มหกรรมพลังงานทางเลือกภาคอีสาน


พลังงานทางเลือก ศูนย์เกษตรธรรมชาติภูหลวง

      เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2552 ได้ไปร่วมงานมหกรรมพลังงานทางเลือกภาคเหนือ จัดขึ้นที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวง  บ้านศรีเจริญ ตำบลเลยวังไสย์  อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย การเดินทางค่อนข้างลำบากพอสมควรสำหรับคนที่ไม่มีรถเป็นของตนเอง เพราะมีรถโดยสารเข้าไปยังหมู่บ้านวันละ 1 เที่ยว จอดเยื้อง ๆ กศน.อ.วังสะพุง  จ.เลย ค่าโดยสารประมาณ 50 บาท/คน เวลารถออกไม่แน่นอน ประมาณ 8 โมงเช้ากว่า ๆ รถออกจากหมู่บ้านเช่นกัน ประมาณ 06.30 น.  ระยะทางจากอำเภอวังสะพุงไปตามถนนเส้น 2016 ประมาณ 42 กิโลเมตร

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวง เป็นหนึ่งในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ สำหรับงานมหกรรมพลังงานทางเลือกนี้ เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกจัดที่จังหวัดพัทลุง  ครั้งต่อไป จะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายา ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2552 อย่างไรก็ตาม ความตื่นตาตื่นใจคือ เห็นพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย สำหรับประเทศไทย ไม่เห็นว่ารัฐบาลจะต้องมีนโยบายสร้างเขื่อนหรือโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตลอดจนโรงไฟฟ้านิวเครียแต่อย่างใด พลังงานเหล่านี้คนในชุมชนสามารถทำได้ บางอย่างต้นทุนอาจจะสูง แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่พอเป็นทางเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละคนและพื้นที่  เช่นพื้นที่ไหนลมดี อาจจะทำกังหันลมปั่นไฟก็ได้  ต้นทุนอาจจะสูงสักหน่อย แต่คุ้นทุนในระยะยาว 

อย่างไรก็ตามมีแหล่งพลังงานที่เหมาะสมกับชุมชน และต้นทุนไม่แพงที่น่าสนใจได้แก่ เครื่องปั่นไฟฟ้าที่น่าทึ่งกว่าเครื่องปั่นไฟฟ้าที่เชียงตุงคือ เป็นผลผลิตจากฝีมือคนไทย ที่นำเอาหลักการของการหมุนแกนแม่เหล็กตัดขดลวด

การสูบน้ำเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นนวตกรรมเล็ก ๆ ที่คนทำงานช่วยกันถอดแบบมาจากเว็บไซต์ ร่วมกับผู้ใช้งานคือชาวบ้าน เป็นเครื่องสูบน้ำที่ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เรียกภาษาน่าสนใจว่า "ตะบันน้ำ"

 พลังงานง่าย ๆ ที่เราเห็นอยู่คือแสงอาทิตย์ ซึ่งมีมากมายในบ้านเรา  ถูกนำมาผลิตน้ำร้อนง่าย ๆ ด้วยการนำเอาน้ำมาใส่ขวดแล้วตากแดด กลายเป็นน้ำร้อนไม่ต้องใช้พลังงานอื่นแต่อย่างใด

 สิ่งที่เหลือใช้ในครัวเรือน ตอนนี้หลายคนนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพ ขณะเดียวกันหลายคนทิ้งให้เป็นปุ๋ยของธรรมชาติ หรือไม่ก็ทิ้งให้เป็นภาระของเทศบาล อบต.เก็บไปกำจัด ทั้ง ๆ ที่ ขยะเหล่านี้สามารถนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ง่าย ๆ ด้วยการนำเอาถังพลาสติกขนาด 200 ลิตร มา 2 ลูก ลูกที่ 1 ใส่กากอาหารที่มีหัวเชื้อที่เป็นมูลสัตว์ในระยะเริ่มแรก อีก 1 ลูกเติมน้ำให้เต็มเป็นที่สำหรับใส่ก๊าซที่ผลิตได้ สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอในครัวเรือนแต่ละวัน ประหยัดเงินค่าก๊าซ ดูแลสิ่งแวดล้อม และได้ปุ๋ยชีวภาพจากกากด้วย หนึ่งอย่างได้ 3 อย่าง

 จักรยานที่เสียใช้ประโยชน์อะไรแทบไม่ได้แล้วยังมีประโยชน์ต่อพลังงานทางเลือก เช่น นำมาปั่นน้ำขึ้นจากลำห้วย นำมาทำเป็นเครื่องกระเทาะรวงข้าว หรือข้าวโพด ยังได้พลังงานที่เป็นไฟฟ้าเก็บไว้ในเบ็ตเตอรีไว้ใช้งานได้ด้วย

นอกจากนี้สิ่งที่หลายท่านคงจะเห็นกันบ่อย ๆ ในขณะนี้คือ เตาอิวาตะ ที่นอกจากจะทำให้ได้ถ่านจากฟืนแล้ว ยังได้น้ำส้มควันไม้  ที่มีคุณสมบัติหลากหลาย เป็นยาก็ได้ ยาไล่แมลง เป็นปุ๋ยชีวภาพก็ได้ ราคาขายขวนหนึ่งประมาณ 50 บาท (0.5 ลิตร) รายได้ดีด้วย

หลังจากเสร็จงานเวลาบ่ายสามโมง ผู้ร่วมงานกลับบ้านกันหมด ผมรอดูบรรยากาศที่ดอนภูหลวง ที่มีลมพัดแรกตลอดเวลา และเป็นธรรมชาติของที่นี้ อากาศเย็นสบายเหมือนช่วงฤดูหนาว ต่างจากบรรยากาศข้างล่างเป็นอย่างมาก  ใครสนใจลองไปสัมผัสได้  ถ้าไปจาก กทม.เดินทางไปทางเพชรบูรณ์ สาย 2250 ก็ได้ ผ่านภูเขาสูงเล็กน้อย มีที่พักในศูนย์ไว้บริการจำนวนมาก เป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ที่ทุ่มเทกำลังกาย และใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย

 

หมายเลขบันทึก: 273176เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ...ที่นำมาให้ดู และ อ่านมีสาระดีมาก ครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท