การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร POSDCORD


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร POSDCORD

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร POSDCORD

 

ในการบริหารองค์การทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์การทางการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การบริหารหรือองค์การที่เป็นระเบียบแบบแผนของสังคม ย่อมต้องอาศัยทรัพยากรในการบริหารทั้งสิ้น ทรัพยากรในการบริหารองค์การนั้นอาจมองได้หลายทางแต่ไม่ว่าจะมองในแง่ใดก็ตามทรัพยากรมนุษย์จะเป็นทรัพยากรหลักในการบริหารเพราะมนุษย์จะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้กิจกรรมทั้งปวงขององค์การดำเนินการได้ การบริหารอาจจะมองได้สองแนวทางคือ การบริหารในฐานะที่เป็นกระบวนการ และการบริหารในฐานะที่เป็นภารกิจ ถ้ามองการบริหารในฐานะที่เป็นกระบวนการ อาจจะมีหลายแนวคิด แต่แนวคิดหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันค่อนข้างแพร่หลายได้แก่ แนวคิดที่ว่า กระบวนการบริหารประกอบด้วย ขั้นตอนที่สำคัญ ๗ ขั้นตอนได้แก่
การวางแผน [Planning]
การจัดองค์การ [Organization]
การจัดกำลังคน [Staffing]
การอำนวยการ [Directing]
การประสานงาน [Coolrdinating]
การรายงาน [Reporting]
การงบประมาณ [Budgeting]


ซึ่งเรารู้จักกันคำย่อที่ว่า POSDCORB หรือถ้าหากมองการบริหารในฐานะที่เป็นภารกิจ เป็นที่ยอมรับกันในวงการศึกษาทั่วไปที่ว่า ภารกิจของสถานศึกษาจะประกอบด้วยภารกิจที่สำคัญอยู่ ๖ ประการ คือ
งานวิชาการ
งานธุรการ
งานบุคคล
งานอาคาร สถานที่
งานกิจการนักเรียนนักศึกษา
งานความสัมพันธ์กับชุมชน
จากสาระที่ยกมาข้างต้นจะเป็นได้ว่า เราจะมองการบริหารในฐานะที่เป็นกระบวนการ หรือมองการบริหารในฐานะที่เป็นภารกิจก็ตาม งานบุคคลก็ต้องเกี่ยวข้องทั้งสองด้าน ดังนั้นจึงทำให้ผู้บริหารจะให้ความสำคัญต่องานบุคคลค่อนข้างสูง งานบุคคลอาจจะเรียกแตกต่างออกไป เช่น งานการเจ้าหน้าที่งานบุคคล งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งการบริหารบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์นั้นมีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่ต้องการ จนกระทั่งให้บุคลากรพ้นจากองค์การ ขั้นตอนที่สำคัญต่อองค์การเป็นอย่างมาก ขั้นตอนที่หนึ่งคือการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานหรือในองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มพูนสมรรถภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน การเพิ่มสมรรถภาพของทรัพยากรมนุษย์นั้นอาจจะเพิ่มได้ในหลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ ความสามารถ ด้านบุคลิกภาพ ด้านเจตคติ ด้านคุณธรรม เป็นต้น ระยะเวลาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น อาจจะเริ่มตั้งแต่บุคลากรเข้าสู่องค์การ เมื่อบุคลากรได้ปฏิบัติงานได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นซึ่งการพัฒนาในแต่ระยะเวลาที่กล่าวมานั้นมีสาระโดยสังเขป ดังนี้ การพัฒนาเมื่อบุคลากรเริ่มเข้าสู่องค์การได้แก่ การปฐมนิเทศบุคลากร ซึ่งสาระของการพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นการให้สาระความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน ได้แก่บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่หน่วยงานต้องการ จากผู้เข้ามาใหม่ กฏระเบียบและวัฒนธรรมองค์การ ผลตอบแทนและสิ่งที่องค์การให้แก่บุคลากร นอกจากนั้นอาจจะเป็นการมอบหมายงานและหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่บุคลากรเป็นต้น การพัฒนาในขั้นนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาบุคลากรก่อนปฏิบัติงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การที่มีความจำเป็นมากต่อการเพิ่มพูนสมรรถภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงาน คือ การพัฒนาบุคลากรในระหว่างการปฏิบัติงาน การพัฒนาในขั้นตอนนี้อาจจะทำให้หลายกรณ๊ เช่น
. การพัฒนาระหว่างการปฏิบัติงาน [On the job trianning]
. การพัฒนาก่อนการเลื่อนตำแหน่ง [Pre promationtrianning]
. การพัฒนาก่อนการเปลี่ยนตำแหน่ง

การพัฒนาระหว่างการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติระหว่างการปฏิบัติงานที่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเป็นระยะเวลานานๆ ก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ เมื่อมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ ผู้นั้นจำเป็นต้องมีการพัฒนาในการใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดีเหมือนกับบุคลากรรุ่นใหม่ วิธีการพัฒนาบุคลากรระหว่างการปฏิบัติงานอาจทำได้หลายวิธี เช่น การปฏิบัติหน้าที่ไปพร้อมๆกันกับการเรียนรู้ใหม่ โดยวิธีสอนแนะ [Coaching] วิธีการพัฒนาบุคลากรระหว่างการปฏิบัติงานอื่นมี เช่น การประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น วัตถุประสงค์ของการพัฒนา ถ้าต้องการเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานก็อาจจะใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ ถ้าต้องการให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงออกก็อาจใช้วิธีการประชุมสัมมนา เป็นต้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกประการหนึ่ง คือ เวลาที่มีสำหรับการพัฒนา ถ้าหากเวลามากและต้องการพัฒนาในระยะยาว ก็ต้องใช้วิธีการศึกษาต่อ ถ้าหากมีเวลาน้อย ต้องการแก้ปัญหาเร็ว อาจใช้วิธีการประชุมต่างๆเช่น การศึกษาดูงาน เป็นต้น
การพัฒนาก่อนการเลื่อนตำแหน่ง
เป็นการพัฒนาบุคลากร เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น ดังนั้นเนื้อหาสาระใหม่ที่สูงขึ้น ดังนั้นเนื้อหาสาระของการพัฒนาจึงเกี่ยวข้องกับตำแหน่งใหม่ที่จะต้องรับผิดชอบ กฏระเบียบที่จำเป็นจะต้องใช้การวางตนในหน้าที่ใหม่และอื่นๆที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่องานในหน้าที่ใหม่ การพัฒนาก่อนการเปลี่ยนตำแหน่ง
มีหลักการและวิธีการที่คล้ายคลึงกับการพัฒนาก่อนการเลื่อนตำแหน่งต่างกันที่เนื้อหาสาระที่เน้นหนักในงานตามหน้าที่ใหม่เท่านั้น ที่กล่าวมาเป็นแต่เพียงสาระโดยสังเขปของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การเท่านั้น ความจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และมีเนื้อหาสาระมากมาย ซึ่งต้องใช้เวลาในการศึกษายาวนานพอสมควรเพราะ ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจขององค์การ องค์การจะดีเลว ประสบความสำเร็จ ล่มสลายหรือไม่ ทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอน ( จาก : นิตยสารกัลยาณมิตรฉบับพระสังฆาธิการ )

 

          อ้างอิง : เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ.2545. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร POSDCORD. [Online] Available.URL : http://www.paknam.org/htdocs/admin3.htm

หมายเลขบันทึก: 269765เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นบทความที่มีประโยชน์ในด้านของการบริหารทรัพยากรมนูษย์ อ่านแล้วชอบจัง

ขอบคุณค่ะพี่หน่อยที่เข้ามาเยี่ยมชม

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

มีกำลังใจในการค้นคว้าเป็นกองเลยค่ะขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

ตามมาอ่านผลงานของคนขยันคะ

มาให้กำลังใจด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท