9 วิธีป้องกันมะเร็งตับอ่อน


 

...

 [ Wikipedia ]

ภาพที่ 1: ระบบทางเดินอาหาร เริ่มจาก (1) = หลอดอาหาร; (2) = กะบังลม ทำหน้าที่หดตัว เพื่อช่วยในการหายใจเข้า และหย่อนตัวเวลาหายใจออก; (3) = กระเพาะอาหาร; (4) = ตับ; (5) = ถุงน้ำดี; (6) = ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum); (7) = ตับอ่อน; (8) = ม้าม > Thank [ Wikipedia ]

...

 [ GreenFacts ]

ภาพที่ 2: ระบบทางเดินอาหาร > Thank [ GreenFacts ]

กระเพาะอาหาร (stomach) แต้มสีส้ม; ต่อลงมาเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) 

... 

ตับอ่อน (pancreas) แต้มสีเนื้อ; มีลำไส้เล็กส่วนต้นล้อมไว้เป็นรูปคล้ายตัว C (กลับซ้าย-ขวา) มีท่อตับอ่อน (pancreatic duct) ออกไปรวมกับท่อน้ำดีรวม (common bile duct / CBD) เป็นทางผ่านน้ำย่อยไปช่วยย่อยอาหาร

ถุงน้ำดี (gall bladder) แต้มสีเขียว รับน้ำดีจากตับมาเก็บไว้ ถุงน้ำดีจะหดตัวเมื่อกินอาหาร เพื่อรีดน้ำดีออกไปทางท่อน้ำดีรวม (common bile duct / CBD) ไหลลงลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum)

...

น้ำดี (bile) ทำหน้าที่ช่วยให้น้ำกับน้ำมันอยู่ใกล้กัน ทำให้น้ำย่อย (enzymes) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ละลายน้ำเข้าไปสัมผัสกับน้ำมัน และย่อยน้ำมันได้

กลไกการทำงานคล้ายสบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน คือ มีแขนหลายแขน ข้างหนึ่งจับโมเลกุลน้ำ ที่เหลือจับโมเลกุลน้ำมัน ทำให้น้ำกับน้ำมันมาอยู่ใกล้กันได้ ไม่แตกแยก หรือแบ่งชั้นออกจากกัน

...

[ nsf ]

ภาพที่ 3: ระบบทางเดินอาหาร > Thank [ NSF ]

ตับอ่อน (pancreas) แต้มไว้ด้วยสีเหลือง มีท่อตับอ่อน ซึ่งท่อน้ำดีรวมจะไหลมารวมกันก่อน หลังจากนั้นจะไหลลงลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ต่อไป

...

ตับอ่อนมีความยาวประมาณ 6 นิ้ว หรือ 15 เซนติเมตรในฝรั่ง (ชาวตะวันตก) มะเร็งตับอ่อนส่วนใหญ่พบในคนสูงอายุ (70-89 ปี) ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย [ nytimes ]

ส่วนใหญ่อาการจะไม่ชัดเจน ทำให้ผ่าตัดออกได้ไม่เกิน 20%, โอกาสมีชีวิตถึง 5 ปีประมาณ 5% นั่นคือ นับตั้งแต่วันวินิจฉัยโรค, คนไข้ 100 คนจะมีโอกาสอยู่ได้ถึง 5 ปี 5 คน, ทางที่ดีคือ ป้องกันโรคด้วยไลฟ์สไตล์ หรือการใช้แบบแผนชีวิตที่ดีตั้งแต่เด็ก

...

 [ Luc.edu ]

ภาพที่ 4: ภาพตับอ่อนผ่าซีก จะเห็นเนื้อตับอ่อนสีเหลืองปนเทา > Thank [ Luc.edu ]

...

...................................................................................................

อาหารที่มีเนื้อแดง (red meat = เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ) และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มเสี่ยง (ความน่าจะเป็น) มะเร็งตับอ่อน

อ.ดร.ราเชล สโทลเซนเบิร์ก-โซโลมอน (Rachel Stolzenberg-Solomon) และคณะ แห่งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐฯ (NCI) ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 500,000 คน ติดตามไป 6 ปี

... 

การศึกษานี้มีขนาดกลุ่มตัวอย่างมากกว่าการศึกษาก่อนหน้านี้ ทำให้มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าการศึกษาที่ผ่านมา

คนสหอาณาจักร (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทย พบคนไข้มะเร็งตับอ่อนใหม่ 7,000 ราย/ปี ผลการศึกษาพบว่า บุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 1

...

คนไข้มะเร็งตับอ่อนส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 6 เดือน กลไกที่เป็นไปได้ คือ ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่หลังช่องท้อง (retroperitoneum) ซึ่งมีเส้นประสาทรับความรู้สึกน้อยกว่าบริเวณภายในช่องท้อง (intraperitoneum) และอยู่ลึก ค่อนไปทางด้านหลัง

อาการช่วงแรกจะไม่ชัดเจน การตรวจหาโรคทำได้ยาก กว่าจะมีอาการชัดเจนอีกทีก็สายไปแล้ว

...

ผลการศึกษาพบว่า (ความเสี่ยง = ความน่าจะเป็นเมื่อเทียบกับคนที่กินไขมันน้อยที่สุด)

  • ผู้ชายที่กินไขมันมากที่สุด > เพิ่มเสี่ยง 53%
  • ผู้หญิงที่กินไขมันมากที่สุด > เพิ่มเสี่ยง 23%
  • ค่าเฉลี่ยของคนที่กินไขมันมากที่สุด > เพิ่มเสี่ยง 36%

...

อ.โซโลมอนกล่าวว่า การกินไขมันจากพืช และไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน

ตรงกันข้ามไขมันจากสัตว์เพิ่มเสี่ยงชัดเจน

...

การศึกษานี้สนับสนุนการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ว่า การกินอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เพิ่มเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน

การป้องกันมะเร็งตับอ่อนทำได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยง (risk factors) ซึ่งปัจจัยบางอย่างป้องกันไม่ได้ เช่น อายุมาก (70s-80s = 70-89 ปี), ผิวดำ (อาฟริกัน-อเมริกัน ไม่ใช่ผิวสีพอดีๆ แบบคนเอเชีย), ประวัติมะเร็งตับอ่อนในญาติสายตรง ฯลฯ

... 

วิธีป้องกันมะเร็งตับอ่อนได้แก่ [ MayoClinic ][ Harward ][ วิธีลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ] 

  • (1). ไม่สูบบุหรี่
  • (2). ระวังอย่าให้น้ำหนักเกิน หรืออ้วน > ถ้าอ้วนควรออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เพื่อให้เป็นคนอ้วนฟิต (แข็งแรง) ให้ได้

...

  • (3). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ > เริ่มจากการเดินสลับเดินเร็ว (100 ก้าว/นาที; หรือ 25 ก้าว/15 วินาที; หรือเดินจนพูดได้ 2-5 คำก็เหนื่อย) + ขึ้นลงบันได รวมเวลากันให้ได้ 30 นาทีวัน + 5 วัน/สัปดาห์ขึ้นไป
  • (4). ตับอ่อนอักเสบเรื้อรังเพิ่มเสี่ยง > ป้องกันโดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (ถ้าตรวจพบว่าสูง) 

...

  • (5). กินผัก ผลไม้ทั้งผล (หรือน้ำผลไม้ปั่นรวมกาก ไม่ใช่แยกกาก หรือกรองกาก) ให้มากพอเป็นประจำ
  • (6). กินธัญพืชไม่ขัดสี โดยเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง ขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำ) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง หรือวันละ 1 มื้อ

...

  • (7). ลดอาหารไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู เนื้อสำเร็จรูป (ส่วนใหญ่จะปนไขมันไปด้วย เช่น ไส้กรอก ฯลฯ) และไขมันอิ่มตัว เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ฯลฯ
  • (8). ลดเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ โดยเสริมโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนเกษตร (มีขายในห้างสรรพสินค้า เช่น Lotus ฯลฯ; โปรตีนเกษตรมีโปรตีน 50% ของน้ำหนักแห้ง; เมื่อแช่น้ำแล้วบีบน้ำออกจะมีสีคล้ายเนื้อ นำไปผสมกับเนื้อแล้วปรุงอาหารต่อได้เลย) ถั่ว ไข่ งา เต้าหู้ ฯลฯ

...

  • (9). ลดเนื้อสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank BBC; [ MayoClinic ]; [ Wikipedia ]; [ GreenFacts ]; [ NSF ]; [ Harward ]; [ nytimes ]; [ Luc.edu ]; [ วิธีลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ] 

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 27 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 271714เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท