farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

การคืนชีวิตให้แผ่นดิน


คืนชีวิตให้แผ่นดิน

การคืนชีวิตให้แผ่นดินสู่เกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืน

                                                                                                                                  ณัฐพงษ์  พรดอนก่อ

คำนำ

               ธรรมชาติบ่งบอกถึงความเป็นวิทยาศาสตร์ชั้นสูง โดยมีนัยถึงความเป็นจริงที่เที่ยงแท้ ความเป็นเหตุผลของโลก ซึ่งมนุษย์มีปัญญาสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต  และมนุษย์เองควรตระนักอยู่เสมอในการที่จำตัองตอบแทนสิ่งที่ธรรมชาติให้มาเพื่อนำไปสู่การคืนชีวิตให้แผ่นดินโดยธรรมชาติสู่ธรรมชาติที่ยั่งยืน ดังเรื่อง การคืนชีวิตให้แผ่นดินสู่เกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืน ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ระบบเกษตรแบบธรรมชาติการนำสิ่งมีชีวิตเล็กๆจากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วคืนลงไปให้กับดินดังเดิมหรือไม่ทำลายของเดิมที่มีอยู่ โดยสามารถนำไปปฏิบัติได้ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานทั่วไป บทความเรื่องการคืนชีวิตให้แผ่นดินสู่ธรรมชาติที่ยั่งยืน เป็นการอาศัยหลักการการนำจุลินทรีย์ต่างๆที่มีในท้องถิ่นหรือการนำเอาทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยผสมผสานกับภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติซึ่งทุกคนสามารถนำเอาวัตถุดิบรอบๆตัวมาใช้ประโยชน์เพื่อสามารถลดต้นทุนหรือเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ก่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของหลักการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

หลักการและเหตุผล

               กฎของธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์และเป็นความสำคัญของการเกษตร คือ การทุ่มเทแรงงานไปเพื่อการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์และการมีสุขภาพที่ดีจากการทำงานร่วมกับธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจกฎการทำการเกษตรให้มากขึ้นดร.อานัฐ  ตันโจ, (2548 ) จึงพอสรุปได้ว่า การเกษตร คือ กระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ของมนุษย์รวมกับการใช้แรงงานในการผสมผสานกับสิ่งมีอยู่ในธรรมชาติ ได้แก่ แร่ธาตุอาหารของพืช แสงอาทิตย์ อากาศ ดินและน้ำ

               สิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการเกษตรกรรมก็คือ การสังเกตุและการยอมรับในบทบาทของธรรมชาติ เราต้องเข้าใจถึงแก่นแท้ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับวัฏจักรของชีวิต เราต้องยอมรับในความสามารถและสิทธิของพืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างแหมาะสมและก่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งจะช่วยให้มนุษย์รุ่นต่อๆไป จะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งมีอยู่ในธรรมชาติที่ยั่งยืนสืบไป

               มนุษย์คือตัวแปรหลักในการสร้างหรือเป็นตัวทำลายสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ควรปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวมันเองก่อน มนุษย์ควรให้ความสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตอย่างใกล้ชิดไม่รีดเค้นประโยชน์จากพืชหรือสัตว์มากเกินไป วิวัฒน์  ศัลยกำธร,(2550) ได้กล่าวไว้ว่า การที่พืชจะเจริญเติบโตได้ดีจำต้อง เลี้ยงดินเพื่อ ให้ดินเลี้ยงพืช (Feed the soil and let the soil feed the plant) โดยธรรมชาติและทำนองเดียวกันสัตว์เลี้ยงต่างๆก็ต้องการความอิสระจากธรรมชาติเช่นกัน ซึ่งหลักการนี้คงไม่ถูกใจกับเกษตรกรยุกค์ใหม่ตราบใดเมื่องมนุษย์ยังไม่ประสบภัยอันตรายด้านความปลอดภัยแก่ร่างกายของตัวเอง

จุดเริ่มต้นของชีวิต

               แนวทางต่างๆที่จะบ่งบอกถึงความเป็นการเกษตรที่ปลอดภัยไม่ทำลายชีวิตที่อยู่ในดินและชีวิตของผู้บริโภคเองก็คือ การทำเกษตรระบบอินทรีย์นั่นเอง เกษตรอินทรีย์ที่จะให้เกิดระบบธรรมชาติโดยทั่วไปต้องมีการนำจุลินทรีย์มาใช้จากในท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์ไกล้ตัว อานัฐ  ตันโจ, (2548) กล่าวไว้ว่าจุลินทรีย์ท้องถิ่น IMO (indigenous microoganisms) เป็นจุลินทรีย์ที่แข็งแรงจะทำให้เกิดความสมดุลย์ของระบบนิเวศในพื้นที่นั้นๆโดยจะมีการพัฒนาให้แข็งแรงขึ้นทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมรอบๆ

              เกษตรอินทรีย์สู่การคืนชีวิตให้แผ่นดินเป็นระบบการผลิตที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสมดุลของธรรมชาติและความหลากหลายของทางชีวภาพโดยมีระบบการจัดการนิเวศวิทยาที่คล้ายคลึงกับธรรมชาติ วิวัฒน์  ศัลยกำธร,(2550) กล่าวไว้ว่าพืชพันธุ์หรือต้นไม้ไม่ว่าพืชชั้นสูงพืชชั้นต่ำ ไม้ใหญ่ไม้เล็กก็ต้องการคาวมสมดุลย์ทางธรรมชาติเช่นเดียวกันทั้งสิ้นบางครั้งสิ่งที่เขาขาดไปเราก็สามารถแต่งเติมธรรมชาติให้เขาได้เช่นกันโดยไม่ทิ้งความจริงของธรรมชาติเช่น การห่มดิน การหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและฮอร์โมนต่างๆตลอดจนไม่ใช้พืชหรือสัตว์ที่เกิดจากการตัดต่อทาพันธุกรรมที่อาจเกิดมลพิษในสภาพแวดล้อมก็ป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตและสู่การคืนชีวิตให้แผ่นดินได้อีกระดับหนึ่ง หากทุกส่วนทุกคนหันมาเน้นการใช้อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และ ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ต้นพืชมีความแข็งแรงสามารถต้านทานโรคและแมลงด้วยตนเอง รวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ด้วยผลผลิตที่ได้จะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคและไม่ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอีกด้วย(กรมวิชาการเกษตร)

ฅนรักษ์แม่ธรณีสู่เกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืน

ก่อนอื่นควรเข้าใจและรู้จักคำว่าจุลินทรีย์  จุลินทรีย์ก็คือ สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจนกว่าจะเกาะกลุ่มกัน  จุลินทรีย์มีอยู่ในธรรมชาติทั้งในน้ำ  อากาศและในดิน

 

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไป

 องค์ความรู้และภูมิปัญญาของศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน(2551)  ด้านการเกษตร   ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด เป็นด่างในดิน และน้ำ แก้ปัญหา ลดการรบกวนแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่างๆ ช่วยปรับดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ดินมีการถ่ายเทอากาศได้อย่างเหมาะสม สามารถช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารแก่พืช เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และสามารถสร้างฮอร์โมนพืชช่วยให้ผลผลิตสูงผลผลิตคงทนสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน

 ด้านปศุสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์  กำจัดน้ำเสีย  ป้องกันโรคอหิวาต์และโรคระบาดต่างๆ

 ด้านการประมง  ช่วยควบคุมน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์  แก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ ลดปริมาณขี้เลนในบ่อ

 ด้านสิ่งแวดล้อม  ช่วยบำบัดน้ำเสียจากการทำการเกษตร  การปศุสัตว์  โรงงานอุตสาหกรรม  ชุมชนและสถานประกอบการ  ช่วยกำจัดกลิ่นจากกองขยะ  และปรับสภาพของเสีย

ความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเกษตรกรจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

การทำปุ๋ยหมักแห้ง

วัสดุอุปกรณ์ (ใบไม้แห้งเศษพืช 3  ส่วนต่อมูลสัตว์ 1 ส่วน)

1.ใบไม้แห้งเศษพืช                                15  กระสอบอาหารสัตว์หรือประมาณ  15  เข่ง                    

2.มูลสัตว์                                                3  เข่ง

3.หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรืออีเอ็ม           1   ลิตร

4.รำระเอียด                                              1   กิโลกรัม

                                       

ขั้นตอนการทำ

1.                        นำใบไม้แห้งหรือเศษพืช  รำ   และมูลสัตว์ มากองรวมกัน  แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2.                        นำหัวเชื้อจุลินทรีย์หรืออีเอ็มราดลงไป  แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่งรดน้ำให้ชุ่ม

3.                        หมักทิ้งไว้  3  เดือน เมื่อย่อยสลายดี แล้วจึงนำไปใช้ เช่น ผสมดินปลูกพืชได้ทุกชนิดฯ  

 

การทำน้ำหมักชีวภาพ

วัสดุอุปกรณ์

1.  ผลไม้หวาน  ผลไม้สุกอื่นๆ                   3   กิโลกรัม 

2.  หัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรืออีเอ็ม           1   ลิตร

3.  กากน้ำตาล                                       1   กิโลกรัม

4.  น้ำเปล่า                                            10   ลิตร

5.  ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท                         1    ใบ

ขั้นตอนการทำ

1.  นำผลไม้มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ  คลุกเคล้ากับกากน้ำตาลและหัวเชื้อจุลินทรีย์ให้เข้ากัน  ใส่ลงไปในถังหมัก

            2.  เติมนำเปล่า  10  ลิตร  ลงไป หรือให้เหลือพื้นที่ว่าง  1  ฝ่ามือจากขอบถังหมัก   ปิดฝา ให้สนิท    เก็บไว้ในที่มีร่มเงา หมักทิ้งไว้  7-10  วัน  จึงนำไปใช้ได้ เช่น ใช้กับพืชทั่วไป 1-2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปิ๊ป(20ลิตร)

 

การทำสมุนไพรขับไล่แมลง

วัสดุอุปกรณ์  (สมุนไพร 3 ส่วน ต่อกากน้ำตาล 1 ส่วน)

1. บอระเพ็ด  ข่า  ตะไคร้หอม  สะเดา  ยาสูบ  มะกรูด หนอนตายยาก โล่ติ้นหางไหล อื่นๆ

    อย่างละเท่าๆกัน                     3           กิโลกรัม

2. กากน้ำตาล                            1          กิโลกรัม

3. กะแช่            หรือเหล่าสาโท                 1         กิโลกรัม

4. หัวเชื้อจุลินทรีย์หรืออีเอ็ม          1          กิโลกรัม

5. ถังมีฝาปิดสนิท                         1        ใบ

6. น้ำเปล่า                                 10        ลิตร

ขั้นตอนการทำ

1.                        ผสมน้ำกับกากน้ำตาลให้เข้ากันในถังหมัก  เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์หรืออีเอ็ม และกะแช่หรือสาโทลงไป  คนให้เข้ากัน

2.                        ทุบหรือหั่นสมุนไพรต่างๆ ใส่ลงไปในถังหมัก คนให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไปแล้ว  ปริมาณน้ำจะอยู่ต่ำกว่าขอบถังหมักประมาณ 1 ฝ่ามือ

3.ปิดฝาให้สนิท  เก็บไว้ในที่ที่มีร่มเงา หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 – 10  วัน

วิธีการนำไปใช้

          1 – 2   ช้อนแกง  ต่อน้ำ  20  ลิตรหรือเข้มข้นตามชนิดของศัตรูที่รบกวน

การทำฮอร์โมนไข่

วัสดุอุปกรณ์

1.  ไข่ไก่สด  5กิโลกรัม

2.  กากน้ำตาล  5กิโลกรัม

3.  บีทาเก้น  1  ขวด

4.  ลูกแป้งข้าวหมาก  1  ลูก

5.  ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท  1  ใบ

 

ขั้นตอนการทำ

1.                        นำไข่ทั้งฟองมาทุบหรือปั่นให้ละเอียด

2.                        ผสมกากน้ำตาลกับไข่คนให้เข้ากัน  หลังจากนั้นเติม

บีทาเก้นลงไป 1 ขวด คนให้เข้ากันอีกครั้ง

3.                        นำลูกแป้งข้าวหมาก ใส่ถุงพลาสติกขยี้ให้เป็นผงแล้วใส่ลงไปในถัง  คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน

4.                        ปิดฝาให้สนิทนำไปเก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก  ทิ้งไว้ 7 วันโดยไม่ต้องคน  จึงนำมาใช้ได้

วิธีใช้

1.  ฮอร์โมนไข่  5-10  ซีซี.หรือหนึ่งช้อนแกงต่อน้ำ  20  ลิตร(ฉีดพ่น)

2.  ฮอร์โมนไข่  20-40  ซีซี.หรือสองถึงสี่ช้อนแกงต่อน้ำ  20  ลิตร(ราดลงดิน)

**ให้ทุก 5-7 วัน  ต้นไม้จะเจริญสมบูรณ์แข็งแรงดี  ให้ดอกออกผลรวดเร็ว  ดินร่วนซุยอุ้มน้ำ  และอากาศถ่ายเทสะดวก

บทสรุป

               การที่จะสามารถนำหลักการคืนชีวิตให้แผ่นดินสู่เกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืนได้ดีนั้นต้องอาศัยหลักการองค์ประกอบหลักจากตัวของมนุษย์ที่เป็นตัวแปรปัจจัยสำคัญ การรับผิดชอบที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ ความรับผิดต่อสิ่งมีชีวิตทางสังคมและตัวของมนุษย์เอง คงหนีไม่พ้นในการอาศัยหลักธรรมที่มีพลังจากใจ ปลุกจิตรใต้สำนึกของตัวมนุษย์โดยหลักพละทั้ง 5 หรือกำลังทั้ง 5 คือประการที่หนึ่งต้องสร้างศัรทธาในการนำสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่มีอยู่แล้วมาใช้กับสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และมนุษย์ที่เป็นธรรมและให้เห็นจริงในแนวทางปฏิบัติ ประการที่สองต้องมีความวิริยะความอุตสาหะทำการทดลองวิจัยอาศัยทั้งวิทยาศาสตร์เบื้งต้นรวมถึงวิทยาศาสตร์ชั้นสูงเป็นองค์ประกอบเพราะธรรมชาติต้องมีความระเอียดอ่อนค่อยเป็นค่อยไป ประการที่สามต้องมีสติในการสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในธรรมชาติใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้คุ้มค่า ประการที่สี่ต้องมีสมาธิมีหลักยืนที่มั่นคงไม่สุดโต่งต่อภัยรอบข้างของความจริง และประการสุดท้ายพลังที่ห้าจะต้องมีปัญญานำสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมาสร้างเป็นเทคโนโลยีหรือสร้างเป็นนวัฒกรรมใหม่ๆให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าในการลดต้นทุนทางการเกษตร นำไปขยายผลสู่ผู้อื่นให้หรือแรกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน คืนชีวิตให้แผ่นดินสู่เกษตรธรรมชาติที่ยั่งยืนอย่าเป็นรูปธรรมสืบไป

เอกสารอ้างอิง

เกษตรธรรมชาติ,สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.).2548

พัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง.มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

         2550                                                     

องค์ความรู้และภูมิปัญญาของศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน.กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและ 

         เกษตรกรรมยั่งยืน.2551

หมายเลขบันทึก: 271198เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท