การแบ่งฝักฝ่าย สาเหตุของการสิ้นชาติ บทวิเคราะห์การแบ่งแยก เกาหลี


ต้องยอมรับว่า ทุกวันนี้บ้านเมืองเรากำลังประสบกับปัญหาการแบ่งเป็นฝักฝ่าย ต่างฝ่ายต่างไม่ฟังกัน เมื่อคิดว่าฝ่ายตนถูกแล้วก็จะไม่มีคำว่าผิด ในขณะเดียวกัน ถ้าคิดว่าอีกฝ่ายผิดแล้วก็จะไม่มีคำว่าถูก ไม่มีคำว่าตรงกลาง ไม่มีการชั่งความถูกผิด ผนวกกับเศรษฐกิจโลกกำลังตกต่ำ ประเทศประสบปัญหามากมาย ถ้าคนในชาติยังแบ่งกันเป็นสองอย่างนี้ ประเทศชาติเราจะเป็นอย่างไร หรือจะเหมือนกับที่ประเทศเกาหลีเคยสิ้นชาติมาแล้วอย่างไม่มีวันหวนกลับ 
          ในวันนี้ผู้เขียนจะขอยกกรณีการสิ้นชาติของเกาหลี เกาหลีต้องสิ้นชาติใน ค.ศ. ๑๙๑๐ อันเนื่องมาจากสาเหตุใหญ่ ๒ ประการด้วยกันคือ ความแตกแยกภายในประเทศและภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกและญี่ปุ่น
            

ในศตวรรษที่ ๑๙ ประเทศรอบข้างเกาหลีทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างก็สบกับปัญหาภัยจักรวรรดินิยมตะวันตกคุกคาม แต่เกาหลีก็มิใดตระหนักถึงภัยเหล่านั้นที่กำลังใกล้เข้ามาถึงตน เนื่องจากการดำรงตนอย่างโดดเดี่ยวแบบฤๅษีของเกาหลีเอง จึงทำให้ขาดการเรียนรู้จากโลกภายนอก จนเมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๐ เมื่อภัยตะวันเข้ามาเคาะประตูบ้าน เกาหลีก็หาได้แก้ปัญหานี้เองไม่ กลับบ่ายเบี่ยงคิดว่าเมืองแม่เช่นจีนจะแก้ไขให้ จีนเองก็มิได้แสดงความจริงใจกับการแก้ปัญหานี้เท่าใดนัก อีกทั้งเกาหลียังประสบปัญหากับความไม่สงบ เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพง เกิดกบฏขึ้นมากมายทั่วทั้งประเทศ การที่เกาหลีต้องสิ้นชาติใน ค.ศ. ๑๙๑๐ มาจากสาเหตุใหญ่ ๒ ประการด้วยกันคือ ความแตกแยกภายในประเทศและภัยจากจักรวรรดินิยมตะวันตกและญี่ปุ่น

ภัยภายใน : ความแยกภายในประเทศ การแบ่งฝักฝ่าย
          จากความไม่สงบภายในประเทศที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. ๑๘๖๒ – ๑๘๖๓ เกาหลีประสบกับปัญหาภัยกบฏอย่างรุนแรง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความยากจน การปกครองที่ทารุณกดขี่ประชาชน และการได้เห็นตัวอย่างจากภัยตะวันตกคุกคามจีน แต่ทั้งหมดก็ยังไม่รุนแรง เท่ากับลัทธิอุบาทว์คือศาสนาคริสต์ ชาวเกาหลีคิดว่านี้คือภัยใหญ่หลวงที่ต้องเร่งแก้ไขก่อนปัญหาอื่นใด
          การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่มาพร้อมกับศิลปะวิทยาการตะวันตกที่หลังไหลเข้ามาในเกาหลีอย่างไม่ขาดสาย ทำให้รัฐบาลเกาหลีหาทางยับยั้งทุกวิถีทาง แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีการรุนแรงสักปานใดก็ไม่สามารถยับยั้งภัยจากศาสนานี้ได้
          จากกรณีที่กล่าวมานี้เองทำให้ชาวกาหลีแตกแยกกันเป็นสองฝ่ายที่มองวิธีการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งมีสองแนวคิดด้วยกันคือ
          ๑. ฝ่ายการเรียนรู้แบบตะวันตก (Western Learning – Sohok) นำโดยสมเด็จพระราชินี และตระกูลหมิน กลุ่มนี้มีอิทธิพลครอบงำยุวกษัตริย์ มีหัวคิดก้าวหน้า เป็นฝ่ายนิยมการพัฒนาให้เจริญทันสมัยด้วยเทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการทหารแบบประเทศญี่ปุ่น
          ๒. ฝ่ายการเรียนรู้แบบตะวันออก (Eastren Learning – Tonghak) นำโดยผู้สำเร็จราชการ เป็นพวกต่อต้านศาสนาคริสต์ โดยอ้างหลักการแล้วความคิดแบบลัทธิเต๋า กลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้แบบตะวันออกจะสามารถช่วยเอาชนะตะวันตกด้วยมนต์วิเศษได้ ซึ่งดำเนินนโยบายต่อต้านศาสนาคริสต์และนโยบายปิดประเทศ ตลอดจนต้องการจะฟื้นฟูสถาบันหลัก เสริมสร้างอำนาจการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เข็มแข็ง ผู้สำเร็จราชการผู้นำแนวความคิดอนุรักษ์นิยมต้องการดำเนินตามรอยปฏิรูปแบบอย่าที่จีนเคยทำ คือการปฏิรูปลักษณะอนุรักษ์นิยม จุดมุ่งหมายคือการฟื้นฟูระบบสามเส้า คือ การพัฒนาระบบการจัดเก็บภาษี การบรรเทาทุกข์ราษฎรด้วยข้าวและการเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการ
          มีการจัดตั้งองค์กรบริหาราชการส่วนกลาง แก้ไขประมวลกฎหมาย เสริมสร้างกองทัพให้แข็งแข็ง ฝึกทหารให้รู้จักใช้อาวุธที่ทันสมัยแบบตะวันตก มีการสร้างป้อมปราการมากมาย และกวาดล้างพวกเข้ารีตอย่างรุนแรง ฯลฯ มุ่งที่จะรักษาสถานะเดิมของประเทศไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสตะวันตก และดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวในเวทีการเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ไม่สนใจศึกษาการทูต โดยติดต่อแต่กับจีนเท่านั้น ซึ่งไม่ได้สนใจเลยว่าภัยจากตะวันตกกำลังเข้ามาจากรอบทิศทาง

การแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่ายย่อมเป็นผลร้ายต่อเกาหลีอย่างใหญ่หลวง เพราะบ้านเมืองแตกแยกขาดความสามัคคี ขาดความพยายามอย่างแท้จริงที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างพากันชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้ให้จีนเข้ามาสนับสนุนในการพัฒนาประเทศตลอดจนสนับสนุนกลุ่มอนุรักษ์นิยมให้ทวีความเป็นปฏิปักษ์ต่อญี่ปุ่น ส่วนฝ่ายหัวก้าวหน้าก็สนับสนุนให้ญี่ปุ่นเข้ามาแสดงความช่วยเหลือ ให้เกาหลีพ้นอิทธิพลจีน ดังนั้นการสร้างชาติบ้านเมืองให้ทันสมัยจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เกาหลีกำลังยืนอยู่ปากเหวพร้อมที่จะตกลงไปได้ทุกเวลา

ภัยภายนอก : จักรวรรดินิยมตะวันตก
          เกาหลีเป็นที่หมายตาของบรรดาชาติมหาอำนาจทั้งหลายอันเนื่องมากจากที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสม เป็นชัยภูมิที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกล่าวคือ
          ๑. การพื้นที่มีส่วนหนึ่งติดกับจีน รัสเซีย จึงทำให้ทั้งสองประเทศต้องการเกาหลีเป็นอาณานิคม เป็นรัฐกันชน เป็นที่ตั้งสำหรับรบรุกและตั้งรับ
          ๒. ในอดีต เกาหลีเคยเป็นของจีน จีนต้องการให้เกาหลีเป็นดินแดนสกัดกั้นการขยายอำนาจของญี่ปุ่น
          ๓. เป็นเป้าหมายแรกของญี่ปุ่นในการดำเนินแผนการขยายจักรวรรดิ ซึ่งท่าญี่ปุ่นยึดเกาหลีได้ เกาหลีจะกลายเป็นสมรภูมิที่ดีให้กับญี่ปุ่นในการส่งกำลังเข้าไปยังจีน แมนจูเลีย หรือแม้แต่รัสเซีย อีกทั้งยังเป็นที่ขยับขยายประชากรที่มีอย่างล้นหลามภายในประเทศ รวมถึงเป็นแหล่งวัตุถุดิบในการผลิตและเป็นตลาดในการระบายสิ้นค้า
          ๔. อังกฤษในฐานะที่มีผลประโยชน์อยู่ในจีนมากมาย ต้องการที่จะให้เกาหลีเป็นรัฐกันชนไว้สกัดกั้นไม่ให้รัสเซียขยายอำนาจลงมาถึงจีนได้
          ๕. รัสเซียต้องการยึดเกาหลีเพื่อต้องการให้เกาหลีเป็นทางออกสู่ทะเลน้ำอุ่น คือทะเลจีนตะวันออก สู่มหาสมุทรแปรซิฟิก
          ๖. สหรัฐอเมริกาต้องการใช้เกาหลีเป็นแนวสกัดกั้นยับยั้งการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์
จะเห็นได้ว่ามหาอำนาจทั้งหลายต่างต้องการเกาหลีด้วยเหตุผลคือ ขยายอำนาจทางการเมือง เหตุผลของความปลอดภัยและความมั่นคงของของประเทศตน ลักษณะที่ตั้งของเกาหลีมีความสำคัญต่อประเทสมหาอำนาจทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
          อีกประการหนึ่งคือชาติตะวันตกต้องการเรียกร้องติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลี แต่การเจรจาขอให้เกาหลีเปิดประเทศนั้นไร้ผล เกาหลีกำหนดนโยบายต่อชาวตะวันตกไว้อย่างชัดเจนว่า จะให้ความช่วยเหลือเรือที่อัปปางในน่านน้ำเกาหลีเท่านั้น แต่จะปกป้องเกาหลีโดยมิให้ชาวตะวันตกกล้ำกรายเข้ามาในประเทศ ซึ่งจีนเองก็พอใจมากที่กำหลีมีนโยบายเช่นนี้ เมื่ออังกฤษมาขอเจรจากับจีนขอให้เปิดประเทศเกาหลีในฐานะที่อังกฤษมองว่าจีนเป็นประเทศแม่ แต่จีนก็ปฏิเสธว่า จีนไม่สามารถเปิดประเทศเกาหลีให้ติดต่อค้าขายกับใครได้ เพราะเกาหลีมิได้เป็นส่วนหนึ่งของจีน ในขณะเดียวกันจีนก็ย้ำว่าเกาหลีไม่สามารถเกิดประเทศเองมิได้เช่นกันเพราะเกาหลีมิได้เป็นประเทศที่มีเอกราชอำนาจอธิปไตย กล่าวคือเกาหลีมีอิสระในการปกครองตนเองแต่จีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาหลี จีนอยากให้เกาหลีอยู่ในสถานะเดิมทุกประการจีนไม่อยากให้เกาหลีมีข้อพิพาทกับใคร
          การที่ญี่ปุ่นต้องการขยายจักรวรรดิ จึงต้องความชอบธรรมให้แก่ตนเองโดยการทำให้โลกเห็นว่าเกาหลีเป็นประเทศที่มีเอกราช ญี่ปุ่นต้องไม่แย่งเกาหลีมาจากการครอบครองของใคร ดังนั้น สงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีนจึงได้เกิดขึ้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ชนะ ญี่ปุ่นทำสนธิสัญญากับจีนใจความสำคัญคือ จีนต้องรับรองว่าเกาหลีเป็นประเทศอธิปไตย
          และจากที่รัสเซียมีผลประโยชน์ในเกาหลีใต้ด้วยอีกหนึ่งประเทศ สงครามระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียจึงได้เกิดขึ้น ผลคือ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะสงคราม
          จากนี้ไป ญี่ปุ่นคือหนึ่งเดียวที่มีอิทธิพลเหนือเกาหลีโดยไม่มีคู่แข็ง
ญี่ปุ่นได้ใช้กำลังบีบบังคับให้เกาหลีเปิดประเทศด้วยความต้องการที่จะข้าครอบครองเกาหลีโดยตรง หลังจากนั้น ญี่ปุ่นได้เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในเกาหลีมากมาย
           เหตุความวุ่นวานได้เกิดขึ้นทั่วประเทศเกาหลี เกิดเหตุผู้รักชาติเกาหลีได้ลอบสังหารข้าหลวงญี่ปุ่น ญี่ปุ่นถือเหตุการณ์นี้เป็นข้ออ้างที่จะแก้ปัญหาเกาหลีและยึดเกาหลีออย่างเด็จขาดโดยใช้กำลังทหารบีบบังคับให้พระเจ้าซุนจองและรัฐบาลของพระองศ์ลงนามในสัญญาผนวกเกาหลีเข้าเป็นราชอาณาจักรญี่ปุ่น
ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๑๐ ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนชื่อเกาหลีเป็นโซเซน และได้ปกครองเกาหลีโดยไม่คำนึงถึงความคับแคนและความปรารถนาของฝ่ายเกาหลีจะกู้ชาติ
          ด้วยความขาดความสามัคคีภายในประเทศ ด้วยการแบ่งเป็นฝักฝ่าย และชักนำข้าศึกเข้าบ้านหลายครั้งหลายครา ผนวกกับการที่มหาอำนาจต้องการเกาหลีมากจนไม่ยอมให้เกาหลีอยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไปได้ และด้วยความไม่มีความสามารถของคณะบริหารประเทศ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้เกาหลีต้องสิ้นชาติในที่สุด

ชะตากรรมที่เกาหลีมิอาจกำหนดเอง
           ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามต่อมหาอำนาจพันธมิตรอย่างราบคาบ และถึงแม้ญี่ปุ่นได้หมดอำนาจไปแล้ว แต่เกาหลีก็ยังถูกแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่ายด้วยเหตุผลทางการเมืองเพื่อสะดวกแก่การปลดอาวุธญี่ปุ่น โดยให้อเมริกาปลดอาวุธในภายใต้และรัสเซียปลดอาวุธในภาคเหนือ
          บรรดามหาอำนาจพันธมิตรได้ประชุมกันหลายครั้งเพื่อกำหนดชะตากรรมของเกาหลี จากการประชุมที่ไคโร ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. ๑๔๙๓ ได้ระบุบว่าเกาหลีจะเป็นอิสระและเป็นเอกราชในเวลาอันสมควร ซึ่งก็หมายความว่า มหาอำนาจพันธมิตรยังไม่สามารถตัดสนใจได้ว่า เกาหลีควรที่จะปกครองตนเองด้วยระบบใด เหล่าพันธมิตรอันประกอบด้วย อเมริกา อังกฤษ รัสเซีย จีนมีความเห็นชอบที่จะให้เกาหลีอยู่ภายใต้การดูแลของนานาชาติ คือภาวะทรัสตี (International Trusteeship)
          ตามมติในการประชุมที่พอทสดัม ปี ค.ศ. ๑๙๔๕ ได้กำหนดดินแดนเกาหลีเป็นการชั่วคราวเพื่อให้ชาติมหาอำนาจเข้าทำการปลดอาวุธของญี่ปุ่น
เกาหลีจึงต้องถูกกำหนดให้แก้ไขด้วยวิธีชั่วคราวคือ การปลดอาวุธญี่ปุ่นด้วยการกำหนดเส้นขนานที่ ๓๘ เป็นเส้นแบ่งเขต โดยเหนือเส้นขนานที่ ๓๘ จะเป็นหน้าที่ของรัสเซีย และใต้เส้น ขนานที่๓๘ จะเป็นหน้าที่ของสหรัฐอเมริกา
          รัสเซียได้ส่งกำลังทหารเข้ามาปลดอาวุธในเกาหลีวันที่ ๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ และสหรัฐอเมริกาเข้ามาในวันที่ ๘ กันยายน ค.ศ. ๑๙๔๕


ภาคเหนือ ภายใต้การดูแลของรัสเซีย
           รัสเซียมีความต้องการที่จะให้เกาหลีเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ เป็นรัฐบริวารของตน นอกจากการปลดอาวุธญี่ปุ่นแล้ว รัสเซียยังเป็นผู้ชีแนะแนวทางให้เกาหลีเหนือจัดตั้งรัฐแบบโซเวียตในทุกระดับการปกครองโดยบรรดาคณะกรรมการแห่งชาติ องค์ประกอบของคอมมิวนิสต์ได้ควบคุมไว้ทั้งหมดในการเมืองทุกระดับ มีการยกระดับกรรกร ชาวนา ยุวชน สตรี เข้ามามีบทบาทในแนวหน้าระดับชาติ การกระทำดังนี้เป็นการกระทำที่ดับความหวังของเกาหลีในการรวมชาติ
           ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๖ เกาหลีมีการจัดตั้งสภาแห่งชาติซึ่งทำหน้าที่คระกรรมการแห่งชาติให้ปกครองประเทศชั่วคราว ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีการปลุกระดมมวลชลและปลูกฝังลัทธิคอมมิวนิสต์ให้กับประชาชน
          พรรคคอมมิวนิสต์ได้จัดตั้งมวลชนอย่างกระตือรือร้น เช่นการปฏิรูปที่ดิน มีการยึดที่ดินจากเจ้าของที่ดินรายใหญ่แล้วแจกจ่ายให้กับชาวนา มีการโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐและวางแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ
           จะเห็นได้ว่ารัสเซียครอบงำเกาหลี โดยที่เกาหลีไม่มีทางเลือกและมองไม่เห็นหนทางการรวมชาติ

ภาคใต้ ภายใต้การดูแลของอเมริกา
           อเมริกาพัฒนาเกาหลีใต้ แต่ความยุ่งยากภายในและปัญหาความวุ่นวายที่มีความซับซ้อน ทำให้อเมริกาไม่พร้อมที่จะพัฒนาเกาหลีอย่างเต็มที่เท่าใดนัก ภายหลังวันที่ ๑๕ สิงหาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ อเมริกาได้จัดตั้งรับบาลเฉพาะกาลขึ้น และรัฐบาลก็ได้จัดตั้งคณะกรรมการแห่งประชาชาติระดับท้องถิ่นขึ้นทั่วภาคใต้ ขึ้นเพื่อธำรงไว้ด้วยความสงบสุขและแบบแผน แต่การปกครองรวมถึงด้านเศรษฐกิจก็ยังประสบกับปัญหามากพอสมควร
            เศรษฐกิจของเกาหลีระหว่างที่เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นนั้นมีความผูกมัดกับญี่ปุ่นมาก เมื่อเป็นเอกราช เกาหลีจึงประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก อเมริกาต้องจัดระบบระเบียบแบบแผนให้กับเกาหลีใหม่ เช่นสนับสนุนให้มีระบบนิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง เป็นการสถาปนาการปกครองโดยใช้กฎหมายเป็นหลักและเป็นพื้นฐานของเสรีภาพทางการเมืองและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อเมริกามีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกาหลีมีความมั่นคงทางการเมืองก่อนแล้วจึงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดั้งนั้น การปฏิรูปที่ดินในเกาหลีได้จึงมีความล้าช้าอันเนื่องมาจากกระบวนการทางการเมืองที่เต็มไปด้วยความคิดอนุรักษ์นิยม
            เกาหลีถูกมหาอำนาจแบ่งเป็นสองขั้วอำนาจ คือคอมมิวนิสต์และประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ขบวนการปราบปรามคอมมิวนิสต์มีความรุนแรงมาก เกาหลีใต้เป็นปัญหามากสำหรับสหรัฐอเมริกา จนในท้ายที่สุดเดือนกันยายน อเมริกาได้มอบเกาหลี ให้อยู่ในการดูแลขององค์การสหประชาชาติ
             องค์การสหประชาชาติจึงได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการรวมประเทศเกาหลีและจัดการเลือกตั้งใน ค.ศ. ๑๙๔๘ พรรคของซังมันรีได้รับการเลือกตั้ง ได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณะรัฐเกาหลี เมืองหลวงอยู่ที่กรุงโซล เมื่อเกาหลีมีรัฐบาลเองแล้วสหรัฐอเมริกาจึงหยุดการยึดครองเกาหลีใต้
             ส่วนในเกาหลีเหนือได้มีการเลือกตั้งเช่นกันและได้ประกาศจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยแห่งประชาชาติเกาหลี เมืองหลวงอยู่ที่เปียงยาง รัสเซียจึงได้ถอนทหารออกจากเกาหลี
เกาหลีถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศโดยปริยายและการเป็นตัวแทนของสองลัทธิอุดมการณ์ทางการเมืองคือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย
             การถอนทหารของทั้งสองมหาอำนาจนั้นเป็นเพียงแค่ภาพลวงตาเท่านั้น แต่อิทธิพลทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ของทั้งสหรัฐอเมริกาและรัสเซียยังมีอยู่ในเกาหลีใต้และเกาหลีเหนืออย่างเต็มเปรี่ยม ในช่วงแรกของการแยกประเทศอย่างเป็นทางการนี้ ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ไม่อาจยืนได้ด้วยขาของตนเองหากไม่มีมหาอำนาจทั้งสองคอยพยุง

ความหวังอันสูญสิ้นในการรวมชาติ

             ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างก็คิดเหมือนกันว่า ตนมีมหาอำนาจหนุนหลัง ดังนั้นการท้าทายทางกำลังทหารบริเวณพรมแดนเส้นขนาดที่ ๓๘ องศาได้เกิดขึ้นหลายครั้ง จนกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเชื่อชาติเดียวกัน สงครามของคนพูดภาษาเดียวกัน และมีบรรพบุรุษร่วมกัน
              ความหายนะของประเทศชาติเริ่ม ในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๕๐ กองกำลังเกาหลีเหนือบุกข้ามเส้นขนานที่ ๓๘ องศาเข้ามาในเกาหลีใต้ ในเช้าวันรุ่งขึ้นคือวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๕๐ นายทวิเว ลี เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเรียกคณะมนตรีความมั่นคงเข้าประชุมด่วนเป็นกรณีพิเศษ เพื่อขอมติในการขอกำลังผสมสหประชาชาติเข้าช่วยเกาหลีใต้ แต่รัสเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกถาวร ๑ ใน ๕ ประเทศได้ใช้สิทธิขอคัดค้าน Vito (ถ้า ๑ เสียงของสมาชิกถาวร Vito มติทุกอย่างต้องเป็นอันตกไป) ทหารผสมจึงไม่อาจเคลื่อนกำลังได้
            แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่สนใจต่อมติของสหประชาชาติและการ Vito ของรัสเซีย ได้สั่งเคลื่อนกำลังผลข้าช่วยเหลือเกาหลีใต้เพราะเกรงว่าหากปล่อยไว้ ด้วยกำลังของเกาหลีใต้ที่มีน้อยกว่าเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้อาจแพ้เกาหลีเหนืออย่างง่ายดาย และเกาหลีใต้ก็จะกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ทันที ด้วยความกลัวคอมมิวนิสต์จนขึ้นสมอง อมริกาจึงไม่มีรอ
          ดังนั้นแล้ว ประเทศที่เป็นพันธมิตรของอเมริกาก็ได้เข้ามาช่วยเหลืออเมริกาและเกาหลีรบ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเรีย เบลเยี่ยม แคนาดา โคลัมเบีย เอธิโอเปีย ฝรั่งเศส กรีก ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ตูรกี รวมถึงมหามิตรอย่างไทย ภายใต้ชื่อกอง  กำลังสหประชาชาติ (UN Forces or UN Troops) และอีก ๔๑ ชาติพันธมิตรได้ส่งยุทธปัจจัยเข้ามาช่วยเหลือจึงเข้าช่วยเกาหลีใต้รบเต็มอัตราศึก ส่วนทางด้านเกาหลีเหนือมีจีนคอมมิวนิสต์ รัสเซีย ประเทศผู้รวมอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นผู้ช่วยเหลือก็สู้กับกองกำลังผสมอย่างเต็มความสามารถ กองกำลังสหประชาติสามารถผลักดันเกาหลีเหนือขึ้นไปเหนือเส้นขนานที่ ๓๘ ได้ และเข้ายึดเมืองเปียงยางได้ในที่สุด แต่ก็มิได้จัดการอย่างเด็ดขาดกับเกาหลีเหนือแต่อย่างใด เพราะการคานอำนาจระหว่างคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตยยังมีอำนาจอยู่
          การสู้รบในครั้งนั้นไม่แสดงผลแพ้ชนะเพราะมีการเจรจาพักรบและยุติสงครามในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๓ แต่ประเทศเกาหลีที่ถูกแบ่งเป็นสองก็ไม่มีทางรวมกันได้แม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม เพราะผู้นำแต่ละฝ่ายก็ต่างไม่อยากเสียอำนาจของตน คนเกาหลีใต้ก็ไม่อยากไปอยู่ในเกาหลีเหนือกลัวคอมมิวนิสต์เข้าใส้ และคนเกาหลีเหนือถึงอยากจะมาอยู่ในเกาหลีแต่ก็ออกนอกประเทศไม่ได้ 
          ในปัจจุบัน ค.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งสองก็ยังแบ่งแยกเป็นสองประเทศชัดเจน ภาพข่าวการทดลองอาวุธร้ายแรงในเกาหลีเหนือยังมีต่อไปโดยไม่สนใจปฏิกิริยาต่อต้านจากนานา ๆ ชาติ และไม่สนใจความทุกข์ยากของประชาชนของตน
          การเริ่มต้นจากการแตกแยกเป็นฝักฝ่ายของคนเกาเหลีเองนับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๘๖๒ และการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด จึงเป็นสาเหตุให้เกาหลีต้องสิ้นชาติ และอาจไม่มีทางกลับมารวมกันได้เลย
          เมื่อท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่านอ่านบทความนี้มาถึงจุดนี้ ผู้เขียนใคร่ขอความกรุณาให้ท่านมองรอบตัวให้รอบคอบดูสักนิดเถิดว่า ประเทศไทยในขณะนี้กำลังเดินเข้ามาถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นชาติอย่างเกาหลีแล้วหรือยัง ถ้าใครคิดว่าใกล้มาถึงหรือมาถึงแล้ว การกลับสามัคคีกัน ร่วมมือกันแก้ปัญหากัน และรักกัน ผู้เขียนคิดว่ายังไม่สายจนเกินไป
          อย่าให้ชาติไทยต้องมาสิ้นชาติอย่างเกาหลีในรุ่นของเราเลย...สาธุ.....

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 271200เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทความนี้ยาวมาก และต้องอนุญาติขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ จันทรฉาย ภัคอธิคม ที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เขียนมาไว้ ณ ที่นี้ ถ้าไม่มีอาจารย์ท่านนี้ ผู้เขียนก็จะไม่สามารถวิเคราะห์ อะไรได้เช่นนนี้

และ อนุญาติให้ "ปริ้นท์" ไปอ่านได้ครับ

ขอขอบคุณฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ไม่มีวันลืมไปจากความทรงจำของมนุษยชาติ

ชอบบทความให้ความเข้าใจรวบรัดตัดตอนได้ดี ที่ค้นหาอยากรู้ว่าไทยแตกแยกกับเกาหลีที่แตกแยกเพราะอะไร

และกำลังฉุกคิดขึ้นถึง "เกาหลี...ว่าทำไมถึงต้องแบ่ง....แล้วชาติไทยของเราหละ....." จะเป็นเหมือนประโยคนี้ไหมหนอ

.....ก็ภาวนาว่า อย่าให้เป็นเช่นนั้น.....

..."จนกลายเป็นสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเชื่อชาติเดียวกัน สงครามของคนพูดภาษาเดียวกัน และมีบรรพบุรุษร่วมกัน...."

เศร้าจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท