วิสัยทัศน์(อีกครั้ง) เขียนโดย ดร.เสรี พงศ์พิศ


นึกว่าคนส่วนใหญ่จะเข้าใจ"วิสัยทัศน์" เลยต้องเขียนอีกครั้ง

วิสัยทัศน์

พิมพ์ ส่งเมล
เขียนโดย ดร . เสรี พงศ์พิศ   
Saturday, 27 June 2009

(เขียนขึ้นมาตามคำขอร้องของผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งได้ฟังผมพูดถึงคำคำนี้ แล้วรู้สึกว่า คำว่า "วิสัยทัศน์" ที่เราแปลกันจากคำว่า vision ดูจะอ่อนเกินไป ท่านคงอยากให้ช่วยกันหาคำแปลใหม่ที่มีพลังมากกว่าคำว่าวิสัยทัศน์)



คำว่า “วิสัยทัศน์” ใช้กันมากในการทำยุทธศาสตร์พัฒนาในแทบทุกภาคส่วนวันนี้ แปลมาจากภาษาฝรั่งว่า
“vision” ซึ่งมีรากศัพท์ภาษาละติน videre เป็นคำกริยาที่แปลว่า มองเห็น ซึ่งมีรากภาษาเดียวกันกับคำว่า “วิสัย” ในภาษาบาลี (สันสกฤต)
  
       
คำนี้ใช้มาหลายพันปีแล้ว แต่เดิม
vision เป็นประสบการณ์ทางศาสนาของบุคคลบางคนที่มีคุณธรรม เป็นผู้นำ เป็นผู้แทนของพระเจ้า เช่น ในพระคัมภีร์ไบเบิลมีประกาศก (prophet) ที่ทำหน้าที่ประกาศ “พระวาจาของพระเจ้า” (the Words of God) เป็นผู้ตักเตือนมนุษย์ให้ปฏิบัติตามบัญญัติ ไม่ทำผิด ทำบาป คนเหล่านี้มักจะเห็น vision ที่แปลว่า“นิมิต” หรือ “ภาพนิมิต” “ภาพเหมือนฝันที่คนธรรมดามองไม่เห็น”
   
      
เป็นภาพที่เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ เกี่ยวกับพระเจ้า เกี่ยวกับคุณธรรม เกี่ยวกับอุดมคติ หรือเป้าหมายบางประการที่ต้องการให้เกิดขึ้นจริง ภาพที่พระเจ้าทรงเปิดเผยทางบุคคลบางคนที่ทรงอนุญาติให้เห็นภาพนิมิตนั้น
 

ในหนังสือ Apocapysis (หนังสือวิวรณ์ – เล่มสุดท้ายในพระคัมภีร์ไบเบิล) มีบทที่พูดเรื่อง “ฟ้าใหม่แผ่นดินใหม่” ไว้ชัดเจนมาก ซึ่งเป็น vision ของผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้ที่ชาวคริสต์ถือว่าได้รับแรงบันดาลใจจากพระเจ้า (divine inspiration)
   
      
โมเสสขณะที่อยู่ในประเทศอิยิปต์ประกาศให้ชาวยิวที่เป็นทาส-เชลยในประเทศนั้นว่า พระเจ้าส่งเขามาปลดปล่อยชาวยิวและพาไปยังแผ่นดินศักดิ์ศิทธิ์ (
Holy Land) ที่เต็มไปด้วย “น้ำนมและน้ำผึ้ง” ไปยังแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญา (Promised Land) อันเป็นภาพนิมิตที่เขาได้ “เห็น” มาก่อน
  
       
ภาพนิมิตและภาพฝันมีพลัง เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน ทำให้คนเดินตามผู้นำที่จะนำพวกเขาไปสู่ชีวิตใหม่ แผ่นดินใหม่ ที่ไม่มีความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป
  
       
เมื่อปี พ.ศ.
2446 ที่บ้านหนองหมากแก้ว อำเภอหนองหิน (ก่อนนี้วังสะพุง) จังหวัดเลย มีพระภิกษุ 2 รูป ฆราวาส 2 คน ลุกขึ้นมาประกาศตัวเป็นผู้นำ เพราะเกิดข้าวยากหมากแพง โรคระบาด ผู้คนลำบากยากแค้น แต่รัฐไม่ได้ช่วยเหลือ ซ้ำยังบังคับให้หาเงิน 4 บาทไปเสียภาษี หรือให้ผู้ชายไปทำงานแทน

ผู้นำทั้ง
4 ประกาศว่า “ต่อไปนี้จะไม่มีเจ้ามีนาย ใบไม้จะเป็นเงินเป็นทอง” นี่คือกบฎผีบุญรุ่นสุดท้ายของสยาม สิ่งที่พวกเขาประกาศ คือ “ภาพนิมิต” ซึ่งเป็น “อุดมคติ” และองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของแนวคิดของเรื่อง “ลัทธิว่าด้วยสังคมพระศรีอาริย์” (Messianism)
         
สังคมไทยต้องการผู้นำที่มี
vision แต่เป็น vision ที่มีวิธีการที่ดีด้วย ไม่ใช่มีวิสัยทัศน์ดี วิธีการเลวอย่างที่มักเห็นกันบ่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 272991เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท