ปลูกฝังการอ่าน


ปลูกฝังการอ่านแก้ปัญหาวันรุ่นไทย

ปลูกฝังการ'อ่าน'แก้ปัญหาวัยรุ่นไทย

·                                 ครอบครัว

    หากเป็น   10  ปีที่แล้ว  คนไทยอาจวิตกกับสถิติประชากรที่  รู้  หรือ  ไม่รู้  หนังสือ   แต่ในปี  พ.ศ.2552  นี้  สิ่งที่น่าวิเคราะห์ยิ่งกว่าอาจเป็นคำถามที่ว่า  ปัจจุบันนี้คนไทยเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์และกลยุทธ์ในการ  ใช้  หนังสือ  เครื่องมือใกล้ตัวที่จะไขสู่โลกแห่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน?

     นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์  หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช  โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์  กล่าวในงานสัมมนาที่จัดโดยนิตยสาร  Kids  and  School  ว่า  การสอนลูกให้เป็นคนดีต้องเลี้ยงลูกด้วยการอ่าน   เพราะการอ่านถือเป็นเครื่องมือเลี้ยงลูกอันแข็งแกร่ง  อีกทั้งยังส่งเสริมสายสัมพันธ์ในครอบครัว

     "ช่วง   10  ขวบแรกของชีวิตลูก  ผมอ่านหนังสือให้ลูกทั้ง  2  คนฟังไม่ต่ำกว่า  300  คืน  ใน  1  ปี  ตอนนี้ลูกสาวผมหยิบหนังสือติดมือตลอดเวลา  แต่ลูกชายผมไม่  ซึ่งผมไม่บังคับ  เพราะผมไม่ได้คาดหวังว่าการอ่านจะทำให้ลูกฉลาด  ที่ผมคาดหวังคือสายสัมพันธ์ที่จะดึงให้ลูกผูกพันกับพ่อแม่   ไม่ไปวอแวกับอบายมุขง่ายเกินไป  อย่างในเรื่องของภาษา  ก็ไม่ใช่แค่การประกอบอักษร  แต่เป็นเหมือนยานพาหนะของความคิด  จะเรียนภาษาต้องรู้เรื่องความคิด"

     เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ขวบปีแรก  คือ  แรกเกิด-1  ขวบ  โดยจะพัฒนาความไว้ใจโลกไปพร้อมวางรากฐานความคิดและภาษา  เรียนรู้ความมีอยู่จริงของ  'แม่ ผ่านการเลี้ยงดูอันอบอุ่น  สบตา  ซึมซับน้ำเสียงพ่อแม่ขณะอ่านหนังสือ  ช่วงวัย  2-3  ขวบ  จะพัฒนาสายสัมพันธ์  (Attachment)  วัยนี้จะปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่ได้ดีขึ้น  พัฒนาทักษะการคิดและภาษามากขึ้นทีละนิด  นำไปสู่การพัฒนาตัวตน  (Self)  วัย  3-5  ขวบ  พัฒนาการเรียนรู้ด้านเพศ  สร้างตัวตนที่ชัดเจนผ่านการเลียนแบบคนใกล้ตัว  ถ้าพ่อแม่เป็นนักอ่าน  ลูกวัยนี้จะเลียนแบบตามโดยปริยาย  และวัย  6-10  ขวบ  พัฒนาทักษะสังคม  วัยนี้อาจเชื่อฟังพ่อแม่น้อยลง  เพราะเขาจะเริ่มสร้างมาตรฐานทางศีลธรรมของตนเอง  พ่อแม่จึงควรสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น  เช่น  ใช้หนังสือเป็นสื่อกลางกล่อมเกลาลูกให้เติบโตในทางที่เหมาะสม  การอ่าน  จึงเป็นเครื่องมือต่อเชื่อมให้เส้นสายใยแน่นเหนียว  เพื่อวางรากฐานหนทางแก้ปัญหาเมื่อเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่นได้ครอบคลุม

     นพ.ประเสริฐ   กล่าวต่อว่า  แม้การสร้างเด็กให้ดื่มด่ำกับหนังสือดีๆ  จะเป็นเรื่องยาก   แต่เมื่อสายสัมพันธ์ของพ่อแม่แข็งแกร่งกว่าสิ่งเร้า  จะเป็นฐานของจริยธรรมเมื่อลูกโตขึ้น  เพียงพ่อแม่ให้ความสำคัญกับการอ่านไปพร้อมสอนสั่งลูกด้วยความรัก

     "เพราะปัจจุบันวัยรุ่นมีปัญหา   4   ข้อ  Sex,  Game,  Drugs  และ  Violence  ที่สะท้อนว่าเด็กสมัยนี้ชอบเสพสุขอย่างรวดเร็ว  แต่การอ่านช้ามาก  จึงยากที่เด็กจะเสพติดหนังสือ  นี่คือปัญหา  เหตุนี้เราจึงอยากได้วัยรุ่นที่มีจริยธรรมมาก่อนฉลาด  เพราะนี่คือฐานของการพัฒนาไปสู่   Idealism  (อุดมการณ์ที่ดี)  Value  (ความเป็นคนมีคุณค่า)  จวบจนถึงสุดยอดการพัฒนาเด็กคือ  Spiritual  (จิตวิญญาณ)"

     ด้าน  รศ.ดร.วิลาสีนี  อดุลยานนท์  ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.)  กล่าวว่า  ภาพรวมแนวโน้มการอ่านของเด็กไทยสดใสขึ้น  แต่ถ้าเจาะลึกสถิติการอ่านของแต่ละช่วงวัย  ควบคู่ไปกับประเภทหนังสือที่เด็กใช้จริงยังน่าห่วง   ซึ่งเราพบว่าวัย   5-12  ขวบ  มีสถิติการอ่านหนังสือมากที่สุด   แต่หนังสือที่วัยนี้ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบเรียนที่มีหลักสูตรบังคับให้อ่าน  โดยแทบไม่มีหนังสืออื่นที่เด็กเลือกตามความสนใจของตัวเอง 

     นอกจากนี้  อุปสรรคการอ่านของเด็กเล็ก  3-5  ขวบ  ซึ่งเด็กต้องการบรรยากาศอบอุ่นขณะที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง  แต่เด็กบางคนไม่มีโอกาสได้สัมผัสหนังสือ  เพราะพ่อแม่อ้างว่าไม่มีเวลา  ส่วนอุปสรรคของวัย  6  ขวบขึ้นไป  คือเมื่อเขาไม่ได้สัมผัสหนังสือตั้งแต่เล็ก  บวกกับตลาดหนังสือที่รองรับความต้องการของวัยนี้มีน้อย    การจูงใจวัยนี้ให้รักการอ่านจึงยากมาก   ดังนั้น  กลไกที่ขับเคลื่อนอย่างรุดหน้าคือ  การรณรงค์ให้ครอบครัวใส่ใจการอ่าน  รวมทั้งกระตุ้นสังคมให้เกิดการร่วมมือสร้างฐานหนังสือดีมารองรับประชากรนักอ่าน   เพราะกลุ่มเด็กเล็ก   3-5  ขวบ  พ่อแม่ต้องเข้าใจความสามารถในการรับรู้ตามวัยของเขา  ต้องเปิดอ่านก่อนว่าเนื้อหาในหนังสือเข้าใจง่ายไหม  เหมาะกับการเรียนรู้ตามวัย  รวมถึงสอดรับกับวัฒนธรรมไทยหรือไม่  ขณะที่เราอาจต้องให้อิสระกับลูกวัย  6  ขวบขึ้นไปบ้าง  ถ้าเขาหันเหความสนใจไปเป็นเกมหรือของเล่นอื่นๆ  เพราะถ้าเราบังคับให้อ่าน  วัยนี้อาจเกิดการต่อต้านได้

     รศ.ดร.วิลาสินี   ยังกล่าวต่อว่า   แม้ครูจะมีจุดยืนชัดในการกระตุ้นเด็กไทยรักการอ่าน   ขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธถึงช่องทางค้นความรู้ผ่านสื่อออนไลน์  แต่ที่พ่อแม่ต้องตระหนักคือ  ความไวและความมีประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ต  อาจนำมาซึ่งผลกระทบอันรุนแรง  เช่น  สร้างวงจรการ  'ติด สื่อที่ปลุกเร้าอารมณ์ได้ง่าย  ซึ่งสื่อเหล่านี้พัฒนาทักษะน้อยมาก  ขณะที่การอ่านต้องใช้ทักษะการรับรู้ทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม  เช่น  สายตาอ่าน-ฟังเสียงเล่า  นำไปสู่จินตนาการ  ทักษะการคิดและสติปัญญา  ดังที่มีหลายงานวิจัยรองรับว่า   เด็กที่พัฒนาทักษะด้วยการอ่านตั้งแต่เล็ก  จะเติบโตมามีวุฒิภาวะรอบด้าน  บทบาทสำคัญของพ่อแม่จึงเป็นการเพลินอ่านร่วมไปกับลูกวัยเล็ก  พร้อมกับการตั้งรับพฤติกรรมการเสพสื่อของลูกที่ย่างเข้าวัยรุ่น  ด้วยการสร้างวินัยในการอ่านควบคู่กับการให้อิสระเรียนรู้ตามใจ  เช่น  กำหนดช่วงเวลาอ่านหนังสือให้เท่าเทียมกับเวลาเล่นเกม

     คงต้องทวงถามพ่อแม่ยุคใหม่ว่า  คุณอยากให้การอ่านพัฒนาตัวตนของลูกในรูปแบบไหน  เพราะอนาคต...จะกลายเป็นโลกที่  1  ชั่วโมงมิใช่เพียง  60  นาทีที่ไร้ความหมาย  ทว่าทุกนาทีคือช่วงเวลาทองแห่งการรับข้อมูลข่าวสาร  การฝึกฝนทักษะการอ่านจึงต้องมุ่งสู่เป้าหมายที่มากกว่าการอ่านออกเขียนได้   แต่เป็นการอ่านอย่างเข้าใจ  ตระหนักรู้ถึงหนทางนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตัวเรา  และสังคมที่เราใช้ชีวิตอยู่.

หมายเลขบันทึก: 273924เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ตามมาดู
  • อยากให้บันทึกเรื่องการสอน
  • การทำงานบ้างครับ
  • เยี่ยมมากๆๆ
  • ขอบคุณครับ

ดีจ้าโอ๋ แวะมาทักทาย และเป็นกำลังใจให้ในการทำงานต่อไป

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่ะอาจารย์

หนูจะนำความรู้ที่ได้จากอาจารย์มาปรับปรุงและพัฒนางานให้เกิดประโยชน์สูงสุด   (  สงสารประเทศชาติ )

รออ่านเรื่องฐานการอ่าน มาเขียนโดยไว ฮ่าๆๆๆๆๆ

  • มาเขียนเลย
  • ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างครับ
  • นักศึกษาได้เรียนเรื่องอะไรบ้าง
  • สนุกอย่างไร
  • ฯลฯ
  • หนูอยู่ฐานการอ่าน  หนูสนุกกับกิจกรรมครั้งนี้มากสุด  ๆๆๆ

    มีนักศึกษาประมาณ  100   คน นักศึกษาทุกคนให้ความสนใจกับทุกกิจกรรมมาก 

เหลือกิจกรรมวันที่ 12 ก.ค. 2552 ( กิจกรรม 3 วัน )

อีกวันเดียว   ไว้รวมกิจกรรมทั้งหมดให้อาจารย์ดูทีเดียว

 

ได้ครับ กรุณาอย่าให้รอนาน ฮ่าๆๆ น้องโตต้าหายดีแล้วใช่ไหมครับ

  • ใช้ได้ครับ
  • รอดูภาพกิจกรรม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท