อบรมการทำการเกษตรแบบธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(ต่อตอนที่๓ครับ)


การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด ตามแบบสาธิตของอาจารย์แดง พงษ์พันธ์ นันทขว้าง

วันก่อนผมเล่าถึงการมาสาธิตการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ ๗ ชนิดก็เล่าได้สองชนิดก็ตาลายเสียก่อนอายุมากพิมพ์ก็แบบจิ้มเอา ก็ขอเล่าต่อนะครับ ผมไปสายก็เลยไม่ทันกลุ่มแรกที่เตรียมพืชสีเขียวและสดที่หมักน้ำชีวภาพชนิดที่ ๑ อีกมุมหนึ่งของใต้ถุนบ้านที่ปรับมาเป็นเวทีสาธิต มีพี่ผู้หญิงสองสามคนกำลังหั่นกล้วยสุก  มะม่วงสุก กล้วยสุก และมะไฟสุก เพื่อทำนำหมักชนิดที่ ๒ จากผลไม้สุก รู้สึกว่าจะเป็นกลุ่มที่เตรียมเสร็จเร็วกว่าเพื่อนแล้วต้องไปช่วยกลุ่มแกะหอยต่อ ในตอนท้ายที่สาธิตรวมกันนั้นมีขั้นตอนที่อาจารย์แนะนำดังนี้

นำวัสดุที่เตรียมแล้วมาเรียงไว้รอการสาธิตตั้งแต่ชนิดที่ ๑ ถึง ๗

 

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗

ชนิด ๆที่ ๑ น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากพืชสีเขียวและสด(Fermental Plant Juice-FPS)
๑.ข้อควรพิจารณา
เลือกเอาส่วนยอดดีที่สุด(ผักบุ้ง,หน่อไม้,หน่อกล้วย) แต่ที่ใช้บ้านเราหาง่ายได้แก่หน่อกล้วย,แตงกวาสีเขียว,เปลือกแตงโม
เวลาเก็บให้เก็บตอนเช้า/ก่อนตะวันขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ยอดกำลังจะเริ่มสังเคราะห์แสงนำเอ็นไซม์ต่างๆมาสะสมมากมาย
เลือกเอาส่วนที่เขียวที่สุด
ห้ามล้างน้ำ
๒. วัสดุที่ใช้
ภาชนะปากกว้าง
น้ำตาลทรายแดง
กระดาษปรู๊ฟ/เชือก
วัสดุมีสีเขียว
๓.อัตราการใช้ ๗:๓:๑ ได้แก่ วัสดุพืชสีเขียว ๗ กก.น้ำตาล ๓ ก.ก.เกลือ ๑ กำมือ
๔.วิธีการหมัก/
· หั่นวัสดุพืชสีเขียว ขนาด ๒-๔ เซฯติเมตร
· แบ่งน้ำตาลออกเป็น ๒ เท่าแบ่งน้ำตาลออกเป็นสองส่วนเท่ากัน
· เอาน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ ๑ แล้วคลุกเบา ใช้ฝ่ามือสอดเบาๆ ใช้ฝ่ามือสอดพลิกกลับกลับมา
· นำไปบรรจุในภาชนะปากกว้าง
· นำของหนักห่อหุ้มด้วยพลาสติก ทับไว้ กดให้แน่น ทิ้งไว้ ๑๒ ชั่วโมง
· หุ้มด้วยกระดาษกรวย
· เอาน้ำตาลทรายส่วนที่ ๒ โรยหน้า และให้ทั่วและเกลือ หนึ่งกำมือข้าว เอาของหนักทับไว้
· เอากระดาษปิด มัดเชื่อก
· ทิ้งไว้ ๘-๑๐ วัน(โดยให้อยู่ในร่ม
๕.รินใส่ขวดให้ได้ ๒/๓ ของขวด ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม

๖.ข้อบ่งใช้
· ใช้อัตรา ๒ ซ้อนโต๊ะต่อน้ำ ๑๐ ลิตร ใส่ ราด พ่นในวันที่ ๓-๕-๗ของเดือน(๑๒๓๔๕๖๗๘๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕
· ราดลงดินห่างจากต้น ๑ คืบ ทับด้วยใบไม้แห้งฯลฯ ให้เกิดความชื้น
· น้ำไปใช้ในระยะเวลา ๔๕ วันดีที่สุด ถ้าเปิดใช้แล้ว
· สามรถเก็บไว้ได้ ๓ เดือน ถ้าปิดฝาไม่สนิท
· ทำปู๋ยหมัก
· ผสมน้ำดื่มสัตว์
· ผสมอาหารสัตว์

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ชนิดที่ที่ ๒ น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากผลไม้สุก(Fermental Fruit Juice:FFJ)

ข้อควรพิจารณา  ผลไม้ต้องสุก ควรใช้หลายๆชนิดรวมกัน อย่างน้อยสามชนิด ห้ามล้างน้ำ

วัสดุที่ใช้ ที่ดีที่สุด

  1. กล้วยน้ำว้า, มะละกอ,ฟักทอง/ถ้าไม่มีอะไรก็ได้
  2. น้ำตาลทรายแดง
  3. โอ่งเคลือบ
  4. กระดาษและเชือก 

อัตราการใช้ ผลไม้สุก ๑ ส่วน ต่อ น้ำตาลทราย ๑ ส่วน

วิธีทำ/หมัก

  • หั่นผลไม้สุกเป็นชิ้นๆ ๒-๔ เซนติเมตร
  • แบ่งน้ำตาลทรายแดงออกเป็น ๒ ส่วน เท่าๆกัน
  • เอาน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ ๑ คลุกกับผลไม้สุกเบาๆ
  • นำไปบรรจุลงในภาชนะห้ามกด เกลี่ยหน้าให้เสมอกัน เสร็จแล้วเทน้ำตาลส่วนที่๒ โรยทับหน้า เช็
  • เอาน้ำตาลทรายส่วนที่สองโรยทับหน้า เช็ดปากโอ่งให้แห้ง
  • เอากระดาษปิดไว้ ๘-๑๐วัน (ไม่ต้องใช้ของหนักทับ
  • ห้ามขยับหลังปิดแล้ว ๖ ชั่วโมง
  • ครบกำหนดรินใส่ขวดให้ได้ ๒/๓ ของขวด ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม

ข้อบ่งใช้ 

  •  
    1. อัตราใช้ ๒ ซ้อน ต่อน้ำ ๑๐ ลิตร ใส่ ราด พ่น วันที่ห่างกัน ๓ , ๕ ,๗ ต่อเดือน
    2. ราดลงดินห่างจากต้น ๑ คืบ ทับด้วยใบไม้แห้ง(เพื่อรักษาความชื้น)
    3. ผสมน้ำให้สัตว์กิน
    4. ผสมอาหารสัตว์
    5. ทำปุ๋ยหมัก
    6. ใช้ภายใน ๔๕ วันดีที่สุด
    7. สามารถเก็บไว้ได้ ๓ เดือน

 กลุ่มถัดไปไกล้ๆกับที่หันผลไม้ก็กำลังขมักขเม้นหั่นปูเลยหรือภาคกลางเรียกไพล หรือวานไฟของพี่น้องอีสาน เตรียมเสร็จในเวลาไกล้เคียงกัน เอาไปเรียงเตรียใว้ทำน้หมักชนิดที่สามครับ 

 

 

 

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗ ชนิด

ชนิดที่ที่ ๓ การทำฮอร์โมนพืชสมุนไพร(Orient Herb Hormone Nutrial:OHN)

ข้อควรพิจารณา  สามารถทำได้อีก ๕ ครั้ง หลังจากทำครั้งแรกรวม ๖ ครั้ง

วัสดุที่ใช้(อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันไม่ได้)

  • ชะเอม
  • โสมตังกุย
  • อบเชย
  • กระชายดำ
  • ถ้าไม่มี ใช้ ขิง ข่า กระเทียม มะแขว่น ปูเลย สมุนไพรที่คน กินได้ใช้ได้หมด
  • เบียรหรือเหล้าสาโท ๒ ขวด อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • น้ำตาลทรายแดง ๑/๒ กิโลกรัม
  • เหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด

อัตรา วัสดุสมุนไพร ๑ กิโลกรัม ต่อ เหล้าหรือเบียร์ ๒ ขวด ต่อ น้ำตาลทรายแดง ครึ่งกิโลกรัม

เหล้าขาว ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด

วิธีทำ/หมัก

  1. ขวดโหล มีฝาปิด ล้างให้สะอาดทิ้งให้แห้ง
  2. นำวัสดุจำนวน ๑ กิโลกรัมใส่
  3. เอาเหล้าขาว/เบียร์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ๒ ขวดเทให้ท่วมวัสดุ
  4. ปิดฝา
  5. ทิ้งไว้ ๑๒ ชั่วโมง เสร็จแล้วเอาน้ำตาลทรายแดงใส่ ครึ่งกิโลกรัม พร้อมทั้งเหล้า ๔๐ ดีกรี ๒ ขวด ทิ้งไว้ ๘-๑๐ วัน รินใส่ขวดเก็บไว้

ข้อบ่งใช้

 

  • ใช้อัตรา ๑ ซ้อน ต่อ น้ำ ๑๐ ลิตร
  • ใส่ในน้ำเป็นอาหารเสริมเร่งการเจริญเติบโต
  • ใส่ในน้ำผ่อนคลายความเครียด
  • ผสมเหล้าดองยาอื่นๆ ได้หลายชนิด
  • พ่นสัตว์ ทำลายเห็บ  หมัด ยุง  ผื่น ขี้เรื้อนหาย
  • ผสมกับจุลินทรีย์อื่นๆ ให้สัตว์กิน

นำวัสดุที่เตรียมแล้วมาเรียงไว้รอการสาธิตตั้งแต่ชนิดที่หนึ่งถึงเจ็ด

การคลุกหอยเชอรี่กับน้ำตาลทรายแดง

การผลิตเชื้อจุลินทรีย์ ๓ ประเภท ๗

ชนิด ๆที่ ๗ น้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากเศษปลา หอย ปู กุ้ง รกหมู ไส้เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งผสมกันไม่ได้(Fermental Amino Acid-FAA)                                         

กลุ่ม แรกที่เราเห็นคือทุบหอยเชอรี่เอาแต่ตัวไม่เอาเปลือก (เปลือกเอาไปตากแห้งแล้วบดผสมในสูตรอาหารสัตว์ไม่ต้องทิ้ง)จะใช้สิบกิโลทำท่าจะไม่ได้เพราะหอยตัวเล็ก สรุปตอนท้ายได้แค่ห้ากิโลก็เอามาคลุกกับนำตาลทรายแดงห้ากิโล ตามอัตรา ๑ต่อ๑ การคลุกจะใช้เวลานานนานเกือบ๒๐นาทีเพื่อให้เข้ากันดีกลิ่นคาวหอยจะหมดไป ถึงเอาไปบรรจุในถัง ปิดผาให้สนิท ให้มีที่ว่างในถังด้วย ๑ใน๓ ให้คนทุกวันวันละ๑-๒ครั้งเพราะถ้าไม่คนจะเป็นไข หลังคนปิดฝาใหสนิททุกครั้ง ทิ้งไว้๑๕วัน รินใส่ขวดให้ได้ ๒/๓ของขวด ปิดฝาเก็บไว้ที่ร่ม แล้วให้เรียกว่า โปรตีน ข้อบ่งใช้ ใช้อัตรา ๒ ซ้อนต่อน้ำ ๑๐ ลิตร พ่นทางใบ วันที่ห่างกัน ๓-๕-๗วันต่อเดือน ราดดินห่างจากต้นพืช ๑ คืบ ทับด้วยใบไม้แห้งต่างๆให้เกิดความชื้น ควรใช้ให้หมดภายใน ๔๕ วัน กากที่เหลือผสมรำอ่อนให้สัตว์กิน กาก๑ก.ก.ต่อรำอ่อน๑๐ ก.ก.ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันราดด้วยน้ำหมัก๗ชนิดปั้นเป็นก้อนให้สัตว์น้ำจำพวก กบ ปลาดุก ตะพาบน้ำ จระเข้ กิน ทำปุ๋ยหมัก ผสมน้ำดื่มให้สัตว์ ผสมอาหารสัตว์

  1. การฉีกใบสะเดา ทั้งเด็กผู้ใหญ่ช่วยกัน ถือโอกาสให้ความรู้ อบรมลูกหลานไปในตัว
  2. สามัคคีช่วยกันครับ งานง่ายๆไม่เปลืองแรงแต่นานกว่าจะเสร็จตามจำนวนที่ต้องการได้
  3. กลุ่มนี้ใช้แรงงานมากหน่อย เหม็นคาว ปาบนิดหน่อยทุบหอยเชอรี่เอาแต่ตัวไม่เอาเปลือกต้องคอยระวังถูกคมเปลือกหอยบาดด้วย หมอจรูญ อุตุภรณ์ ปศุสัตว์อำเภอเทิง นักเรียนบ้านเกี๋ยง วันเสาร์วันหยุดก็ต้องมาร่วมด้วยช่วยกัน หานมสดมาให้กลุ่มทำน้ำหมักนมเปรี้ยวด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 269530เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 04:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นสิ่งละอันพันละน้อย

ที่ละเอียดอ่อนเหมือนกันเนาะ

คนสมัยก่อนก็ทำอย่างนี้มาก่อนนะ

แต่คนสมัยใหม่ไม่เข้าใจเลยคิดว่าโบราณ

และละเลยเพิกเฉยปล่อยให้สูญหายไป

หารู้ไม่ว่ามีคุณค่ามาก

ขอบคุณที่เก็บมาอบรมสอนสืบต่อไป

อย่างน้อยก็ฉุดรั้งช่วยโลกเราให้ร้อนช้าลงเนาะ

ขอบคุณพี่เก็จถะหวาครับที่มาเสนอแนะครับ

อยากทราบว่าน้ำหมักหอยเชอรี่ไม่ต้องใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์หรือครับ

เเล้วถ้าให้หมูกินเพื่อเพิ่มโปรตีนเราจะให้กินอย่างไรครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้

อีกเรื่องนึงครับคือเรื่องกากน้ำตาลสามารถใช้เเทนน้ำตาลทรายได้หรือเปล่าครับเพราะราคาจะต่างกันมากเพราะใช้เยอะครับ

เเล้วน้ำหมักหอยเชอรรี่เราจะใช้น้ำหมักของมันผสมให้หมูกินได้หรือเปล่าครับหรือใช้เเค่เนื้อของหอยครับ

เรียนคุณพลายเพชร ขอขอบคุณที่ติดตามครับ ขอตอบคำถามดังนี้

๑.ให้สัตว์กินโดยน้ำน้ำหมักที่ได้ผสมในอาหารอัตราส่วน๒ซ้อนต่อน้ำ๒๐ลิตร

๒.กากน้ำตาลก้อแทนกันได้แต่ประสิทธิภาพก็จะด้อยกว่าเพราะว่าเราหมักแบบไม่มีหัวเชื้อเร่ง หากว่าหมักระยะสั้นๆกระบวนการหมักไม่สมบูรณ์ครับหากจะใช้ควรหมักนานสักสามเดือนจะดีมากครับ

๓.เราต้องบีบคั้นเอาแต่น้ำมาใช้ในขบวนการทำอาหารขั้นต่อไปอีก สำหรับกากที่ได้ก็นำไปผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์ที่กินเนื้อได้เช่นจระเข้ ปลาดุก เป็นต้น

หวังว่าคงพอจะเข้าใจนะครับ

สุพล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท