หน่วยการเรียนรู้การเลี้ยงปลากระชัง บ้านทุ่งขาม


ผู้เรียนเป็นสำคัญ

จากการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่งขาม ต.ใหม่พัฒนา อ.เกาะคา จังหวัดลำปาง การจัดเวทีประชาคม และการเสวนา ชุมชนบ้านทุ่งขามก็ได้แผนชุมชนบ้านทุ่งขามออกมา ผู้นำในการจัดเวทีประชาคมคือ นางณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ และครูรสาพร หม้อศรีใจ ได้เชิญชวนให้สมาชิกผู้เข้าร่วมเวทีได้แบ่งกลุ่มอาชีพตามความสนใจ และความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนเอง มีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มปลากระชังยอดสุดท้ายคือ 10 คนที่ตัดสินใจ จับมือ และลงทุนร่วมเลี้ยงปลาด้วยกัน สมาชิกกลุ่มได้ตั้งคณะกรรมการ มีประธานกลุ่ม เลขานุการ กรรมการ และเหรัญญิก เนื่องจากจะต้องมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการบริหารกลุ่ม หลังจากนั้นก็ได้จัดเสวนา คุยกันว่าจะวางแผน และดำเนินการอย่างไร ให้กลุ่มสามารถเดินหน้าได้ สมาชิกกลุ่มก็ได้คิดกิจกรรมที่จะดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันออกมาเป็นแผนปฏิบัติการ ครูพี่เลี้ยงกลุ่มเลี้ยงปลาได้แก่ครูเกวลิน อุตมะ ครูมงคล พรมตวา ครูรุจิรา ปานศิลา โดยมีครูรสาพร หม้อศรีใจเป็นที่ปรึกษา ทั้งครูและผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ได้องค์ความรู้ที่ใหม่ ๆ ออกมา จนเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ครู และผู้เรียนร่วมกันสร้างคือ หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตกลุ่มเลี้ยงปลากระชัง  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนเรียนจากการเรียนรู้สภาพจริง  และวิถีชีวิตจริงที่เป็นอยู่ หลักสูตรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเลี้ยงปลากระชัง

  • การทำปลากระชัง
  • แหล่งน้ำที่ปลาชอบ
  • ชีวิตของสัตว์น้ำ
  • พันธ์ปลาที่น่าเลี้ยง
  • การตลาดกับอาชีพพันธ์ปลา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

  • เวทีประชาคม
  • การทำแผนชุมชน
  • การทำแผนปฏิบัติการ
  • การทำแผนธุรกิจชุมชม
  • การทำฝายแม้ว

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สุขกายสบายใจ

  • จิตสบายกายเป็นสุข
  • อิ่มอร่อยครบคุณค่า
  • สุขบัญญัติ 10 ประการ
  • โรคติดต่อที่ควรทราบ
  • โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 คนดีของชุมชน

  • ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
  • ความสื่อสัตย์ ขยันและอดทน
  • การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
  • การทำบัญชี
  • ครอบครัวอบอุ่นเพิ่มพูนชีวิต

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความภูมิใจและความผูกพันในท้องถิ่น

  • ประวัติหมู่บ้าน
  • ประเพณีสรงน้ำพระธาตูดอยฮาง
  • การเลี้ยงผีดง
  • ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

หน่วยการเรียนที่ 6 หลักธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

  • การปฏิบัติตนตามหลักพุทธศาสนา
  • ธรรมะกับสุขภาพ
  • ธรรมะในการครองเรือน
  • วันสำคัญทางศาสนา
  • เข้าวัดฟังธรรมทุกวันพระ

หน่วยการเรียนที่ 7 สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์

  • ประวัติพระธาตุดอยฮาง
  • การอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว
  • ระบบนิเวศดอยฮาง
  • การทำแผนที่จำลอง
  • การออกแบบและตกแต่งสถานที่

สิ่งที่ครูและผู้เรียนได้จากการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวคือ ครู และผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์โดยอาศัยข้อมูลที่เป็นทุนเดิมที่มีอยู่ คือทุนทางปัญญา และทุนทางด้านสังคม ของแต่ละคนเนื่องจากว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตจริง ของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ทั้งครูและผู้เรียนเป็นเจ้าของหัวปลาร่วมกัน ครูได้มีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นจากการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการทำงานทั้ง 3 ทีมคือ ทีมนำ ทำทำ และทีมพัฒนา

ณราวัลย์

5 พฤษภาคม 2549

 

 

หมายเลขบันทึก: 27039เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2006 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
จากการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่งขาม ต.ใหม่พัฒนา อ.เกาะคา จังหวัดลำปาง การจัดเวทีประชาคม และการเสวนา ชุมชนบ้านทุ่งขามก็ได้แผนชุมชนบ้านทุ่งขามออกมา ผู้นำในการจัดเวทีประชาคมคือ นางณราวัลย์  นันต๊ะภูมิ และนางรสาพร  หม้อศรีใจ ได้เชิญชวนให้สมาชิกผู้เข้าร่วมเวทีได้แบ่งกลุ่มอาชีพตามความสนใจ และความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนเอง มีผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มปลากระชังยอดสุดท้ายคือ 10 คนที่ตัดสินใจ จับมือ และลงทุนร่วมเลี้ยงปลาด้วยกัน สมาชิกกลุ่มได้ตั้งคณะกรรมการ มีประธานกลุ่ม เลขานุการ กรรมการ และเหรัญญิก เนื่องจากจะต้องมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายการบริหารกลุ่ม หลังจากนั้นก็ได้จัดเสวนา คุยกันว่าจะวางแผน และดำเนินการอย่างไร ให้กลุ่มสามารถเดินหน้าได้ สมาชิกกลุ่มก็ได้คิดกิจกรรมที่จะดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันออกมาเป็นแผนปฏิบัติการ ครูพี่เลี้ยงกลุ่มเลี้ยงปลาได้แก่ครูเกวลิน  อุตมะ  ครูเกวลิน  อุตมะ   ครูมงคล  พรมตวา  ครุรุจิรา  ปานศิลา    โดยมีครูรสาพร  หม้อศรีใจเป็นที่ปรึกษา ทั้งครูและผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ได้องค์ความรู้ที่ใหม่ ๆ ออกมา จนเกิดนวัตกรรมใหม่ที่ครู และผู้เรียนร่วมกันสร้างคือ หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการหน่วยการเรียนบูรณาการเรียนรู้  สะสมหน่วยกิตกลุ่มเลี้ยงปลากระชังซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนเรียนจากการเรียนรู้สภาพ  จริง  และวิถีชีวิตจริงที่เป็นอยู่ ทำให้ทราบว่า  การทำงานของศบอ.เกาะคาทำงานกันอย่างจริงจัง  และของงานที่ออกมาเป็นรูปธรรม

ผมสนใจที่จะทำธุระกิจเลี้ยงปลากระชังเหมือนกันครับอยากติดต่อผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มากครับติดต่อกลับด้วยครับ0857155890

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท