การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น


การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น    ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2    โรงเรียนมหาวิชานุกูล
ชื่อผู้ศึกษาค้นคว้า ฐิติกาญจน์  จันทรสมบัติ
สถานศึกษา   โรงเรียนมหาวิชานุกูล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต  1
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีที่พิมพ์    2549

บทคัดย่อ

 การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ  (1)  พัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  (2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ก่อนและหลังการใช้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม   (3)  ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามที่พัฒนาขึ้น  (4)  หาค่าความคงทนการเรียนรู้หลังจากเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และ  (5)  ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2549  โรงเรียนมหาวิชานุกูล  อำเภอเมือง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม  เขต  1  สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จำนวน 30  คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี  4  ชนิด  คือ  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  16  บท  แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  เป็นชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ  แผนจัดการเรียนรู้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ  t-test  (Dependent  Samples) 

 ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
  1.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  84.98/83.42  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่  80/80
  2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 
  3.  บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น  ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม มีค่าดัชนีประสิทธิผลของเท่ากับ  0.6266  แสดงว่า  นักเรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเรียน  คิดเป็นร้อยละ  62.66
  4.  หลังการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ที่เรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ  33.34  และหลังจากผ่านไป  2  สัปดาห์  คะแนนเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ  32.03  คะแนนเฉลี่ยลดลง  1.34  และสูญเสียความทรงจำคิดเป็นร้อยละ 3.34  ของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน
แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้
  5.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ( = 4.91)  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเช่นกัน   นักเรียนเห็นว่า  ข้าพเจ้ารู้สึกเชื่อว่าวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต  การใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้วิชาภาษาอังกฤษ  และมีการวัดผลระหว่างภาคปลายภาคและแจ้งผลการวัดให้นักเรียนทราบ
  โดยสรุป  การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการปฏิบัติเท่ากับ 84.98 และประสิทธิผลด้านผลลัพธ์เท่ากับ 83.42  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  80/80   นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  62.66  มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด  และมีความคงทนต่อการเรียนรู้  ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม  สามารถพัฒนานักเรียนที่รอบด้านทั้งความรู้  (Knowledge)  ด้านการปฏิบัติ  ทักษะความชำนาญ  (Practice)  และด้านความรู้สึก (Attitude) เจตคตินึกคิด  มีการรักการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น และวิชาภาษาอังกฤษมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต


TITLE     The  Development  of  English  Reading  Lessons  by  Using  Local 
    Contexts  in  Maha  Sarakham  Provincial  Culture  for 
    Matthayemsueksa  2  at  Maha  Wichanukun  School
AUTHOR   Thitikan  Chantarasombat
INSTITUTE  Maha  Wichanukun  School
    Under  the  Office  of  Maha  Sarakham  Educational  Service  Area  Zone  1
    The  Office  of  the  Basic  Education  Commission
DATE    2006

ABSTRACT

 This  study  aimed  to  (1)  develop  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  to  have  a  required  efficiency  of  80/80,  (2)  compare  English  reading  achievements  of  Matthayomsueksa  2  (grade  8)  students  before  and  after  the  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  (3)  find  out  an  effectiveness  index  of  the  developed  English  reading  lessons  by  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  (4)  find  out  learning  retention  after  learning  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  and  (5)  examine  Matthayomsueksa  2  students’  satisfaction  with  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture.  The  sample  used  in  this  study  consisted  of  30  Matthayomsueksa  2/1  students  attending  Maha  Wichanukun  School,  Amphoe  Mueang,  the  Office  of  Maha  Sarakham  Educational  Service  Area  Zone  1  under  the  Office  of  the  Basic  Education  Commission  in  the  first  semester  of  the  academic  year  2006,  obtained  by  the  simple  random  sampling  techniqes.  Four  types  of  the  instruments  used  in  the  study  were:  16  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  a  40-item  4-choice  learning  achievement  test  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  for  Matthayomsueksa  2,  plans  for  organization  of  learning  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture,  and  a  scale  on  Matthayomsueksa  2  students’  satisfaction  with  the  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture.  The  statistics  used  for  analyzing  the  collected  data  were  percentage,  mean,  standard,  deviation,  and  t-test  (dependent  samples).
 The  results  of  the  study  were  as  follows:
  1.  The  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  for  Matthayomsueksa  2  had  an  efficiency  of  84.98/83.42  which  was  higher  than  the  established  requirement  of  80/80.
  2.  Matthayomsueksa  2  students’  learning  achievements  before  and  after  learning  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  were  at  the  .05  level  of  statistically  significant  differences.  A  learning  achievement  mean  score  after  learning  was  higher  than  before  leaning.
  3.  The  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  had  an  effectiveness  index  of  0.6266,  showing  that  the  students  had  learning  progress  from  before  learning  at  62.66  percent.
  4.  After  learning  Matthayomsueksa  2  students  who  learned  by  the  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Saarakham  provincial  culture  had  an  achievement  mean  score  of  33.34;  and  2  weeks  after  learning  they  had  a  learning  retention  mean  score  of  32.03  with  decrement  of  the  mean  score  for  1.34,  and  a  loss  of  memory  at  3.34  percent  of  the  mean  score  after  learning,  showing  that  the  students  had  learning  retention.
  5.  Matthayomsueksa  2  students  showed  their  satisfaction  with  learning  by  uses  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Sarakham  provincial  culture  as  a  whole  at  the  highest  level  ( = 4.91).  And  when  each  aspect  was  considered,  it  was  found  that  their  satisfaction  was  also  at  the  highest  level  in  every  aspect.  The  students  provided  their  opinions:  “I  feel  I  believe  that  English  is  useful  to  living  my  life. The  use  of  this  teaching  method  or  teaching  technique  can  cause  me  to  be  swell-rounded at  English.  Also,  there  are  mid-term  and  final  evaluations  and  the  results  of  evaluations  are  informed  to  students.”
  In  conclusion,  the  development  of  English  reading  lessons  by  using  local  contexts  in  Maha  Salakham  provincial  culture  had  an  efficiency  in  the  performance  process  of  84.98  and  an  effectiveness  in  output  of  83.42  which  were  higher  than  the  established  requirements  of  80/80.    The  students  had  developments  in  knowledge  at  62.66  percent,  had  satisfaction  with  learning  at  the  highest  level,  and  had  learning  retention.  These  reading  lessons  can  be  regarded  as  appropriately  efficient  and  effective  learning  innovations  which  can  develop  students  in  all  aspects  of  knowledge,  practices,  and  attitudes,  more  of  English  leaning.  Also,  English  is  to  living  one’s  life.

หมายเลขบันทึก: 272601เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นานที่ดีมาก เยี่ยมจริง ๆ ขอดูตัวอย่างทั้ง 5 บทได้ไหมคะ

ใกล้เคียงกับงานที่ทำ..ขอดูตัวอย่างทั้ง 5 บทได้ไหมคะ...เพื่อเป็นแนวทางในการทำค่ะ....ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท