แสงเทียนส่องทาง .. จาก..หลวงพ่อชา ( 2 )


๒๓. อุปสรรคใหญ่ของลูกศิษย์ใหม่ของท่านอาจารย์คืออะไรครับ

 ิฐิ ความเห็นและความนึกคิดเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวงเกี่ยวกับตัวเขาเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า  หลายๆท่านที่มาที่นี่ มีตำแหน่งการงานสูงในสังคม  บางคนเป็นพ่อค้าที่มั่งคั่ง หรือได้ปริญญาต่างๆ  ครูและข้าราชการ   สมองของเขาเต็มไปด้วยความคิดเห็นต่อสิ่งต่างๆ เขาฉลาดเกินกว่าที่จะฟังผู้อื่น  เปรียบเหมือนน้ำในถ้วย  ถ้าถ้วยมีน้ำสกปรกอยู่เต็ม ถ้วยน้ำก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้  เมื่อได้เทน้ำเก่านั้นทิ้งไปแล้วเท่านั้น ถ้วยนั้นก็จะใช้ประโยชน์ได้  ท่านต้องทำจิตให้ว่างจากทิฐิ แล้วท่านจึงจะได้เรียนรู้  การปฏิบัติของเรานั้นอยู่เหนือความฉลาดหรือความโง่  ถ้าท่านคิดว่าแน่ เก่ง ฉันรวย ฉันเป็นคนใหญ่คนโตฉันเข้าใจพระพุทธศาสนาแจ่มแจ้งทั้งหมด เช่นนี้แล้ว  ท่านจะไม่เห็นความจริงในเรื่องอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน  ท่านจะมีแต่ตัวตน  ตัวฉันของฉัน  แต่พระพุทธศาสนาคือการละ ตัวตน เป็นความว่าง เป็นความไม่มีทุกข์ เป็นนิพพาน



 ๒๔.กิเลสเครื่องเศร้าหมอง เช่นความโลภหรือความโกรธ เป็นเพียงมายาหรือว่าเป็นของจริงครับ

ป็นทั้งสองอย่าง  กิเลสที่เราเรียกว่าราคะหรือความโลภ ความโกรธและความหลง นั้นเป็นเพียงแต่ชื่อ เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เช่นเดียวกับที่เราเรียกชามใหญ่ ชามเล็ก สวยหรืออะไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพที่เป็นจริงแต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่เราคิดปรุงขึ้นจากตัณหา   ถ้าเราต้องการชามใหญ่ เราก็ว่าอันนี้เล็กไป  ตัณหาทำให้เราแบ่งแยก   ความจริงก็คือ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ลองมามองแง่นี้บ้าง ท่านเป็นผู้ชายหรือเปล่า ถ้าตอบว่าเป็น  นี่เป็นเพียงรูปร่างของสิ่งต่างๆ  แท้จริงแล้วท่านเป็นส่วนประกอบของธาตุและขันธ์   ถ้าจิตเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่แบ่งแยก ไม่มีใหญ่ไม่มีเล็ก ไม่มีเขาไม่มีเรา ไม่มีอะไร  จะเป็นอนัตตาหรือความไม่ใช่ตัวตน  แท้จริงแล้วในบั้นปลาย ก็ไม่มีทั้งอัตตาและอนัตตา(เป็นแต่เพียงชื่อเรียก)



๒๕. ขอความกรุณาท่านอาจารย์อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรมด้วยครับ


รรมคือ การกระทำ   กรรม คือ การยึดมั่นถือมั่น กาย วาจาและใจ ล้วนสร้างกรรมเมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น  เราทำกรรมจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า  นี้เป็นผลของการยึดมั่นถือมั่นของกิเลส เครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต  ความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายจะทำให้เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ  ท่านขโมยเขาทำให้เขาไม่เป็นสุข  เมื่อท่านเป็นพระเวลาท่านนึกถึง เรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลในอนาคตได้  ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดี ไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข

 
๒๖. บางครั้งดูเหมือนว่าตั้งแต่ผมบวชเป็นพระมานี้ผมประสบความยากลำบากและความทุกข์มากขึ้น

มรู้ว่าพวกท่านบางคนมีภูมิหลังที่สะดวกสบายทางวัตถุมาก่อนและมีเสรีภาพ  เมื่อเปรียบกันแล้ว ขณะนี้ท่านต้องเป็นผู้อยู่ อย่างสำรวมตนเอง และมักน้อยยิ่งนัก  ซ้ำในการฝึกปฏิบัตินี้ ผมยังให้ท่านนั่งนานและคอยหลายชั่งโมง   อาหารและดินฟ้าอากาศ ก็จะต่างกันไปกับบ้านเมืองของท่าน  แต่ทุกคนต้องผ่านความทุกข์ยากกันบ้าง นี่คือความทุกข์ที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์อย่างนี้แหละ ที่จะทำให้ท่านได้เรียนรู้ เมื่อท่านนึกโกรธ นึกสงสารตัวเอง นั่นแหละเป็น โอกาสเหมาะที่จะเข้าใจเรื่องของจิต   พระพุทธเจ้าตรัสว่ากิเลสทั้งหลายเป็นครูของเรา  ลูกศิษย์ทุกคนก็เหมือนลูกของผม  ผมมีความเมตตาปรารถนาดีต่อทุกคน  ถ้าผมทำให้ทุกข์ยากก็เพื่อประโยชน์ของท่านเอง   ผู้ที่มีการศึกษาน้อยมีความรู้ทางโลกน้อยจะฝึกปฏิบัติได้ง่าย


 ๒๗. ผมเจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบผมควรทำอย่างไรต่อไป

ี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้เป็นสมาธิ ใช้พิจารณาจิตและกาย ท่านจะรู้ถึงควาามสงบที่แท้จริง   ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์ เมื่อจิตไม่สงบ    ฉะนั้นจงปล่อยวางหมดทุกสิ่งแม้แต่ความสงบ


๒๘. ผมได้ยินท่านอาจารย์พูดว่าท่านเป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมากใช่ไหมครับ

ูกแล้วผมเป็นห่วง  ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป   เขาพยายามจนเกินไปแต่ขาดปัญญา   เขาเคี่ยวเข็ญตนเองไปสู่ความทุกข์โดยไม่จำเป็น   อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป  คนทั่วไปก็เช่นกัน พวกเขาไม่รู้ถึงสภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง  บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากษ์วิจารณ์จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างงี้ก็ตามใจเขา ทิฐิของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น  ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่าหรือเสมอกันกับเรา  เราก็ตกทางโค้ง   ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์



 ๒๙. ผมได้เจริญสมาธิภาวนามาหลายปีแล้ว ใจผมเปิดกว้างและสงบระงับเกือบจะในทุกสภาพการ  เวลานี้ผมอยากจะย้อนหลัง และฝึกทำสมาธิชั้นสูงหรือฝึกฌานครับ

ะทำอย่างนั้นก็ได้เป็นการฝึกจิตที่มีประโยชน์   ก็เหมือนกับอยากนั่งภาวนานานๆ ท่านจะไม่ยึดติดอยู่ในสมาธิจิต  แต่จริงๆแล้วการฝึกนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับท่วงท่าอิริยาบถต่างๆ  แต่นี่เป็นการมองตรงเข้าไปในจิต  นี่คือปัญญาเมื่อท่านพิจารณาในเรื่องของจิต แล้วท่านก็จะเกิดปัญญารู้ถึงขอบเขตของสมาธิ  เมื่อท่านได้ฝึกปฏิบัติและเข้าใจจริงเรื่องการไม่ยึดมั่นถือมั่นจะช่วยท่านในการสอนผู้อื่น หรือท่านจะหวนกลับไปฝึกฌานก็ได้ถ้าท่านมีปัญญารู้แล้วที่จะไม่ยึดถือในสิ่งใด



๓๐. ขอความกรุณาท่านอาจารย์ทบทวนใจความสำคัญของการสนทนานี้ด้วยครับ

่านต้องสำรวจตัวเอง  รู้ว่าท่านเป็นใครรู้ทันกายและจิตใจของท่าน   จงรู้ความพอดีพอเหมาะสำหรับตัวท่าน  ใช้ปัญญาในการฝึกปฏิบัติจงมีสติรู้ว่าอะไรเป็นอยู่  ท่านจะมองเห็นทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ และความดับไปแห่งทุกข์   แต่ท่านต้องมีความอดทน และต้องทนได้   ท่านจะค่อยๆได้เรียนรู้   อย่าปฏิบัติเคร่งเครียดจนเกินไป   อย่ายึดติดอยู่กับรูปแบบภายนอก    จงเป็นปกติตามธรรมชาติ   พระวินัยของพระสงฆ์และกฎระเบียบของวัดสำคัญมาก  ทำให้เกิดบรรยากาศที่เรียบง่ายและประสานกลมกลืน   แต่จำไว้ว่าความสำคัญของพระวินัยของพระสงฆ์คือการเฝ้าดูเจตตนาและสำรวมจิต   ท่านต้องใช้ปัญญาอย่าแบ่งเขาแบ่งเรา   ดังนั้นจงอดทนและฝึกให้มีคุณธรรมมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เป็นปกติตามธรรมชาติ  เฝ้าดูจิต   นี่แหละคือการปฏิบัติของเรา   ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่เห็นแก่ตัว และความสงบสันติ

 

คำสำคัญ (Tags): #หลวงพ่อชา
หมายเลขบันทึก: 271130เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาน้อมนำธรรมะไปปฏิบัติอีกครั้งครับ

ผมนับถือหลวงพ่อชาครับ ด้วยหัวใจจริงๆครับ อนุโมทนาบุญด้วยครับ

...การทำงานของสติจิตอารมณ์...

...จิตนั้นเป็นตัวรับรู้สั่นไหวแล้วปั่นเป็นอารมณ์ อารมณ์มันก็กลับไปเกาะที่จิตให้สั่งงานมาทันทีตัวอย่างเช่นขณะเกิดอาการ

ของอารมณ์ปวดหลัง จิตมันรับรู้ว่าปวดหลังอารมณ์มันเกิดคือความปวดหลังจิตมันรับรู้ว่าปวดมันก็เกิดอารมณ์ปั่นป่วน

อารมณ์มันก็กลับไปบอกจิตว่าปวดหลังแล้วนะจิต จะแก้ไขปัญหานี้ยังไงดี ถ้าเราไม่มีตัวสติมากำกับอีกตัวหนึ่งก็คือความคิดเริ่มต้นแล้ว

ปล่อยตามอารมณ์ของจิต มันก็จะพากันผสมโรง ว่า เออ!ปวดจริงๆด้วยแหละ คราวนี้มันจะปวดแสนปวด

ไม่หยุด ใจจะไม่สงบ งุดงิด รำคาญ แต่ถ้าเรามีสติมาดักตัวอารมณ์ป่วนไว้ก่อนที่อารมณ์จะสั่งจิตโดยตรง สติก็จะขึ้นหัวข้อที่ดีให้ว่า

สาเหตุแห่งความปวดนั้นเพราะอะไรแล้วสติก็มาสั่งจิตกำกับลงไปที่จิตว่า ปวดหลังหนอ! ปวดหลังหนอ! พอตัวจิตมันเกิดรู้ตัวขึ้นมามันก็แยก

ความเจ็บปวดออกไปเพราะมีสติมาสั่งจิต จิตนั้นจะเชื่อสติ หาทางแก้ปัญหานี้ให้จิตอย่าให้จิตปั่นอารมณ์เอง จิตมันก็จะแยกความเจ็บปวดออกไป

กลายเป็นอารมณ์แห่งปัญญาที่ดีที่ไม่บ่นว่าปวดเพราะรู้เหตุแห่งความปวดนั้นมาจากอะไร อารมณ์แห่งปัญญานั้นกลายเป็นยารักษาทันที

อย่างน้อยความปวดนั้นก็จะทุเลาเบาบางลงไปได้ ตรงนี้พระพุทธเจ้าของเราก็เคยทรงทำไว้ตอนที่พระเทวทัต

กลิ้งหินลงจากภูเขาทำให้ทรงห้อพระโลหิตที่เท้า แต่พระองค์ทรงแยกความเจ็บปวดนั้นออกไปได้ ด้วยสตินั่นเอง

เราต้องมาดูแล สติ จิต อารมณ์ ให้เป็นกลางก็เท่านั้น อย่าให้อารมณ์เหนือจิต อย่าให้จิตเหนืออารมณ์ มีสติคอยดูแลรักษาให้เป็นนิสัย

...สรุป...

สติ เปรียบเสมือน เชือกที่ผูกมัดจิตและอารมณ์เอาไว้ด้วยกัน หากเมื่อใดจิตมันเกิดรับรู้เกิดสั่นไหว ก็จะเกิดอารมณ์ปั่นป่วนขึ้นมา

คือถ้าจิตรับรู้ก็จะเกิดอารมณ์ทันที เชือกที่ผูกจิตและอารมณ์ไว้ก็สั่นไปถึงสติ สติก็จะไปช่วยไปดักทางก่อนอารมณ์จะเตลิดไป

จิตก็จะถามสติว่าจะทำประการใดประการหนึ่งกับอารมณ์นี้ดีพอสติริเริ่มสั่งงานแล้วจิตก็จะปั่นเป็นอารมณ์แห่งปัญญาทันที

หากแต่ว่าอารมณ์ปั่นที่มีสตินั้น ก็จะเป็นอารมณ์ปั่นของปัญญา จะนำพาไปในทางที่ชอบ ที่ควร...

พวกเราจงมารักษา สติ(ความคิดริเริ่มที่ดี)จิต(ตัวรับรู้สั่นไหวได้)อารมณ์(ปัญญาพาไปหรือตัวโง่พาไป)ให้สมดุลและมีการใช้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน

อย่าได้มองข้ามตัวสติเลยขอให้ใช้สติจนเคยชิน จะเกิดแต่ผลดีกับตัวท่านเองและคนรอบข้าง...

...ขอให้ทุกท่านที่อ่าน เจริญด้วยอารมณ์แห่งปัญญาเถิด...

...โอ ระยอง เขียน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท