๒.ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึงจุดหมาย


          การเรียนหนังสือนอกเวลาราชการที่เรียกว่า ภาคพิเศษ ภาคพิสดาร ภาคไม่ปกติ ฯลฯ สุดแล้วแต่จะเรียกนั้น การบริหารเวลาถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ เนื่องจากวันธรรมดาทุกคนต้องปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ทำหน้าที่เป็นนิสิต บางครั้งอาจเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน นอกจากนั้นยังต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ทำรายงาน ความเครียดอาจจะมาเยือนได้ การจัดการกับความเครียด ทางออกอย่างหนึ่งคงเป็นการพูดคุย ปรึกษาหารือกับเพื่อนฉันท์มิตร สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน คงจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

          นอกจากนั้น ควรมีการทำ log frame เพื่อวางแผนการเรียนอย่างเป็นระบบและ SWOT analysis หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสพัฒนาและอุปสรรค วิเคราะห์ตนเองเพื่อการเดินทางไปสู่จุดหมายตามที่วางไว้

          บันทึกนี้ขอเขียนอนุทินครั้งที่ ๒ และ ๓ ตามลำดับดังนี้

          อนุทินครั้งที่ ๒ วันอาทิตย์ที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๒ งดเรียน แต่ให้นิสิตทุกคนเข้าห้องสมุดและเรียนรู้วิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยการแนะนำจากเจ้าหน้าที่หอสมุดอย่างใกล้ชิด

 

          อนุทินครั้งที่ ๓ มีการเรียนในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐-๑๕.๐๐ น. ณ ห้อง ๑-๓๐๔ คณะศึกษาศาสตร์

         

อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาครั้งที่แล้วและให้รายละเอียดองค์ประกอบของโครงการ ดังนี้

- Goal จุดหมาย เงื่อนไขจะต้องเป็นจริง

- Purpose วัตถุประสงค์ ต้องชัดเจนเพื่อทำให้เป็นจริง และมีกิจกรรมที่สอดคล้องกันและ

ช่วยทำให้เกิดความคิดอย่างรอบคอบ

- Output ผลงาน การบูรณาการความรู้และสามารถตรวจสอบได้

- Activities กิจกรรม ต้องการสังคมการเรียนรู้ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการ มีสังคมวิชาชีพ

- Input ปัจจัย เรื่องเงิน การมีส่วนร่วม เวลา มีเพื่อนร่วมงาน จะคอยทำให้ชีวิต

เรามีความสดชื่น

 

ทุกอย่างจะเชื่อมโยงกันทั้งหมด ชีวิตต้องวางแผน ตรวจสอบ ติดตาม ด้วยความเป็นเหตุเป็นผล

 

เราต้องวิเคราะห์ SWOT ของตนเอง

SWOT Analysis เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบ/สร้างความชัดเจนให้กับหน่วยงาน/โรงเรียน ประกอบด้วย

·        Strengths จุดแข็ง/จุดเด่น มีความตั้งใจ อดทน มีเวลาให้กับการศึกษา ครอบครัวเข้าใจ มีวินัย ครอบครัวอบอุ่น มองโลกในแง่ดี มุ่งมั่น อดทน ซึ่งเป็นนามธรรม ควรเป็นรูปธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เช่น ทักษะการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถลดปัญหาได้ส่วนหนึ่ง

·        Weaknesses จุดอ่อน วิเคราะห์จุดอ่อนเพื่อพัฒนา ลองวิเคราะห์ทำให้ตัวเองเกิดความเข้าใจ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงนั้น เช่น ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์เสร็จต้องจัดการ เพิ่มชั่วโมงฝึกฝน เรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยเพลง ภาษาอังกฤษแบบเด็กๆ ฟังข่าวภาคภาษาอังกฤษ วิทยุศึกษา ฯลฯ

·        Opportunities โอกาส เป็นปัจจัยเกื้อหนุนส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จแต่จะไม่หลงระเริงกับปัจจัยภายนอก

·        Threats อุปสรรค ปัจจัยอะไรบ้างที่ไม่สามารถชนะ ทำให้งานไม่สำเร็จ

 

นอกจากนั้นมีการนำเสนอ Log Frame หน้าชั้นเรียนของ นิสิต ๒ ท่าน คือ

๑.    อ.ภริ เป็นการนำเสนอ Log Frame ของหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านอาจารย์แนะนำว่าควรเป็น Log Frame ของตัวเราเองมิใช่ของหลักสูตรฯ ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย ที่กรุณาให้นำเสนอข้อมูลผ่านทางเว็บบล๊อก

๒.   อ.รุ่งโรจน์ เป็นการนำเสนอ Log Frame ของตัวเอง ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ท่านอาจารย์มีข้อเสนอแนะเรื่องการแจกแบบสอบถาม

๓.   ส่วน Log Frame ของผู้เขียน ซึ่งมิได้นำเสนอหน้าชั้นเรียนแต่อย่างใด เป็นการวางแผนการเรียนโดยเป็น ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึงจุดหมาย ครับ

 

ภายหลังการนำเสนอ อาจารย์ได้อธิบายหลักของการประเมินบริบท เพื่อพัฒนาโครงการที่ดี จะต้องมี ๔ องค์ประกอบ คือ

๑.    เป้าหมายชัดเจนร่วมกัน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒.   มีการบริหารจัดการโครงการแบบมีส่วนร่วม มีหน้าที่ที่แตกต่างแต่มีเป้าหมายร่วมกัน มอบหมายงานตามหน้าที่ที่มีความชำนาญ

๓.   มีการจัดระบบ ความเชื่อมโยงของงานการประเมินระบบต้องชัดเจน

๔.   มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการประเมินแบบ ๓๖๐ องศา เช่น การประเมินความพึงพอใจ ต้องเน้นสาระตรงประเด็น ต้องย่อย ต้องมีรายละเอียด สอบถามความพึงพอใจในเรื่องเดียวกัน เช่น ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ไม่ควรวิเคราะห์ข้อมูลรวม ความพึงพอใจต้องนิยามเชิงปฏิบัติการ

 

ครั้งต่อไปอาจารย์มอบหมายให้นิสิตนำเสนอ Model คนละ ๑ Model โดยทำ handout ประกอบการนำเสนอ ที่ไม่ต้องละเอียดมากนัก สั้น กระชับ

 

สุเทพ ธุระพันธ์

หมายเลขบันทึก: 272031เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 17:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • ชอบคำที่ยกมาค่ะ  สบายดีนะคะ 
  • ระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีครับ คุณSila Phu-Chaya

@ สบายดีครับ

@ เปลี่ยนรูปใหม่ จำแทบไม่ได้

@ สวยอีกแบบ....ระลึกถึงเช่นกันครับ

@ ขอบพระคุณ

สวัสดีครับ  มาเยี่ยมเยียน นานๆ เจอกัน ขอบคุณที่ไปทักทายครับ

สวัสดีครับ คุณหนุ่ม กร~natadee

@ ขอบพระคุณที่กรุณาแวะมาทักทาย

@ มีแต่ความสุขๆ ครับ

  • สวัสดีครับ
  • คืดถึงเช่นกัน ว่างจากเรียน ก็มาเขียน
  • ขอให้มีความสุข และประสบผลสำเร็จดังที่ฝันไว้
  • ขอบคุณ

สวัสดีครับ คุณศรีกมล

@ ขอขอบพระคุณสำหรับกำลังใจด้วยดีเสมอมา

@ ขอให้ท่านและครอบครัวพบแต่ความสุขๆ เช่นกันครับ

ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ-การประเมินแบบ ๓๖๐ องศา ...

เป็นเรื่องที่ดีมากครับ...กรณีการประเมิน 360 องศานั้น ผมพยายามนำมาใช้ในองค์กรที่ตัวเองดูแล  แต่ยังไม่เกิดผลนัก เพราะส่วหนนึ่งยังรู้สึกไม่สบายใจกับการต้องประเมินผู้ที่เป็นผู้บังคับบัญชาของตัวเองสักเท่าไหร่

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อาจารย์แผ่นดิน

@ ขอบพระคุณที่ให้เกียรติเยี่ยมชมครับ

@ การประเมินผู้บังคับบัญชาของตัวเอง

@ ถ้าผู้ใหญ่ยอมรับผลการประเมินหรือเปิดใจกว้างพอ คงจะเป็นผลดีกับส่วนรวม

@ ส่วนที่ทำงานใช้ประเมินทั้งผู้เรียน-อาจารย์

@ เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชานั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น ในปีการศึกษาต่อๆ ไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท