ตาเหลิม
นาย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

9. AQ


AQ (Adversity Quotient) คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ

.

.

.

.

AQ (Adversity Quotient) คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการเผชิญกับวิกฤติ

ความฉลาดเมื่อเผชิญปัญหา

 

AQ เป็นการวัดความสามารถในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ   

ใครที่สามารถจัดการได้ดีจะเป็นผู้นำและเป็นผู้ชนะหรือเป็นเจ้าของกิจการในโลกของปัจจุบันและอนาคต  

ใครที่มี AQ ดีจะสามารถ เปลี่ยน วิกฤติเป็นโอกาส (Dr. Paul G stolt )

ใครที่ไม่สามารถควบคุม AQ ได้  จะเป็นผู้ที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิต

 

ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) คือ

ความสามารถในการ ที่อดทนทั้งด้าน ความยาก ลำบาก ทางกาย ความอดกลั้น

ทางด้านจิตใจ และ จิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญ และเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน

 

ซึ่งจะเป็นรูปแบบพฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหาอุปสรรคในชีวิต

อันเป็นกลไกของสมอง ซึ่งเกิดจาก ใยประสาทต่างๆที่ถูกสร้างขึ้น ฝึกฝนขึ้น

ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหา ปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โต ซับซ้อนก็ได้

อาจสรุป ว่า AQ คือ “ความสามารถในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ”ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ดังนี้

 

  1. ความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
  2. ความพยายามที่จะควบคุมสถานการณ์และนำตัวเองเข้าไปแก้สถานการณ์
  3. วิธีคิดหรือวิธีมองปัญหาที่จะเข้าไปแก้ไขสถานการณ์นั้นว่า มีจุดจบของปัญหา และปัญหา ทุก ๆปัญหาต้องมีทางออก ไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง
  4.  ความสามารถที่จะอดทนและทนทานต่อปัญหาต่าง ๆ ได้

 

the AQ theory of Stoltz กล่าวว่า

คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่ไม่พ่ายแพ้ต่ออุปสรรค แต่กลับทำประโยชน์ให้เกิดจากอุปสรรคนั้นๆ

 

เทคนิคการสร้าง AQ

AQ คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา / อุปสรรค


เป็น กลไกลของสมอง เกิดจากการได้ฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝน

  • การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม   การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
  • การสัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง   หัดทำงานตามวัย
  • ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
  • เมื่อ เข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ช่วยธุรกิจของพ่อแม่ หรือหรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่นเพื่อฝึกหาประสบการณ์ตามที่ ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม

หลักการสร้าง AQ

มองปัญหาเป็นโอกาส  CORE
1. CONTROL            ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
2. Ownerships’         ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
3. REACH                คิดว่าปัญหาทุกประเภท มีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
4. ENDURANCE        มีความทนทาน อดทน ต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดีไม่วู่วาม

 

สรุปการเพิ่ม AQ

  • มีสติ ตลอดเวลา ใช้สติปัญญาในการแก้ไข
  • คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
  • มองโลกในแง่ดี
  • เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส

 

A.Q. หรือ adversity quotient เป็นศักยภาพที่บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไข อย่างไม่หยุดหย่อน ด้วยพลังจิตใจที่จะพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง สตอลต์ (Paul G.Stoltz, Ph.D.) เป็นผู้เสนอแนวความคิด และ แนวทางพัฒนา สามารถเผชิญ กับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้าน เอคิว ( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคล เมื่อเผชิญปัญหาโดยเทียบเคียงกับนักไต่เขาไว้ 3 แบบคือ

 

1.ผู้ยอมหยุดเดินทางเมื่อเผชิญปัญหา (Quitters) มีลักษณะ

  • ปฏิเสธความท้าทายอย่างสิ้นเชิง
  • ไม่คำนึงถึงศักยภาพที่ตนมีอยู่ที่จะจัดการกับปัญหาได้
  • พยายามหลบหลีกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกวิถีทาง
  • ไม่มีความทะเยอทะยาน ขาดแรงจูงใจ
  • เป็นตัวถ่วงในองค์กร

 

2.ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ (Campers) มีลักษณะ

  • วิ่งไปข้างหน้าบ้างและแล้วก็หยุดลง
  • หาพื้นที่ราบซึ่งจะได้พบกับปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อย
  • ถอยห่างจากการเรียนรู้ สิ่งน่าตื่นเต้น การเติบโต และความสำเร็จที่สูงขึ้นไป
  • ทำในระดับเพียงพอที่จะไม่เป็นที่สังเกตได้ ได้แก่พยายามไม่ทำให้โดดเด่นเกินหน้าใคร

 

3.ผู้ที่รุกไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง (Climbers) มีลักษณะ

  • อุทิศตนเองเพื่อมุ่งไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
  • ไม่เคยรู้สึกพอใจ ณ จุดปัจจุบันเสียทีเดียว
  • สร้างสิ่งใหม่ๆให้ตนเองและองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และสร้างวินัยแก่ตนเอง
  • สนุกกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ

 

ความเข้าใจแนวความคิดด้านเอคิว( A.Q. )ทำ ให้เข้าใจถึงวิธีที่บุคคลตอบสนองต่ออุปสรรคหรือสิ่งท้าทายตลอดทุกแง่มุม ของชีวิต ด้วยวิธีการค้นหาว่า ตนเอง ณ จุด ใดของงานนั้นๆ จากนั้นจึงวัดและพัฒนางานนั้นให้ดีขึ้นตลอด บันไดในการ กำหนดเป้าหมาย และการไปให้ถึงได้แก่

 

ขั้นที่หนึ่ง คือ การจินตนาการความเป็นไปได้ที่ดีกว่าที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Dream the Dream)
ขั้นที่สอง คือ แปลงสิ่งที่จินตนาการให้เป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน (Making the Dream the Vision)
ขั้นที่สาม คือ การคงสภาพวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนนั้นจนกว่าจะดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย (Sustaining the Vision)

 

อย่าลืมว่าหัวใจของเอคิว( AQ. )คือ ดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง ไม่ท้อถอย ดังเช่น โธมัส อัลวา เอดิสัน ใช้เวลาถึง 20 ปี ทำการทดลองผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ ที่เบาทนทาน ด้วยการทดลอง ห้าหมื่นกว่าครั้ง มีผู้สงสัยว่าเขาอดทนทำเช่นนั้นได้อย่างไร เขาตอบว่า การทดลองทั้งห้าหมื่นครั้งทำให้เขาเรียนรู้ความล้มเหลวตั้งห้าหมื่นกว่าแบบ เป็นเหตุให้เขาประสบความสำเร็จดังกล่าวได้


มิได้หมายความว่า คนที่มีเอคิว( AQ. ) ดี ซึ่งเปรียบได้กับคนที่พยายามไต่เขาต่อไปไม่หยุดหย่อน จะไม่รู้สึกเหนื่อยอ่อน จะไม่รู้สึก ลังเลใจ ที่จะทำต่อไป จะไม่รู้สึกเหงา แต่เป็นเพราะเขารู้จักที่จะให้กำลังใจตนเองสู้ต่อไป เติมพลังให้ตนเอง ตลอดเวลาที่ทำให้ เขาแตกต่างจากคนอื่นและกัดฟันสู้อยู่ไม่ถอย สิ่งที่เขาต้องการ มิใช่ส่วนแบ่งการตลาด ของสินค้าที่บริษัทเขาผลิตอยู่ มิใช่ต้องการ เงินเดือน ขั้นพิเศษเป็นผลตอบแทน เพราะนั่นเป็นเพียงผลพลอยได้ สิ่งที่เขาต้องการแท้ที่จริงคือ เป้าหมายของงานที่ดีขึ้น อย่างไม่หยุดหย่อน


มาถึงตอนนี้คงจะเห็นได้แล้วว่าเอคิว (A.Q.) นั้นมีประโยชน์ต่อสังคมโลกอย่างใด และหากเด็กได้รับการพัฒนา ความคิดดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคมอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลประเทศสิงคโปร์ถึงให้ความสำคัญต่อสิ่งนี้อย่างมาก นอกจากนี้

 


ได้มีการศึกษาถึง อานิสงค์แห่งการคงไว้ซึ่งเอคิว( AQ. )ใน 3 ลักษณะคือ


  1. ทำให้บุคคลนั้นมีความคล่องตัวอยู่เสมอ ไม่เหี่ยวเฉา การฝึกสมองอยู่ตลอดเวลาทำให้เซลล์สมองพัฒนาการเชื่อมโยงเซลล์ประสาท ตลอดเวลาทำให้มีความคิดความจำที่ดีอยู่ตลอด
  2. เป็นคนมองโลกในแง่ดีเสมอ มาติน เซลิกมาน ( Martin Seligman ) ได้ศึกษาตัวแทนประกันชีวิตเป็นเวลา 5 ปี พบว่าผู้มองโลกในแง่ดี มีผลงานขายประกันสูงกว่า ผู้มองโลกในแง่ร้ายถึง ร้อยละ 88
  3. งานวิจัยด้านระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกัน (Psycho- Neuroimmunology) พบว่า วิธีการตอบสนองต่ออุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางตรงกับ สุขภาพกายและสุขภาพจิต ผู้ที่มีจิตใจต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อ ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บป่วยดีขึ้น เช่น ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด จะพบว่าแผลผ่าตัดฟื้นหายเร็วขึ้น มีอายุที่ยืนยาวกว่า

 

บางท่านว่า AQ ย่อมาจาก Advancement Intelligence Quotient ซึ่งน่าจะแปลว่าความฉลาดทางการรักความก้าวหน้า ซึ่งเป็นแรงสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้นั้นทำงานอย่างจริงจังทุ่มเทเพื่อความ ก้าวหน้า AQ จึง เปรียบได้กับแบตเตอรี่รถยนต์ ในรถยนต์ราคาแพงถ้าแบตเตอรี่ดีก็มีประโยชน์สารพัดอย่าง แต่หากแบตเตอรี่อ่อนมาก รถราคาแพงนั้นก็เกือบเป็นรถยนต์ที่ไร้ค่า AQ จึงเปรียบได้กับพลังหรือกำลังใจในการต่อสู้อุปสรรคของตนนั่นเอง มีผู้แบ่งคนออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ (Sammapan, 2006)

 

กลุ่ม E (AQ=Zero) คือ กลุ่มที่ไม่รู้จักขวนขวายหรือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นพวกที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นเป็นนิจ

กลุ่ม D (AQ=Very Low) พวกที่มีความรู้ เข้าใจชีวิต แต่ไม่อยากต่อสู้

กลุ่ม C (AQ=Low) พวกที่พอเริ่มต่อสู้ชีวิตก็ยอมแพ้เสียแล้ว พวกนี้มีความกระตือรือร้นที่จะต่อสู้ มีการวางแผนแต่พอประสบปัญหาก็จะหยุดทันที

กลุ่ม B (AQ=Medium) พวกที่ยินดีต่อสู้ชีวิต แต่พอถึงจุดหนึ่งที่ตนพึงพอใจก็จะหยุด คนกลุ่มนี้จะเป็นลูกจ้างที่ดี

กลุ่ม A (AQ=High) พวกที่ชอบต่อสู้กับอุปสรรค สามารถแก้ปัญหา ขจัดสิ่งกีดขวาง เอาชนะอุปสรรค และสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้

 

 

ควรเริ่มจากมองปัญหาให้เป็นโอกาสก่อน คุณสามารถทำได้

 

          -ควบคุมทุกสถานการณ์ให้ได้ ด้วยทัศนคติที่ว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้

          -มีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ ด้วยทัศนคติที่ว่า คุณจะได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

          -มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม มีสติในการแก้ปัญหา คนที่มี AQ ดี จะเป็นคนที่มีใจสู้ มีความมานะพยายาม อดทน ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เรียกว่าเป็นพวก "กัดไม่ปล่อย" ก็น่าจะได้ จึงมักจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ทำอยู่เสมอ ถ้าแบ่งคนเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบกับนักไต่เขา ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่งยวดกว่าจะถึงยอดเขา

 

          -กลุ่มแรก คือประเภทถอดใจตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่ม แค่เพียงเห็นความสูงของภูเขา และระยะทางอันยาวไกล ก็พาลล้มเลิกความคิดที่จะปีนเสียแล้ว

          -กลุ่ม ที่สอง ประเภทเอาสนุกเข้าว่า ตราบใดที่ยังรู้สึกสนุกอยู่ก็ยังไปต่อได้เรื่อยๆ แต่พอลำบากหนักๆ เข้า ทำให้หมดสนุก ก็จะเลิกล้มความตั้งใจเสียดื้อๆ

          -กลุ่ม สุดท้าย คือ นักไต่เขาตัวจริง ที่สู้ไม่ถอย จะลำบากตรากตรำแค่ไหนก็ไม่หวั่น ยินดีที่จะทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และสติปัญญาเพื่อไปให้ถึงยอดเขาให้ได้ ที่แหละ คือ พวกที่มี AQ สูงจริงๆ

 

 

 

          คงไม่ต้องบอกว่า  AQ  มีความสำคัญในการทำงานมากแค่ไหน หากองค์กร หรือใครจะพัฒนา AQ ในที่ทำงานให้สูงก็มีหลักง่ายๆ ด้วยการ

 

          -กำหนดเป้าหมายในการทำงานให้ชัดเจน ชี้ให้เห็นชัดว่าภูเขาลูกไหนกันแน่ที่เราจะต้องปีนให้ถึงยอด

          -สร้าง แรงจูงใจ กำหนดรางวัลที่จูงใจให้พนักงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และควรเป็นรางวัลสำหรับการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

          -มอบอำนาจให้ทีมงาน ให้ทำงานได้อย่างคล่องตัวที่สุด  และควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ตามสมควร

-สร้าง บรรยากาศที่ดีในการทำงาน เช่น ใช้อารมณ์ขันเพื่อลดความเครียด เอาใจใส่ในทุกข์สุขจากหัวหน้าจะเป็นกำลังใจอย่างมหาศาลแก่ลูกน้องด้วย

          -พัฒนา ความรู้ความสามารถของพนักงานอยู่เสมอ ไม่ให้เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และความรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่สามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคได้

          -เมื่อ เกิดปัญหาใดๆ ขึ้นมา ควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหาหรือซ้ำเติมกันเอง แต่ต้องร่วมมือกันหาทางแก้ไขโดยเร่งด่วน ในขณะเดียวกันหากใครทำดี ควรช่วยกันชื่นชมยกย่องเพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับทีม

          -เฉลิม ฉลองเมื่อทำงานเสร็จ เพื่อสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจแก่ทีมงาน ทำให้เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่งผลถึงการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

 

ก็จบลงไปแล้วสำหรับ AQ ที่เอามาแบ่งปันไว้ ในพื้นที่เรียนรู้แห่งนี้นะครับ

ได้แต่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับคนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่นะครับ

 

ตัวผมเอง ตอนแรกก็มีปัญหาเหมือนกันครับ

ระหว่างที่กำลังเครียดๆ แต่ต้องจัดการตัวเอง ผมก็เตรียมข้อมูลเรื่อง AQ ไปด้วย

อ่านไปอ่านมา รู้สึกว่าปัญหามันเล็กลงเรื่อยๆ ไปซะอย่างงั้นเลย

 

ฮ่าๆๆๆ ขอให้ท่านผู้อ่านผ่านพ้นปัญหาไปได้ด้วย AQ ที่สร้างเองนะครับ

หมายเลขบันทึก: 273533เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ^_^
  • ขอแสดงความชื่นชมกับการนำเรื่องราวของ AQ มาเผยแพร่คะ
  • เคยศึกษาเรื่อง AQ มาตอนปี 46 ตอนนั้นข้อมูลเรื่องนี้น้อยมาก
  • งานเขียนในประเทศไทยแทบไม่มีเลย
  • ต้องอ่านงานจากต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) งานเขียนของ Paul G.Stoltz
  • อ่านรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ก็พอคร่าว
  • พอได้มาอ่านงานบันทึกของตาเหลิม เลยคิดถึงความพยายามของตนเองในครั้งนั้น
  • *_*
  • ขอบคุณพี่ itom มากครับ ผมคงไม่เก่งกาจเท่าพี่แน่นอน
  • ทุกวันนี้ เรื่อง AQ ในไทย ก็ยังน้อยอยู่ดี
  • ยินดีครับ ที่บันทึกของผมช่วยพี่ย้อนอดีตได้ด้วย
  • แล้วเรื่องอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้างน้อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท