นางมยุรี แสงชาติ


ประวัติส่วนตัว

เกิดวันพุธที่  23  พฤษภาคม  2499

ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับมหาบัณฑิต

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27290เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

วันนี้ได้มาสำรวจดูบล็อกของท่านแล้ว ซึ่งก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี ในครั้งแรกก็มีปัญหาอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา ในที่สุดท่านก็สร้างได้ ขอให้ทดลองสร้างบล็อกใหม่ และนำสาระความรู้ต่าง ๆ ของท่านที่มีอยู่มานำเสนอให้เพื่อน ๆ ดู เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ต่อไปที่แห่งนี้ก็จะเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ขึ้น ตามที่ท่านกำลังเรียนกันอยู่มิใช่หรือ ขอให้พยายาม แล้วความสำเร็จและความภาคภูมิใจก็จะเป็นของพวกเราทุกคนที่ร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา ครับขอแสดงความยินดีที่เริ่มต้น

มานิต..

วันนี้ได้อ่านหนังสือสุภาษิตสอนศิษย์ ซึ่งแต่งโดย เอกรัตน์ อุดมพร รู้สึกประทับใจสุภาษิตบทหนึ่งที่กล่าวว่า

  เรียนเป็นสุขสนุกดีไม่มีเครียด

จะไม่มีความขี้เกียจมาเสียดสี

จากเป็นวันมาเป็นเดือนเคลื่อนเป็นปี

ชื่นฤดีปรีดาพาสุขใจ

  หมายความว่า  การเรียนที่ดีต้องเรียนอย่างสนุกสนาน มีความสุขสำราญในการเรียน มีชีวิตชีวาไม่เคร่งเครียด ทำให้เรียนไปได้ตลอดรอดฝั่ง ไม่ขี้เกียจจะเพิ่มพูนความสนใจขึ้นเรื่อยๆ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี จากปีเดียวเป็นหลายๆปี จนกระทั่งติดนิสัยเรียนสุขไปตลอดชีวิต ความสุขสนุกสนานในการเรียนหาได้จากที่ไหน?

1.จากวิธีการเรียนที่ถูกต้อง ก็คือ เรียนโดยใช้หลักอิทธิบาท 4 หลักนี้ไม่เพียงจะช่วยให้เรียนสำเร็จอันเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนากันเท่านั้น หากยังก่อให้เกิดความสุข ความกระฉับกระเฉง กระชุ่มกระชวยในการเรียนด้วย ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติอยู่ 4 ข้อ คือ

1.ฉันทะ ความพอใจ  พอใจเรียน คือสร้างความชอบความยินดีความรักใคร่ในการศึกษาและในวิชาที่เรียน มีความต้องการที่จะเรียน ใฝ่ใจรักที่จะรู้ในเรื่องนั้นๆอยู่เสมอ ปรารถนาจะเรียนรู้ให้ดียิ่งๆขึ้น

2.วิริยะ ความเพียร  พากเพียรเรียน คือมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาเล่าเรียนด้วยความพยายาม ขยันขันแข็ง เข้มแข็ง อดทน ไม่ท้อถอย

3.จิตตะ ความคิดมุ่งไป ตั้งใจเรียน คือตั้งจิตเข้าไปรับตั้งใจเข้าไปรู้ในวิชาที่เรียน เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่การศึกษาและวิชาที่เรียนอย่างเต็มกำลัง

4.วิมังสา  ความไตร่ตรองหรือทดลอง ใคร่ครวญเรียน คือหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผลและตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในความรู้ในเรื่องนั้นๆมีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น

    ความรู้กับคุณธรรม จะต้องอยู่เคียงข้างกันและกัน ต้องคอยเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันเสมอ จึงจะสำเร็จประโยชน์

    ในพระพุทธศาสนาได้สอนให้ทุกคนมี "วิชชาจรณสัมปันโน" คือ"สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ"  หมายความว่า  เกิดเป็นคนต้องมีความรู้ดี และมีความประพฤติดีด้วย จึงจะสร้างประโยชน์สุขให้แก่ชีวิตแสงคมได้มาก

    การมีความรู้ทางเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนาชีวิตและสังคมให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างถูกต้องดีงามโดยไร้ปัญหาได้  จึงจะต้องมีความรู้ทางธรรม  มีคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่ง

    ความรู้ในทางโลกนั้น ก็เล่าเรียนไปตามความชอบความสนใจและความถนัด  แต่ความรู้ทางพระสาสนานั้น เป็นที่น่าศึกษาค้นคว้ามาก เพราะทุกอย่างในพระพุทธศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นของจริง  จริงทั้งพระศาสดาจริงทั้งคำสอน

 

ได้เข้ามาเยี่ยมชมและอ่านความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ให้มีความสุข ทำให้มีกำลังใจในการตั้งใจเรียนมากขึ้น

เกษมศรี  สมสาร์  c.i  6.1  no.  14

เก่งมากพี่ สู้ต่อไปนะคะ

ได้อ่านแล้วมีความรู้และมีกำลังใจเพิ่มขึ้นค่ะ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะค่ะ

http://gotoknow.org/todsaporn

 

ขอแสดงความยินดีที่ทำบล็อกนี้ได้สำเร็จ ค่อนข้างดี มีเนื้อหาสาระพอสมควร กรุณาแจ้งไปให้เพื่อน ๆ ทราบที่อยู่และแสดงความคิดเห็นด้วยตัวของเขาเอง หวังว่าท่านจะพัฒนาและอัพเดตบล็อกนี้อย่างสม่ำเสมอทุก ๆ วัน หรือ 2-3 วันต่อครั้งก็จะเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำมากขึ้น ท่านสามารถใช้เวทีแห่งนี้สร้างผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกทั้งในและต่างประเทศได้ตลอดไป ไม่สิ้นสุด กรุณาทำเว็บลิงค์ด้วยเพื่อให้บล็อกสมบูรณ์

ลองเยี่ยมชมบล็อกของผมได้ http://spaces.msn.com/ymanit และ http://gotoknow.org/ymanit

มานิต

พี่มยุรีคะ  หมูส่งข้อความให้พี่  พี่เป็นคนน่ารักมากๆๆๆๆๆเลยค่ะ

การพัฒนาการคิด

     การคิดเป็นทักษะพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่ง  เป็นจุดหมายหลักของการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน การพัฒนาการคิดมี  3  ระดับ ดังนี้

    ทักษะการคิด  ที่จำเป็นได้แก่ ทักษะการสื่อสาร  เช่น การฟัง อ่าน รับรู้ อธิบายการพูด การเขียน การแสดงออก เป็นต้น ทักษะที่เป็นแกนหรือทักษะขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ การแปลความ การใช้เหตุผล การสรุปความ เป็นต้น  และทักาะการคิดขั้นสูง ได้แก่ ทักษะการทำนาย  การทดสอบสมมติฐาน การพิสูจน์ เป็นต้น

   ลักษณะการคิด  ที่ควรพัฒนาเด็กมี 8 ประการ  ได้แก่  การคิดคล่อง  การคิดหลากหลาย  การคิดละเอียด  การคิดชัดเจน  การคิดกว้าง  การคิดไกล  การคิดลึก  รวมทั้งการคิดอย่างมีเหตุผล

    กระบวนการคิด  เป็นการคิดระดับสูงสุด  กระบวนการคิดที่สำคัญได้แก่  กระบวนการคิดแก้ปัญหา  กระบวนการคิดสร้างสรรค์  กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

กรรณิการ์ แจ้งไพศาล

อ่านบล็อกของพี่แล้วได้ความรู้และน่าสนใจมากค่ะ

                                 กรรณิการ์ค่ะ

http://gotoknow.org/kannikarjaeng

 

   เข้าชมเว็บของพี่แล้ว อ่านแล้วสบายใจขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้คะ

                      บุญหยาด  พื้นทอง

วันนี้ได้มาเยี่ยมชมผลงานของพี่  ขอแสดงความยินดีในความสำเร็จ  ขอขอบพระคุณพี่มากนะคะที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม biog  ของน้อง  น้องจะมาเยี่ยมพี่อีก   สุภาวดี  ทองอุ่น 

http://www.gotoknow.org/supavadee

จ.ส.อ.จิตรบรรจง แสงชาติ

ดีใจที่ได้รู้จัก

 

นางสกุลผมเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท