BSC กับการจัดการด้านสุขภาพ


balanced scorecard

   ฟังบรรยายสรุปจากนายกเทศมนตรีเทศบาลขอนแก่น มีการพูดถึง Balanced Scorecard ที่ผู้บริหารนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารองค์กรให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างเท่าเทียม ทั้งสี่มุมมอง โดยเฉพาะมุมมองด้าน ลูกค้าคือประชาชน ให้ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนเสนอของบประมาณและจัดการจ้างแรงงานด้วยตนเอง เพิ่มบทบาทในการจัดการสุขภาพให้กับประชาชน มุมมองด้านการเงินก็เช่นกันมีการใช้มาตรการทางการเงินเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเข้ามาสู่การสร้างความร่วมมือจึงขอนำเรื่องนี้มาบันทึกไว้เพื่อการเรียนรู้

กระแสของเครื่องมือการจัดการสมัยใหม่ที่เรียกว่า Balanced Scorecard และตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicators) กำลังมาแรง จึงอยากจะเสนอแนะให้ท่านผู้อ่านฉกฉวยโอกาสของกระแสเข้ามาใช้ประโยชน์ในชีวิตให้มากขึ้น
ในความเป็นจริงแล้วไม่เพียงแต่เครื่องมือการจัดการที่กล่าวถึงเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีคุณประโยชน์และสามารถนำเอามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชีวิตของเราได้ แม้แต่มดหนึ่งตัวที่กำลังขนดินไปทำรังก็สามารถให้แนวคิดในการดำเนินชีวิตกับเราได้ว่า ความพยายามแม้จะเล็กน้อย แต่ถ้าพยายามบ่อยๆ วันหนึ่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็จะมาถึงเอง ต้นไม้ใบหญ้ายังแย่งกันชูใบชูช่อเพื่อรับแสงอาทิตย์ แล้วชีวิตเราไม่คิดจะเติบโตขึ้นไปสูงๆบ้างเลยหรือ
ลองมาดูว่าแนวคิดแบบ Balanced Scorecard (BSC) นี้จะนำมาใช้ในการบริหารชีวิตอย่างไร BSC มุ่งเน้นการบริหารองค์กรโดยการสร้างความสมดุลในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน(financial) ด้านลูกค้า(customer) ด้านกระบวนการจัดการภายใน(internal process) และด้านการพัฒนาบุคลากร (learning and growth)  BSC เน้นการบริหารความสมดุลระหว่างเป้าหมายระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว นอกจากนี้เมื่อกำหนดเป้าหมายแล้ว ก็ต้องสร้างความสมดุลของเป้าหมายโดยการทำผลงานจริงให้เกิดขึ้นเท่ากับหรือมากกว่าเป้าหมายที่ต้องการ
สำหรับตัวชี้วัดผลงานหลักหรือตัวชี้วัดความสำเร็จที่สำคัญ (Key Performance Indicators = KPIs) นั้นหมายถึงเครื่องบ่งชี้ย่อยที่จะบอกเราว่าเป้าหมายของ BSC แต่ละด้านนั้นบรรลุหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เช่น จะทราบได้อย่างไรว่าเป้าหมายด้านการเงินดีหรือไม่ดี สามารถดูได้จากตัวชี้วัดผลกำไร ตัวชี้วัดต้นทุน ฯลฯ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตก็เช่นเดียวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นใน 4 ด้านดังนี้
ด้านการเงิน (Finance Perspective)
ด้านสังคม (Social Perspective)
ด้านร่างกาย (Physical Perspective)
ด้านจิตใจ (Psychology Perspective)
ด้านการเงิน (Finance Perspective)
มุมมองของ BSC ของชีวิตในด้านนี้เป็นการตอบคำถามที่ว่า ชีวิตต้องการอะไรจากเงินทองซึ่งอาจจะได้คำตอบไม่ตรงกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายสุดท้ายของชีวิตแต่ละคน (เปรียบเสมือนวิสัยทัศน์ขององค์กร) บางคนต้องการการยอมรับจากสังคม ดังนั้น มุมมองด้านการเงินจึงเป็นเพียงสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น สำหรับ KPIs หรือตัวชี้วัดผลความสำเร็จด้านการเงินอาจจะวัดจากตัวชี้วัดดังนี้
จำนวนเงินที่หาได้ในแต่ละช่วงเวลา (เดือนหรือปี)ว่าได้ตามเป้าหรือไม่?
จำนวนเงินที่เป็นหนี้ไม่ควรเกิน 20% ของรายได้
จำนวนเงินออมต่อเดือนไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้
จำนวนเงินสำหรับ Entertainment (ดูหนังฟังเพลงฯลฯ ) ไม่เกิน 5% ของรายได้
ด้านสังคม (Social Perspective)
หมายถึงการบริหารชีวิตให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสังคมภายในครอบครัว สังคมทำงานหรือสังคมทั่วๆไป เพราะเราไม่ให้ความสำคัญกับด้านนี้แล้ว จะส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆมากเช่นกัน สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จของด้านสังคมอาจจะวัดจากตัวชี้วัดดังนี้
จำนวนครั้งที่ช่วยเหลือผู้อื่น
จำนวนความขัดแย้งกับคนในสังคม
จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
จำนวนครั้งที่ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนในครอบครัว
ฯลฯ
ด้านร่างกาย (Physical Perspective)
หมายถึงการดูแลบำรุงรักษาร่างกายให้มีความพร้อมหรืออยู่ในสภาพปกติอยู่เสมอ ถึงแม้ร่างกายจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะบ่งบอกว่าคนเราจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน แต่ร่างกายสามารถทำลายความสำเร็จในชีวิตได้ เช่น คนบางคนกำลังมีชื่อเสียงมีเงินทอง แต่ถ้าร่างกายย่ำแย่แล้ว สิ่งอื่นๆก็จะค่อยจางหายไปด้วย สำหรับตัวชี้วัดความสำเร็จทางด้านร่างกายมีดังนี้
จำนวนครั้งในการเจ็บป่วยต่อปี
จำนวนครั้งที่ต้องต้องไปโรงพยาบาลต่อปี
จำนวนวันที่ต้องหยุดพักรักษาตัวต่อปี
จำนวนครั้งในการออกกำลังกายต่อเดือน
ด้านจิตใจ (Psychology Perspective)
หมายถึงการบริหารสมองและอารมณ์ (IQ & EQ) เป็นการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาให้สมองถูกดึงออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกได้ดีด้วย คนหลายคนละเลยในการดูแลชีวิตในด้านนี้ หลายคนขาดการพัฒนาศักยภาพของสมอง นับวันมีแต่เสื่อมถอยลงๆเรื่อยๆ เท่านั้นยังไม่พอ การควบคุมอารมณ์กลับผกผันตรงกันข้ามคือ สติแตกมากขึ้น เราจะเห็นว่าคนหลายคนในบางช่วงของวัย ประสบความสำเร็จในหน้าที่การเงินสูงมาก แต่เมื่อวันหนึ่งสมองเสื่อมลง อารมณ์บูดมากขึ้น ความชื่นชมในอดีตก็ค่อยๆจางหายไปเช่นกัน สำหรับตัวชี้วัดผลความสำเร็จในด้านจิตใจมีดังนี้
จำนวนครั้งที่ควบคุมอารมณ์ได้

คำสำคัญ (Tags): #balanced scorecard
หมายเลขบันทึก: 273883เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป๋น BSC ที่ดีและนำมาใช้อย่างเข้าใจดีมากๆ เลยครับ สำหรับการใช้ชีวิต ไม่ใช้หน่วยบริการหรือธุรกิจแบบที่ได้เรียนๆ กันมาที่มีแต่ Finance L&G Process product

เป็นบทความการบริหารงานด้านสุขภาพที่ดีครับ สร้างแรงบันดาลใจได้ดี ท้องถิ่นที่มีมุมมองดีๆอย่างนี้ การจัดการสุขภาพของชุมชนไทย จะเป็นไปอย่างที่สังคมควรจะเป็น

ต้น

ขอบพระคุณในองค์ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท