ตามพี่แก้วไปนำเสนอสถาบัน SWIT ที่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)


บ่ายวันจันทร์ได้มีโอกาสตามพี่แก้ว ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว ผู้จัดการสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT) ไปนำเสนอสถาบันเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่น้องๆที่เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่นที่ 4 (22-24 มิ.ย. 52)

ทำความรู้จักกับโครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่นที่ 4

"ครั้งแรกที่มีโอกาสได้ลงพื้นที่ในหมู่บ้านเฮโก จังหวัดเชียงราย เพื่อไปแจ้งแม่เฒ่าให้รู้ว่าหลานชายของแม่เฒ่าได้รับอนุมัติสัญชาติไทย หลังจากที่แม่เฒ่าทราบ น้ำตาแห่งความปลาบปลื้มปิติก็ไหลรินเต็มตาทั้งสองข้าง คงจะเป็นน้ำตาที่แม่เฒ่ารอมานาน แม้ว่าคนที่ได้รับสัญชาติไทยจะเป็นหลานชายก็ตามที น้ำตาของแม่เฒ่านี้ทำให้คนเห็นอย่างฉัน เห็นความสำคัญของบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาในทันที ว่ามันมีค่าและมีความสำคัญมากเพียงใด และเมื่อใดที่ฉันทำงานหนัก เครียด หรือรู้สึกท้อแท้กับงาน ฉันจะนึกถึงภาพแม่เฒ่าผู้นี้ร้องไห้ มันทำให้ฉันมีแรงขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง"

อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์ อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รุ่น 1

มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา จังหวัดเชียงราย
(ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้ช่วย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

มาร่วมเรียนรู้ประสบการณ์การเป็น "นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน" ที่ไม่ใช่แค่ตัวอักษร แต่เป็นชีวิตจริง!

อาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คือ อาสาสมัครที่ทำงานเต็มเวลากับองค์กรนั้นๆ ซึ่งในการทำงานก็จะมีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง โดยมีระยะเวลาการปฎิบัติงาน คือ 1 ปี หากเพียงแต่ว่า "การเป็นอาสาสมัคร"จะทำงานพร้อมๆ กับการเรียนรู้ โดยอาสาสมัครฯจะต้องเข้าร่วมในกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ซึ่งจัดโดยมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) นับตั้งแต่เริ่ม คือ การปฐมนิเทศ ก่อนปฎิบัติงาน ซึ่งกำหนดไว้เป็นวันที่ 1- 5 กรกฎาคม 2552 หลังจากนั้นทุกๆ คนจะแยกย้ายลงพื้นที่ปฎิบัติงานตามองค์กรของตน และจะกลับมารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของกันและกัน และเรียนรู้เนื้อหา ทักษะต่างๆ ทุก ๆ 4 เดือน คือ เดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 และในครั้งสุดท้าย คือ ต้นเดือนกรกฎาคม 2553 จะเป็นเวทีที่อาสาสมัครฯ จะนำเสนอรายงานบทเรียนการทำงาน 1 ปีของตนเอง

ในส่วนของภาระหน้าที่ของอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จะขึ้นอยู่กับความคาดหวัง หรือความต้องการของแต่ละองค์กรที่ขอรับอาสาสมัคร เช่น การทำคดี ทนายผู้ช่วย การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การศึกษาและรณรงค์กฎหมาย การประสานงาน และอื่นๆ โดยมีเรื่อง/ประเด็นที่หลากหลาย เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สัญชาติ แรงงาน สื่อ เป็นต้น และมี กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น ชาวบ้านที่ประสบปัญหาจากโครงการของรัฐ/เอกชน หญิงบริการ แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้บริโภค เด็ก ฯลฯ

ในปีนี้องค์กรที่ขอรับอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน รุ่น 4 รวม 20 คน โดยมีประเด็นต่างๆ คือ
กฎหมาย
o เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กรุงเทพฯ ลักษณะงาน เป็นงานข้อมูลเพื่อพัฒนากฎหมาย และงานประสานงาน
o คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) จ.กรุงเทพฯ ลักษณะงาน เป็นงานข้อมูล และงานประสานงาน
o คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ (คปส.) กรุงเทพฯ ลักษณะงาน เป็นงานข้อมูล และงานประสานงาน
o โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กรุงเทพฯ ลักษณะงานเป็นงานข้อมูล และงานประสานงาน

ช่วยเหลือทางกฎหมาย
o ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น จ.เชียงใหม่
o โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม กรุงเทพฯ โดยเฉพาะกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้หญิง
o โครงการพนักงานบริการนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน High Heeled Rights Defender (ทนายส้นสูง) มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ จ.นนทบุรี ลักษณะงานเป็นงานฝึกอบรม

สัญชาติ
o ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชนภายใต้สมาคมฟื้นฟูและพัฒนาลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ลักษณะงานส่งเสริมให้มีการใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายสัญชาติ

แรงงานข้ามชาติ
o โครงการส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP FOUDATION) จ.เชียงใหม่ ลักษณะงานจะเป็นงานฝึกอบรม และงานช่วยเหลือคดี (ประสานทนายความ)
o โครงการส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) จ.เชียงใหม่ ลักษณะงานจะเป็นงานฝึกอบรม
o คลีนิคกฎหมายแรงงานแม่สอด มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา(มสพ.) จ.ตาก ลักษณะงานจะเป็นงานฝึกอบรม และงานช่วยเหลือคดี (ประสานทนายความ)
o ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านแรงงานและคดีความ Labour Center (LC-LPN) มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน จ.สมุทรสาคร ลักษณะงานจะเป็นทั้งงานกฎหมาย และงานพัฒนา

ทรัพยากรธรรมชาติ

สิ่งแวดล้อม
o ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนฯ จ.อุดรธานี ลักษณะงานจะเป็นทั้งงานกฎหมาย และงานพัฒนา
o โครงการMining Watch Thailand จ.สระบุรี งานจะเป็นทั้งงานกฎหมาย และงานพัฒนา
o สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎรธานี งานจะเป็นทั้งงานกฎหมาย และงานพัฒนา

HIV / เอดส์
o มูลนิธิพัฒนรักษ์ กรุงเทพฯ พื้นที่ปฏิบัติงาน คือ จ.กาญจนบุรี

 

ข้อมูล: http://www.thaivolunteer.or.th

เก็บภาพบรรยากาศโครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่นที่ 4 มาฝากค่ะ

มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (Thai Volunteer Service)

แอบฟังพี่แก้วคุยกับพี่ดำ พี่ดำได้เล่าให้ฟังว่าปีนี้มีน้องๆนักกฎหมายสมัครกันมาทั้งหมด 52 คน ผ่านการคัดเลือก 38 คน แอบถามพี่ดำว่าแล้วน้องๆอีก 14 คน ทำไมถึงไม่ผ่านเกณฑ์ พี่ดำบอกว่าน้องๆไม่ตอบคำถามส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งติดต่อไม่ได้ แอบกระซิบเราอีกว่าสุดท้ายแล้วจะคัดเหลือ 25 คนตามสัดส่วนองค์กรและสถาบันที่ร่วมโครงการ

พี่ดำเป็นผู้ดูแลโครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จบคณะรัฐศาสตร์ พี่ดำบอกกับเราว่า "สิ่งที่เรียนมาไม่ได้ใช้ ใช้ประสบการณ์มากกว่า ประสบการณ์เป็นสิ่งมีคุณค่า" ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ได้จากโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครเกิดมาพร้อมกับประสบการณ์ คงต้องเรียนรู้และสะสมกันไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง เราจึงไม่ควรหยุดเรียนรู้ ยิ่งหากนำความรู้ที่เราศึกษาเล่าเรียนหรือที่สะสมมาจากชีวิตการทำงานมาผนวกรวมกันแล้วก็จะเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

โครงการอาสาสมัครนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนนี้มีโครงการที่จะขยายต่อไปอีก 3 ปี รวมถึงยังมีโครงการครูอาสาและงานเยาวชนเพิ่มเข้ามาอีกด้วย

พี่แก้ว ก่อน presentation

พี่แก้วขณะนำเสนอสถาบัน SWIT แก่น้องๆที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งที่น้องๆจะได้รับประสบการณ์คือน้องๆจะสนับสนุนงานวิจัย เรียนรู้งาน พัฒนาทักษะข้อกฎหมาย เรียนรู้ในการเขียนบทความ

พี่แก้วบอกน้องๆว่า เรื่ององค์ความรู้เป็นสิ่งจำเป็น ต้องการผู้เชี่ยวชาญ อยากสนับสนุน พัฒนาคนที่จะมาทำงานในด้านนี้ เชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีความสามารถพัฒนาศักยภาพ ช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์กรต่างๆ เข้าถึงงานในเชิงผลักดัน ทำประโยชน์และสร้างคุณค่าแก่สังคมต่อไป

S    Stateless

W   Watch for Research and Development

I     Institute of

T    Thailand

หน้าตาของนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนรุ่นเยาว์ (รุ่นที่ 4)

พี่แก้วเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่: 5x6 จากแม่อาย...สู่อันดามัน 

หมายเลขบันทึก: 270644เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ก่อนอื่นขอให้หนึ่งแก้ชื่อมูลนิธิก่อนนะ ตัวย่อคือ มอส.จ้า

ดีใจจังเลยที่ไปประชุมแล้วกลับมาบันทึก เป็นแบบอย่างให้พี่ ๆ น้อง ๆ

ยินดีกับคุณอุบลวรรณที่ได้ไปร่วมกิจกรรมค่ะ

พี่มิว:ขอบคุณที่บอกค่ะพี่มิว รีบพิมพ์ไปหน่อย พิมพ์ถูกพิมพ์ผิดเลย

berger0123: ขอบคุณค่ะ จะ(พยายาม)เก็บเรื่องราวมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท