๑.การจัดการการเงินของลูกสาว


ครอบครัวของเรารับราชการ ผมทำงานอยู่ห้องโสตฯ ภรรยาเป็นพยาบาล มีลูกสาว 2 คน ครอบครัวของเราคุณแม่เค้าต้องขึ้นเวรตลอด ทำให้ทุกคนในครอบครัวจำเป็นต้องปรับตัว คือช่วยเหลือตนเอง น้องหยกลูกสาวคนโตอายุ 11 ปี เค้าดูแลตนเองมาตั้งแต่เล็ก สามารถดูแลตนเองทั้งภารกิจส่วนตัวและการเล่าเรียน นอกจากนั้นยังต้องช่วยดูแลน้องสาวชื่อ โอปอล อายุ 4 ปี อีกด้วย



  เนื่องจากน้องหยกฝึกช่วยเหลือตนเองมาตลอด เรื่องหนึ่งที่เราภูมิใจอยากเล่าสู่กันฟัง ก็คือ ค่าขนมไปโรงเรียน โดยครอบครัวเราได้ตกลงกันเรื่องการจัดการการเงินค่าขนมดังนี้ เมื่อน้องหยกได้รับเงินมา จะต้องแบ่งเงินออกเป็น 3 กอง คือ 
ก้อนที่ 1 เป็นเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคต จำนวน 10 %  (เรียกว่า เงินเก็บ 10 %)
ก้อนที่ 2 เป็นเงินใช้จ่ายค่าขนมประจำวัน จำนวน 60 % (เรียกว่า เงินกระเป๋าขวา)
ก้อนที่ 3 เป็นเงินเก็บเพื่อใช้จ่าย จำนวน 30 % (เรียกว่า เงินกระเป๋าซ้าย)
การทำงานของการจัดการการเงิน มีดังนี้ ครั้งแรกต้องมีกระเป๋าสตางค์ที่สามารถเก็บเงินทั้งสามก้อนข้างต้น คือมีช่องเก็บเงินทั้งหมด 3 ช่อง ช่องที่ 1 ใช้เก็บเงิน 10 % ช่องที่2ใช้เก็บเงินกระเป๋าขวา ช่องที่3เก็บเงินกระเป๋าซ้าย ซึ่งลักษณะการใช้เงินคือ ใช้เงินจากกระเป๋าขวา และพยายามใช้เงินไม่เกิน 60 % ของเงินที่รับมาในแต่ละวัน  และถ้าใช้ไม่หมดก็ให้คงค้างอยู่ในกระเป๋าขวานี้ และถ้าหากว่าต้องการกินขนมที่มีมูลค่ามากกว่าให้ใช้เงินจากกระเป๋าขวาทั้งหมดได้ และถ้ายังไม่เพียงพอก็ให้ยืมจากกระเป๋าซ้ายได้ และต้องทำบัญชีไว้และเมื่อกระเป๋าขวามีเงินสะสมมากเพียงพอก็ให้นำเงินที่ยืมไปมาคืนกระเป๋าซ้ายด้วย ส่วนผู้ปกครองก็จะขอดูรายการบันทึกการรับจ่ายอยู่เป็นประจำและให้คำแนะนำการใช้ให้ถูกต้อง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมั่นใจว่าเป็นนิสัยของเค้าแล้ว การขอดูก็จะค่อยๆ ห่างออกมา และปล่อยให้เค้าบริหารจัดการเอง จากที่เล่ามาผลปรากฏว่า ผมให้เงินน้องหยกไปโรงเรียนน้อยที่สุด ซึ่งเท่ากับเด็กที่ได้รับเงินค่าขนมน้อยที่สุดในห้องซึ่งมีทั้งหมด 2 คนเท่านั้น แต่น้องหยกมีเงินที่สามารถใช้จ่ายได้ค่อนข้างมากทีเดียว และไม่มีปัญหาเรื่องค่าขนมไม่เพียงพอต่อการใช้ 
คลิกเพื่อฟังตัวจริงเสียงจริงดีกว่า

 

/ สร้างสุขในชีวิตประจำวัน / ลองทำเว็บบล็อคกันไหม / กาแฟ /การจัดการด้านเสียง /

/ เคล็ดลัพธ์ต่างๆ ในการดูแลคอมพิวเตอร์ /พัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเรา /

หมายเลขบันทึก: 270930เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นครอบครัวตัวอย่างค่ะที่รักครอบครัวขอปรบมือให้ค่ะ

วันนี้ก็ยังใช้อยู่ครับ และลูกก็ใช้ได้อย่างประสบผลน่าประทับใจอีกด้วย เรียนมอหนึ่งแล้วนะ

ดูว่าเป็นเรื่องเล็กๆ นะ แต่ในครอบครัวก็พึ่งแนวทางอย่างนี้แหละครับ ดูที่รายเหลือ ไม่ใช่รายได้น่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท