พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

..  2542

ภูมิพลอดุลยเดช ป..

ให้ไว้    วันที่  18  พฤศจิกายน  ..  2542

เป็นปีที่  54  ในรัชกาลปัจจุบัน

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

                        จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้  โดยคำแนะนำและยินยอมของ  รัฐสภาดังต่อไปนี้

                        มาตรา 1  พระราชบัญญัตินี้  เรียกว่า  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วน- ท้องถิ่น พ.. 2542”

                        มาตรา 2  พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป     

มาตรา  3  ในพระราชบัญญัตินี้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมายความว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การ-บริหารส่วนตำบล  กรุงเทพมหานคร  เมืองพัทยา  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง

พนักงานส่วนท้องถิ่น หมายความว่า  ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด   พนักงานเทศบาล  พนักงานส่วนตำบล  ข้าราชการกรุงเทพมหานคร  พนักงานเมืองพัทยา  และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง  ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือจากเงินงบประมาณ  หมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงิน-เดือนของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

มาตรา 4  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

2

 

การบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มาตรา 5  ในองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง  ให้มีคณะกรรมการข้าราชการองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

                     (1)  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน

                     (2)  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจำนวนสามคนจากส่วนราชการในจังหวัดนั้น    ซึ่ง     ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดว่าเป็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ผู้ว่าราชการจังหวัดจะประกาศเปลี่ยนแปลงการกำหนดส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อใดก็ได้

                     (3)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่คน  ประกอบด้วย  นายกองค์การบริหาร-ส่วนจังหวัด  สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน  ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด   และผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน

                     (4)  ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คนซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานท้องถิ่น  ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ ด้านการบริหารและการจัดการ   หรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (4) ให้กรรมการตาม (1) และ (2)  เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนหกคน  และกรรมการตาม  (3)  เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนหกคน  และบุคคลทั้งสิบสองคน    ดังกล่าวประชุมเพื่อคัดเลือกกันเองให้เหลือสี่คน

วิธีการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด

ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด  มีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การ-บริหารส่วนจังหวัด

ให้ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นเลขานุการคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหาร-ส่วนจังหวัด

มาตรา 6  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1)    สัญชาติไทย

(2)    มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์

(3)    ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ

                    (4) ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ หรืองค์กร-ปกครองส่วนท้องถิ่น

                    (5) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

3

                    (6) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

                    (7) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีตำแหน่งใด ๆ  ในพรรคการเมือง

บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ต้องเป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ

มาตรา 7  กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรรมการผู้ทรง-คุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี  และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้

ถ้ากรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลง  ให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างโดยเร็ว  ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในมาตรา 5  และให้กรรมการซึ่งได้รับการคัดเลือกมีวาระอยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

ในระหว่างที่ยังมิได้คัดเลือกกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างตามวรรคสอง  และยังมีกรรมการเหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง  ให้กรรมการที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

มาตรา 8  กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อลาออก  โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ หรือพ้นจากการเป็นข้าราชการองค์การบริหาร-ส่วนจังหวัดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น

มาตรา 9  นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ

(1)    ตาย

(2)    ลาออก  โดยยื่นหนังสือลาออกต่อประธานกรรมการ

(3)    เป็นบุคคลล้มละลาย

(4)    เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

(5)    ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 6

(6)    ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

มาตรา 10  การประชุมของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

ในการประชุมถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม

ในการประชุม  ถ้ามีการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับกรรมการผู้ใดโดยเฉพาะ กรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก  กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน  ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

 

 

4

มาตรา 11 คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ  ตามที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายได้

มาตรา 12  ค่าตอบแทนของคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และคณะ-อนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด

การกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง  ต้องคำนึงถึงปริมาณงาน  รายได้ และรายจ่ายของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่ง  และสามารถปรับลดหรือเพิ่มขึ้นได้ตามความเหมาะสมของปริมาณงานและสภาพทางการเงินขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย

มาตรา 13  คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ในเรื่องดังต่อไปนี้

                    (1)  กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามที่มีความจำเป็นเฉพาะสำหรับข้าราชการองค์การ-บริหารส่วนจังหวัดนั้น

                    (2)  กำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่ง  อัตราเงินเดือนและวิธีการจ่ายเงินเดือน และประโยชน์ตอนแทนอื่น สำหรับข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                    (3)  กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการคัดเลือก การบรรจุและแต่งตั้ง  การย้าย การโอน  การรับโอน  การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การสอบสวน  การลงโทษทางวินัย  การให้ออกจากราชการ  การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

                    (4)  กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการบริหารและการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                    (5)  กำกับ  ดูแล  ตรวจสอบ   แนะนำและชี้แจง  ส่งเสริมและพัฒนาความรู้แก่ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

การดำเนินการตาม (1) ถึง (5)  ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มาตรา 14  การกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามมาตรา 13  ให้คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด  มีอำนาจกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งนั้น  แต่ต้องอยู่ภายในกรอบมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนดตามมาตรา 17

หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  ที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วน-จังหวัดกำหนดตามมาตรา 13  ให้ประกาศโดยเปิดเผย    ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น  และจัดส่งสำเนาให้คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดทราบ

 

5

มาตรา 15  การออกคำสั่งเกี่ยวกับการบรรจุและแต่งตั้ง  การย้าย  การโอน การรับโอน  การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน  การสอบสวน  การลงโทษทางวินัย  การให้ออกจากราชการ  การอุทธรณ์และการร้องทุกข์หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  ให้เป็นอำนาจของนายกองค์การบริหารส่วน-จังหวัด ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด  แต่สำหรับการออกคำสั่งแต่งตั้งและการให้ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อน

อำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามวรรคหนึ่ง นายกองค์การบริหาร-ส่วนจังหวัดอาจมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในตำแหน่งใดขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งนั้น เป็นผู้ใช้อำนาจแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการ     องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด

มาตรา 16  เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วน-จังหวัดแต่ละแห่งเป็นไปโดยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน  ให้มีคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะหนึ่งประกอบด้วย

                    (1)  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้รับมอบหมายเป็นประธาน

                    (2)  ปลัดกระทรวงมหาดไทย  เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  อธิบดีกรมบัญชีกลาง  และอธิบดีกรมการปกครอง

                    (3)  ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนหกคน  ซึ่งคัดเลือกจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน  และปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสามคน

                    (4)  ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน  ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารงานท้องถิ่น ด้านการบริหารงานบุคคล  ด้านระบบราชการ  ด้านการบริหารและการจัดการหรือด้านอื่นที่จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

การคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตาม (4)  ให้กรรมการตาม (1) และ (2)  เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนเก้าคน  และกรรมการตาม (3)  เสนอรายชื่อบุคคลจำนวนเก้าคน  และให้บุคคลทั้งสิบแปดคนดังกล่าวประชุมเพื่อคัดเลือกกันเองให้เหลือหกคน

วิธีการคัดเลือกผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดและผู้ทรงคุณวุฒิ  ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นกำหนด

ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ดำเนินการจัดให้มีการคัดเลือกนายกองค์การบริหารส่วน-จังหวัดหรือปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วแต่กรณี  เป็นผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด

ให้อธิบดีกรมการปกครองแต่งตั้งข้าราชการในกรมการปกครองคนหนึ่ง  ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี  เป็นเลขานุการคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

6

กรรมการผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งคัดเลือกจากปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ   มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี  และอาจได้รับคัดเลือกอีกได้  และให้นำความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง  มาตรา 7  และมาตรา 9  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้นำความในมาตรา 10  และมาตรา 11  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังวหัด ให้นำความในมาตรา 10  และมาตรา 11  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา  17  คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่           ดังต่อไปนี้

                    (1)  กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการคัดเลือกผู้แทนข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ทรงวุฒิตามมาตรา 5 วรรคสาม

     &

หมายเลขบันทึก: 273451เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท