ชีวิตพอเพียงที่เพียงพอกับสุขภาพ


ถ้าต้องการให้สุขภาพประชาชนดีขึ้นจึงต้องไปร่วมเดินทางจากจุดตั้งต้นของประชาชนและต้องใช้เวลาเดินทางที่ต่อเนื่องและยาวนานพอควรจึงจะเห็นปลายทางที่ประชาชนมีสุขภาพดีได้

 

  ได้มีโอกาสไปดูงานที่โรงพยาบาลอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และได้พูดคุยกับท่านผู้อำนวยการ นพ. อภิสิทธิ์ และ ภรรยา คือ พญ.ทานทิพย์ ท่านทั้งสองได้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของการมีชีวิตพอเพียงส่งผลให้มีสุขภาพดีกับคนในอำเภออุบลรัตน์ได้ชัดเจนป็นรูปธรรมมาก  การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติที่ปลอดมลพิษ มีความเอื้ออาทร กินใช้อย่างเหมาะสม และมีสถานบริการทางสุขภาพที่เข้าถึงจิตใจของประชาชนล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่เราเคยท่องมาจากตำราเรียนว่าจะส่งผลดีต่อสุขภาพแต่ก็ไม่เคยสนใจปฏิบัติอย่างจริงจัง แต่ทฤษฎีเหล่านี้ได้ถูกทดลองทำครั้งแล้วครั้งเล่าที่อำเภออุบลรัตน์จนสามารถสรุปว่าเกิดผลดีจริงต่อสุขภาพอย่างชัดเจน สุขภาพไม่ใช่ต้นทางแต่เป็นปลายทาง การทำเรื่องสุขภาพอย่างเดียวแบบแยกส่วนที่เรานิยมทำกันจึงเป็นการกระโดดลงไปทำงานในส่วนที่เป็นปลายทางที่ประชาชนได้เดินมาระยะหนึ่งแล้ว ความสำเร็จจึงเกิดได้ยาก  ดังนั้นถ้าต้องการให้สุขภาพประชาชนดีขึ้นจึงต้องไปร่วมเดินทางจากจุดตั้งต้นของประชาชนและต้องใช้เวลาเดินทางที่ต่อเนื่องและยาวนานพอควรจึงจะเห็นปลายทางที่ประชาชนมีสุขภาพดีได้ 

คำสำคัญ (Tags): #พอเพียง#สุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 273582เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมเชื่อว่าจุดตั้งต้นของแต่ละคนมิใช่จุดเดียวกัน โจทย์ที่ยากก็คือ เราจะทราบได้อย่างไรว่าจุดตั้งต้นของแต่ละเรื่องหรือแต่ละคนอยู่ที่ตรงไหน และถ้าเราสามารถค้นพบทางลัดได้เราคงจะเดินทางได้เหนื่อยน้อยลงมาก ขอบคุณพี่อภิสิทธิ์ที่ได้ชี้ให้เราเห็นเส้นทางลัดเส้นทางหนึ่งที่พอจะทำให้เราอุ่นใจว่ายังมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ และคงมีทางลัดอีกหลายเส้นทางที่รอพวกเราค้นพบอยู่

ซำบายดี ! สหกรณ์ออมทรัพย์

กับการจัดการสุขภาพ

นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา พบ.

ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับนักคิดคนสำคัญของแพทย์ชนบท คุณหมออารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล นครศรีธรรมราช ซึ่งกล่าวไว้ว่า

“ชีวิตคนเรานั้นเกิดมามีเวลาจำกัด แต่การทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมเป็นสิ่งไม่มีขอบเขตจำกัด ทำดีได้ไม่มีสิ้นสุด ทำชั่วแม้แค่คิดก็ผิดแล้ว และเพียงครั้งเดียวก็เกินพอที่จะไม่ทำต่อไป”

คนเราเวลาทุกข์มักคิดว่าตนเองน่าจะทุกข์มากกว่าคนอื่นเสมอแต่ขาดการเรียนรู้ในความจริงที่เกิดขึ้น พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า การไม่มีหนี้ย่อมเป็นสุข แต่ในแวดวงของสหกรณ์ออมทรัพย์ ของพวกเราเชื่อว่า อยากมีเงินออมมากกว่าต้องกู้ ที่ทุกคนอยากเป็น คงต้องใช้เวลาในการออม แต่ที่สามารถเริ่มได้เลย คือ การสร้างวินัยในตนเอง (Self discipline) ในทางการเงินการคลังผมอยากจะให้พวกเราคิดว่า การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ในระดับตนเองเกิดขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน? ?

เริ่มจากเล็กไปใหญ่ เริ่มจากง่ายไปยาก

ฝากอ่านด้วยครับ http://gotoknow.org/blog/doctorcmu

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท