บทบาทของยีนความหอมในข้าว


ในข้าวไม่หอม ยีน Os2AP ทำงาน ทำให้ อัลดีไฮด์ เปลี่ยนเป็น GABA ส่วนในข้าวหอม ยีน Os2AP ไม่ทำงาน อัลดีไฮด์ จึงถูกนำไปใช้สร้างสารหอม 2AP

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่ติดตามบล็อกนี้ทุกท่าน สำหรับท่านที่เพิ่งเข้ามาเจอบล็อกนี้เป็นครั้งแรก แนะนำให้อ่านสองเรื่องก่อนหน้านี้ก่อนนะครับ ไม่งั้นท่านอาจจะมึนได้

ตอนที่แล้วผมได้พูดถึงการค้นพบ ยีนความหอม Os2AP โดยนักวิจัยไทย และการจดสิทธิบัตรยีนความหอมและการใช้ประโยชน์ ตอนนี้ผมจะมาเล่าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้ายีนควบคุมความหอมในข้าวนี้แหละครับ อีกสักตอน

ก่อนอื่นขอปูพื้นให้กับท่านที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับเรื่องของยีนหรือดีเอ็นเอกันสักเล็กน้อยนะครับ ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนั้นประกอบด้วยเซลล์ ในแต่ละเซลล์ก็จะมีส่วนที่เป็นนิวเีคลียสซึ่งเป็นที่อยู่ของดีเอ็นเอ (ขดอยู่ในรูปแบบของโครโมโซม) ในดีเอ็นนั้นเองก็จะมีส่วนที่เรียกว่า ยีน คล้ายๆ กับเป็นแบบพิมพ์เขียวฝังอยู่ การทำงานของยีนเรียกว่าเป็นการแสดงออก (express) ให้ผลผลิตเป็นโปรตีน และมีโปรตีนบางชนิดทำหน้าเป็นเอนไซม์ซึ่งมีความจำเป็นต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

 

เจ้ายีนความหอม Os2AP ก็ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ที่ยังไม่มีใครทราบหน้าที่ของเอนไซม์ตัวนี้อย่างแน่ชัด นักวิจัยที่ทำงานด้านนี้คาดกันว่า เอนไซม์ตัวนี้น่าจะทำหน้าที่ในการลดความเป็นพิษในเซลล์จากการสะสมของสารอัลดีไฮด์ตัวหนึ่ง โดยการเปลี่ยนอัลดีไฮด์ให้อยู่ในรูปของสาร GABA (สารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง พบมากในข้าวกล้องงอก)

ถึงตอนนี้ท่านคงจะสงสัยว่า แล้วมันเกี่ยวข้องกับการสร้างกลิ่นหอมในข้าวอย่างไร ครับ ความเป็นจริงมันมีอยู่ว่า ในข้าวหอมทุกชนิดในโลกนี้ (เท่าที่ทราบตอนนี้นะครับ) เจ้ายีนความหอม Os2AP เป็นยีนที่ไม่ทำงานครับ อ้าว ถ้าอย่างนั้นอัลดีไฮด์ก็ต้องสะสมจนทำให้เกิดเป็นพิษต่อเซลล์ขึ้นได้น่ะซี ถูกต้องแล้วครับ ตรงนี้ธรรมชาติก็เลยหาทางออกให้มีการเปลี่ยนอัลดีไฮด์ให้เป็นสารชนิดอื่นโดยไม่ต้องง้อเอนไซม์จากยีนความหอม นั่นก็คือ เปลี่ยนให้เป็นสารหอม 2AP ซึ่งไม่เป็นพิษ นั่นเองครับ จึงทำให้ข้าวหอมสามารถอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ไงล่ะครับ ถ้าธรรมชาิติไม่มีกลไกตรงส่วนนี้พวกเราก็คงไม่มีโอกาศลิ้มรสข้าวหอมเป็นแน่แท้

สรุปก็คือ ในข้าวไม่หอม ยีน Os2AP ทำงาน ทำให้ อัลดีไฮด์ เปลี่ยนไปเป็น GABA ส่วนในข้าวหอม ยีน Os2AP ไม่ทำงาน อัลดีไฮด์ จึงถูกนำไปใช้สร้างสารหอม 2AP ได้

ถึงตอนนี้อยากให้ท่านผู้อ่านลองคิดเล่นๆ นะครับว่า แล้วเราจะใช้ความรู้ตรงนี้ไปทำให้ข้าวที่จากเดิมไม่หอมให้กลายเป็นข้าวหอมขึ้นมาเนี่ย จะทำกันอีท่าไหน

ได้แน่นอนครับ ด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพสามารถทำได้ง่ายๆ ครับ แต่เกรงว่าบทความมันจะยาวเกินไปน่ะครับ ขอยกยอดไปคราวหน้าก็แล้วกันนะครับ อย่าลืมติดตามนะครับ

หมายเลขบันทึก: 272590เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

นึกถึงน้องๆที่เรียนวิชา Breeding ถ้าได้อ่านบล็อกนี้คงจะเรียนสนุกขึ้นเยอะเลยครับ เนื้อหาน่าติดตาม

ขอบคุณครับ

#1 สวัสดีครับน้องกบ ก็พยายามเอาความรู้มาแบ่งปันกันน่ะครับ เดี๋ยวมันจะเลือนหายไปตามกาลเวลา ^ ^

ขอบคุณมากค่ะ

ขออนุญาตใช้เป็นreferenceนะคะ

ใครมีข้อมูลเกี่ยวกับยีนความหอมของข้าวช่วยส่งมาให้หน่อยน่ะค่ะ....ต้องการมากๆ..ด่วนๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท