คุณรู้จัก " Q : Quotient " มากแค่ไหน


ตั้งใจจะหางาน เรื่อง "ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค : Adversity Quotient (AQ)" ของตัวเอง แต่เมื่อไปเจอสารพัด Q ที่น่าสนใจมากๆ เลยนำมาบันทึกต่อไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน...

       วันนี้ พยายามหางานของตัวเอง ที่เคยเขียนไว้ตอนที่ยังเป็นนักศึกษา เกี่ยวกับเรื่อง "ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค : Adversity Quotient (AQ) แต่เผอิญไปเจอบทความนี้น่าสนใจมาก  ได้มาจากบทความชื่อ Q for Life นี้ เป็นบทความเกี่ยวกับการรวบรวม Q : Quotient ที่พบเห็นกันบ่อยๆ เลยเก็บมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกต่อ...

     ...Q for Life "Q" ตัวนี้มาจาก Quotient ซึ่งเราจะรู้จักมากกับคำว่า IQ (Intelligence Quotient) และปัจจุบันเราจะได้ยินคำว่า EQ (Emotional Quotient) กันมากขึ้นควบคู่กันไป แต่จริงๆ แล้วมี Q - Quotient หรือ Quality กันอีกหลายตัว ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า

  • IQ - Intelligent Quotient (เชาวน์ปัญญา) คือความสามารถด้านสติปัญญา ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วนคือ จากยีนส์หรือพันธุกรรม และจากการเลี้ยงดู โดยทั่วไปจะยึดตัวเลข 100 เป็นระดับไอคิวเฉลี่ยของคนปกติ ตามหลักสถิติแล้วคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68 ของประชากรทั้งหมดมีไอคิวอยู่ที่ระดับ 85-115 เราเชื่อกันว่า คนไอคิวสูงมักจะเรียนเก่ง ฉลาด แต่ที่จริงแล้ว IQ มีผลต่อความสำเร็จในชีวิตเพียง 20% เท่านั้น

  • EQ - Emotional Quotient (ปรีชาทางอารมณ์) คำนี้มาจากแนวคิดของแดเนียล โกลด์แนน นักจิตวิทยา สหรัฐอเมริกา หมายความถึงการรู้จักควบคุมตนเอง เข้าใจอารมณ์ มีวินัย บังคับใจตนเองไม่แสดงออกตามอารมณ์พาไป คนมี EQ สูงจะมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นง่าย ทำงานเป็นทีมได้ รู้จักเห็นอกเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น

  • AQ - Adversity Quotient (ความสามารถในการฝันฝ่าปัญหาอุปสรรค) คือ ความสามารถในการที่อดทนทั้งด้านความยากลำบากทางกาย ความอดกลั้นทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ที่สามารถเผชิญและเอาชนะเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไม่มีความแน่นอน ปัญหาที่กล่าวถึงนี้จะเป็นปัญหาเล็กน้อย เป็นปัญหาปานกลาง หรืออาจจะเป็นปัญหาใหญ่โตซับซ้อนก็ได้ คนที่มี AQ สูงหรือมีจิตใจชอบการต่อสู้ จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่รู้สึกท้อแท้

  • MQ - Moral Quotient (ความฉลาดทางจริยธรรมและศีลธรรม) คือ การมีระดับจริยธรรมและศีลธรรมส่วนตัว ซึ่งสามารถส่งผลต่อการควบคุมตนเองให้มีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซื่อสัตย์ มีความรู้ผิดรู้ถูก อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ MQ เกิดจากการสั่งสมและปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมมาตั้งแต่เด็ก มากน้อยแล้วแต่การปลูกฝัง และ MQ จะฝังลึกลงใต้จิตสำนึก รอเวลาที่ได้รับการกระตุ้นอีกครั้ง โดยการอบรมสั่งสอน การฟังธรรม และวิธีอื่นๆ ไม่สามารถฝึกฝนหรือขัดเกลาได้ในเวลาสั้น

  • HQ - Health Quotient (ความฉลาดในด้านสุขภาพ - พลานามัยสมบูรณ์) คือ ความสามารถทางการจัดการและการบริหารสุขภาพ ใส่ใจสุขภาพของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เคยคิดไหมว่าถ้าหากเราทำงานหนักโดยไม่ใส่ใจต่อสุขภาพหรือการพักผ่อนใดๆ มันจะ เกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แน่นอนว่าความเครียดถามหา สุขภาพกายอ่อนแอ สุขภาพจิตย่ำแย่และในที่สุด ผลการปฏิบัติงานก็จะไม่มีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรดูแลและใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองสักนิด ด้วยการหาเวลาออกกำลังกายเสียบ้างหรือหันไปเล่นกีฬาสุดโปรด เพราะการออกกำลังกายนั้นจะช่วยทำให้สมองทุกส่วนทำงาน ระบบความจำดีขึ้น และที่สำคัญ จะทำให้มีสมาธิในการทำงานมากขึ้นด้วย

  • SQ - Social Quotient (ทักษะทางสังคม) คือความสามารถในการเข้าสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส การวางตัวดี รวมถึงภาษากาย (body language) หรือแม้แต่การสบตา (eye contact) ขณะพูดคุยกับผู้อื่น รวมถึงทักษะด้านอื่นๆ เช่น ความตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีต่อองค์กร SQ ใกล้เคียงกับ EQ ในเรื่องของอารมณ์และมนุษยสัมพันธ์ แต่ EQ ไม่มีเรื่องของการแต่งตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง

  • OQ - Optimist Quotient (การมองโลกในแง่ดี) คือการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ทำจิตใจให้แจ่มใส พร้อมเผชิญปัญหา มองอุปสรรคเป็นความท้าทาย คนที่มองโลกในแง่ดี เมื่อมีปัญหาจะไม่เครียดจนเกินไปและพร้อมจะฝ่าฟัน ซึ่งต้องมีความมานะอดทน ทำให้ประสบความสำเร็จมากกว่าการมองโลกในแง่ร้าย

  • UQ - Utopia Quotient (การสร้างสรรค์จินตนาการ) คือรู้จักคิดฝันทางบวก เป็นที่มาของความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative) จินตนาการเป็นการพัฒนาสมองซีกขวาให้ทำงานได้ดีขึ้น

เราสามารถพัฒนา Q (Quality) หรือคุณภาพด้านต่างๆ ได้ โดยสังเกตว่ามีพฤติกรรมไหนที่บกพร่อง และพยายามปรับปรุงเรื่องนั้น เช่น

  • เชาวน์ปัญญา (IQ) โดยการกระตุ้นให้สนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ค้นหาคำตอบในเรื่องที่อยากรู้

  • ปรีชาทางอารมณ์ (EQ) โดยต้องรู้อารมณ์ตนเอง หากหงุดหงิดควรออกห่างจากสิ่งที่ทำให้โมโห เข้าใจอารมณ์ผู้อื่น เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่น มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคม

  • ความสามารถในการเผชิญอุปสรรค (AQ) โดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ฝึกทำกิจกรรมต่างๆ แก้ปัญหา ช่วยเหลือตนเอง เผชิญอุปสรรค

  • การมีจริยธรรม ศีลธรรม (MQ) เช่น รู้จักขอโทษเมื่อผิด ให้โอกาสในการแก้ตัว

  • พลานามัยสมบูรณ์ (HQ) รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายและตรวจร่างกายสม่ำเสมอ

  • ทักษะทางสังคม (SQ) โดยการทำงานเป็นกลุ่ม เข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น ฝึกมารยาทและการวางตัวในสังคม คบเพื่อนที่หลากหลาย

  • การมองโลกในแง่ดี (OQ) โดยปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ คิดว่าทุกปัญหามีทางออก คิดว่าอุปสรรคเป็นแรงผลักดัน

  • สร้างสรรค์จินตนาการ (UQ) โดยลองจินตนาการเกี่ยวกับธรรมชาติ ดูภาพสถานที่ต่างๆ แล้วนึกว่าหากได้ไปที่นั่น จะทำอะไรบ้าง

บรรดา Q (Quality) for Life ทั้งหมดนี้ ล้วนแต่เป็นการนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของคนเราทั้งสิ้น เราลองพิจารณาตัวเองว่ามี Q แบบใด มากน้อยแค่ไหน และควรจะต้องพัฒนาทางด้านใด ลองมาเริ่มต้นด้วยกันมั้ยคะ หรือถ้าหากคุณมี Q (Quality) for Life นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น มาแบ่งปันกันบ้างนะคะ...  by  มีนา

      ทั้งหมด คือ บทความที่ได้ไปเจอมาและเอามาเล่าไว้ก่อน จริงๆ แล้วในปัจจุบัน เราจะเห็นว่าหลายๆ วงการ มีการนำเอา Quotient ประกอบกับคำอื่นอีกมาก พอจะมี Q อื่นๆ ที่ยังไม่ได้อยู่รวมที่กล่าวมา ก็นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมได้คะ...

       บันทึกหน้าจะหางานของตัวเองให้เจอแล้วนำมาเล่ารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับ "ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค : Adversity Quotient (AQ)" อีกครั้งคะ

*_*

หมายเลขบันทึก: 272322เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท