ทำทุกวันอาจเพิ่มโอกาสได้ลูก


 

...

เมื่อก่อนคนที่มีลูกยากจะได้รับคำแนะนำว่า "วันเว้นวัน" หรือ "วันเว้น 2 วัน" ทำให้คุณภาพและปริมาณน้ำเชื้อ (อสุจิ - sperm) ดีขึ้น การศึกษาใหม่พบว่า ทำทุกวันน่าจะดี [ MailOnline ]

อ.เดวิด กรีนิง ( David Greening ) และคณะ แห่งซิดนีย์ IVF คลินิก ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชาย 118 คนที่มีปัญหาอสุจิบกพร่องที่รหัสพันธุกรรม (DNA) ให้ "ทำทุกวัน" 1 สัปดาห์

...

ผลปรากฏว่า อสุจิหรือสเปิร์มที่ผิดปกติลดลง 26%, ปริมาณตัวอสุจิค่อนไปทางสูง, แถมยังแหวกว่าย (จริงๆ คือ ดำน้ำกาม) ได้ดีขึ้น

ผู้ชายที่คาดว่า จะเป็นคุณพ่อตอน 30s (30-39) หรือ 40s (40-49) ปี ได้รับคำแนะนำให้ฝากอสุจิไว้ที่ธนาคารสเปิร์ม (ฝากแบบเผื่อเรียก)

...

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ผู้ชายบางคนมี DNA เสียหายบางส่วน... การ "ปล่อยมันออกไป" ช่วยกำจัดส่วนที่เสียหายนี้ไป และกระตุ้นให้เกิดการสร้างของใหม่ขึ้น

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกเริ่ม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุน หรือคัดค้านต่อไป

...

โอกาสมีลูกมักจะลดลงตามอายุ คู่สมรสที่มีอายุน้อยหรือแม้แต่วัยรุ่นที่ทำอะไรกันจึงมักจะติดลูกได้ง่าย

ประเทศในอาเซียนที่มีลูกค่อนข้างน้อยมี 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์กับไทย ทำให้มีความเสี่ยงต่อปัญหาประชากรลดลง หรือคนวัยทำงานน้อย-คนสูงอายุมาก ซึ่งจะทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอยที่ยืดเยื้อยาวนานได้ในอนาคต

...

ศัพท์ที่น่าสนใจ [ thai-language ]

  • ต้นฉบับตอนหนึ่งคือ 'Those trying the natural way are often told to make love every second day.' [ MailOnline ]
  • แปลว่า "คนที่พยายามใช้วิธีธรรมชาติ มักจะได้รับคำแนะนำให้ร่วมเพศ (to make love) วันเว้นวัน (every second day)"

...

สำนวนที่ใช้บอกว่า "ทุกวัน, วันเว้นวัน, วันเว้น 2 วัน" ได้แก่ [ thai-language ]

  • ทุกวัน > every day
  • วันเว้นวัน > every other day, every alternate day, every second day
  • วันเว้น 2 วัน > every third day, once every three days

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank MailOnline

ที่มา                                                                      

  • Thank MailOnline > Fiona Macrae. Passion every day is 'the best way to boost fertility'. 4 July 2009. / Source > European Society of Human Reproduction and Embryology's annual conference in Amsterdam.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 6 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 273974เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท