บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ผู้นำภูมิปัญญากับศูนย์เรียนรู้ชุมชน /ศูนย์ฟื้นฟูอีสานคืนถิ่น ฯลฯ


ผู้นำภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้อาวุโส ผู้ตรากตรำทำงานที่อดทนต่อความยากลำบาก กว่าที่ผู้คนจะเข้าใจ ผู้ที่คนในชุมชนกับการพัฒนาสมัยใหม่ที่มีผลจากการรวมศูนย์อำนาจรัฐในนโยบายการเกษตรกล่าวหาว่าเป็นคนบ้า เสียสติ มั่ว สารพัด มาบัดนี้เมื่อศูนย์เรียนรู้ชุมชนเกิดขึ้น เมื่อศูนย์ฟื้นฟูอีสานคืนถิ่นเกิดขึ้นจากการสั่งสมประสบการณ์ คุณค่าภูมิปัญยที่เคยถูกกล่าวขานว่าบ้า จึงกลายเป็นองค์รวมของวิชาชีพ องค์รวมของความรู้ องค์รวมของการรื้อฟื้นชีวิตที่กลับมาพึ่งธรรมขาติ ประกอบกับการจัดการการเรียนรู้ ได้หาทางออกของชีวิตเกษตรกว่า 10,000 ครัวเรือนให้กลับมาหายจน หายโง่ และกลายเป็นผู้รู้ภูมิปัญญาสืบสานความคิด จิตสำนึก สานต่อการสร้างวิถีชีวิตเกษตรที่ยากไร้ให้ลืมตาอ้าปากได้ ไม่ต้องพึงรัฐและทิศทางที่ผิด แต่น่าเสียใจที่หน่วยราชการกับหาประโยชน์ แอบอ้างเป็นเป็นผลงาน เป็นหน่วยงานรัฐที่จิตสำนึกต่ำทราม ควรประนามให้เลิกพฤติกรรมเหล่านี้ และหันกลับมาสนับสนุน ส่งเสริม ประสานงบประมาณให้เขา ไม่ใช่เด็ดยอดเอาผลงานรายงานเอาความดีความชอบ

มีพระสงฆ์ อาทิ อาจารย์หลวงพ่อนาน บ้านท่าสว่าง จังหวัดสุรินท์ อาจารย์พระไพศาล วิสาโร วัดป่าสุขโต จังหวัดชัยภูมิ อาจารย์พระบัญญัติ วัดป่าธรรมดา เมืองพล จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งชาวบ้านหลายคนในชุมชนท้องถิ่น แม้แนวทางที่กำลังดำเนินการอยู่ และทำงานสั่งสมบทเรียนประสบการณ์มานานแล้ว อาจจะยังไม่มี ไม่เป็นที่ยอมรับของใครๆ ก็ตามที แต่คนเหล่านี้ พระสงฆ์องค์เจ้าเหล่านี้ ก็ยังพยายามที่จะปฏิบัติเพื่อสร้างความรู้จริงให้เกิดขึ้น คนและพระเหล่านี้น่านับถือยิ่งและสมควรได้รับการยกย่องกล่าวขานว่าเป็นปราชญ์ภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง ปราชญ์ชาวบ้าน ครูของแผ่นดิน กับการลงมือปฏิบัติในสิ่งที่เชื่อ ในสิ่งที่เห็นปัญหา และทราบทางออก ลงมือทำอย่างจริงจัง จนกระทั่งแสงให้เห็นเป็นความรู้ที่แท้จริงนี้ ทำให้ชาวบ้าน พระหลายรูป สามารถเป็นผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้านได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้เพราะ 1.คนเหล่านี้ พระสงฆ์องค์เจ้าเหล่านี้ ล้วนมีธรรมะอยู่ในหัวใจ เป็นธรรมมะที่ไม่มีการกล่าวว่า มีศีล 5 แต่เป็นธรรมะของความรัก ความอยากช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยใจ และธรรมะโดยการปฏิบัตินี้เองที่เป็นข้อคิดของปราชญ์ชาวบ้าน จากผู้คนจำนวนมากที่พูดธรรมมะกันแต่ปากแต่ไม่ปฏิบัติ หรือไม่ก็ปฏิบัติตรงกันชข้าม  2.คนเหล่านี้ คิดทำ สรุปบทเรียน แล้วนำมาปฏิบัติและแบ่งปันถ่ายทอดเป็นความรู้ให้คนอื่นเห็นได้ อย่างชัดเจน ซึ่งมีรูปธรรม ทั้งชีวิต พฤติกรรม และการกระทำให้เห็นทะลุปรุโปร่ง รวมทั้งมีหลักวิชาการที่พร้อมเผยแพร่ให้ลูกหลานพี่น้อง คนทุกข์คนยากได้นำไปใช้เป็นแบบอย่าง โดยไม่เก็บความรอบรู้นั้นไว้กับตัวเองฝ่ายเดียว 3. คนเหล่านี้มีความรักที่เผื่อแผ่ถึงคนอื่น ความเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ปราชญ์ภูมิปัญญาไม่ได้อยู่ที่ความฉลาดของปัญญาที่เกิดจากการกระทำ แต่เกิดจากความรักที่มีธรรมมะเป็นแรงบันดาลใจให้ ให้เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล แบ่งปันให้ลูกให้หลาน นี่เป็นมรดกภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนคนอีสาน(อาณาจักรล้านช้าง) 4. คนเหล่านี้ได้ใช้ภูมิปัญญา ความอดทน อดกลั้น และฝ่าฟันอุปสรรค เพื่อพัฒนาวิถีชีวิต คิดการณ์ไกล มีจุดเด่นที่ควร เรียนรู้ มี 2 ด้าน ได้แก่ความอดทน อดกลั้น อาทิ บุกเบิกที่ดิน ทำเกษตรผสมผสาน เกษตรประณีต1 ไร่พึ่งตนเองได้ อีกด้านหนึ่ง ก็ขยายเครือข่าย การเรียนรู้ สร้างแนวร่วมภูมิปัญญา ปราชญ์เครือข่าย คิดถึงอนาคตข้างหน้า ที่สำคัญน้อมนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง มาเป็นแนวทาง อบรมสั่งสอนคนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย 5.ปราชญ์ภูมิปัญญา ไม่ว่าจะเป็นพ่อทัศน์ กระยอม พ่อผอง เกตุคง พ่อบุญเต็ม ชัยลา พ่อคำเดื่อง ภาษี มีโลกทัศน์ที่ถือเป็นอุดมธรรมภูมิปัญญา เช่น ปรัชญาวิสัยทัศน์ รู้สรรพสิ่งทั้งปวง มองทุกอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งภูมิปัญญาเหล่านี้ถือเป็นเข็มทิศชี้วัดที่น่าสนใจและน่าศึกษาเรียนรู้ เอาเป็นแบบอย่าง เป็นอย่างยิ่งยวด 6.เป็นทั้งครูภูมิปัญญา ด้านเกษตรกินได้ เพื่อปลดหนี้สิน ลดความอยาก สร้างความมีอยู่มีกิน สานฝันตนเองและครอบครัวและพร้อมที่จะถ่ายทอดสุดชีวิต มีอุดมการณ์ที่เป็นอุดมธรรมที่ต้องการเชิดชูภูมิปัญญาอีสานอย่างเด็ดเดี่ยว โดยเฉพาะการขบายเครือข่ายปราชญ์ภูมิปัญญาที่ก้วางชวางและถือเป็นแบบอย่างของสิ่งที่ดีอย่างยิ่งกับการสร้างภูมิรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน 7.เป็นภูมิปัญญาที่เข้มแข็ง เพราะผ่านความยากลำบากมามาก ในการสร้างพลังแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่หาไม่ได้ในระบบโรงเรียนของรัฐที่ล้าหลังและแปลกแยกกับสังคม ชุมชน  ผมศรัทธาและเชื่อมั่นปราชญ์ภูมิปัญญาเหล่านี้ ท่านคือคนดีศรีอีสาน คือบุคคลากรทางการศึกษาเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ เข้มแข็งที่สุดในด้านภูมิปัญญหาเลี้ยงชีพ แก้ความอด หิวและยากจน ลอการถูกเอารัดเอาเปรียบ และเป็นทางออกในการลดปัญหาความเดือดร้อน ให้พี่น้องชาวอีสานอย่างแท้จริง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน องค์กรประชาชน ภาคประชาสังคม NGO นอกจากจะต้องส่งเสริมและให้การสนับสนุนแล้ว รวมถึงการสานต่องานแล้ว ยังควรให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ จัดหลักสูตรภูมิปัญญา จัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง และนักเรียนทุกระดับควรมาเรียนที่โรงเรียนเหล่านี้ 

 

หมายเลขบันทึก: 272690เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 06:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท