไม่ (แต่ผมยืนยันว่าลดแน่นอนครับ ถ้าไม่มีเหตุอื่นๆจากการใช้ไฟฟ้าที่ผิดปกติแทรกขึ้นมานะครับ)

หลักการง่ายๆครับ ในแง่ของความเย็นถ้าความเร็วลมที่มาสัมผัสกับผิวหนังเราเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมก็จะช่วยพาความร้อน (และความชื้น) ที่ผิวหนังเราไปได้มากขึ้น ทำให้เรารู้สึกได้ว่าอากาศเย็นลงประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกันการตั้งอุณหภูมิที่แอร์ให้สูงขึ้นก็ช่วยให้คอมเพรสเซอร์มีชั่วโมงการทำงานลดลงซึ่งหมายถึงค่าไฟฟ้าที่ลดลงนั่นเอง และค่าไฟฟ้าในส่วนของคอมเพรสเซอร์ที่ลดลงนั้นหากเทียบกับค่าไฟฟ้าส่วนของพัดลมที่เพิ่มขึ้นมา ผมบอกได้เลยครับว่ามากกว่าแน่นอนที่ชั่วโมงเท่าๆกัน ดังนั้นประหยัดว่าชัวร์ครับ

แต่อย่างไรก็ตามหากผู้อ่านหรือคนที่บ้านเป็นคนขี้รำคาญ ชอบนอนเงียบๆ ไม่ชอบให้มีลมหรือเสียงลมมารบกวนในขณะนอนหลับ วิธีที่ว่านี้อาจจะไม่เหมาะสมนะครับ เพราะช่วยประหยัดได้ก็จริงแต่ถ้าทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงไปด้วยก็ไม่ควรทำจริงไม่ครับ แต่หากใครไม่ซีเรียสเรื่องนี้เพราะดันไปซีเรียสเรื่องค่าไฟฟ้ามากกว่าอันนี้ก็เอาไปทดลองทำดูได้เลยครับ สุดท้ายนี้อย่าลืมนะครับว่าการประหยัดไฟฟ้าที่ดีที่สุดคือใช้เท่าที่จำเป็นก็พอ และหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำด้วยนะครับ

                                             

 

หมายเลขบันทึก: 274478เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาทักทายคุณประพันธ์ . . . ขยันเขียนดีนะครับ . . . ผมจะนำำเทคนิคนี้ไปใช้เพื่อประหยัดค่าไฟครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท