หลักกิโลเมตรที่ 2 ของคนเรียนรู้เส้นทางสายสุขภาพ


พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการเปิดประตูนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยยกระดับระบบสุขภาพ โ

 

Issue 2: National Health Act

สถานะสุขภาพของบุคคลในสังคมเป็นผลจากปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยอื่น รวมถึงนโยบายหรือแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพของประชาชนทั้งในทางบวกและทางลบ ดังนั้น การพัฒนาสุขภาพให้ได้ผลจึงต้องหาทางปรับเปลี่ยนทิศทางของนโยบาย มาตรการ แผนงาน สู่นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Healthy Public Policy)

นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับทุกด้าน เพราะเป็นกลไกที่ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคมและสร้างปัญญาในขอบเขตที่กว้างขวาง ด้วยกลยุทธ์การจัดตั้งกองทุนสุขภาพ จัดตั้งองค์กรพัฒนาสุขภาพ การออกกฎหมาย ระเบียบที่เอื้อต่อสุขภาพ การให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น พัฒนาบุคลากร และปรับระบบขวัญกำลังใจ ทั้งนี้ หัวใจของความสำเร็จอยู่ที่การมีภาวะผู้นํา ซึ่งแสดงเจตจํานงแน่วแน สร้างพลังอํานาจให้แก่ประชาชน สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพดี สร้างภาคีเพื่อสุขภาพ และการมีพันธะที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและลบ ทั้งนี้ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของการเปิดประตูนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยยกระดับระบบสุขภาพ โดยมอง“สุขภาพ” ที่มีความหมายกว้างขวางขึ้น และมีการกำหนดสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพเพิ่มเติม โดยมีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นศูนย์ประสานให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมกันดูแลระบบสุขภาพ ซึ่งมีสำนักงานคระกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ทำหน้าที่เป็นองค์กรเลขานุการ เพื่อดำเนินภารกิจจัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในการกำหนดทิศทางนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานในระบบสุขภาพแห่งชาติ โดยมี “สมัชชาสุขภาพ” เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่จะทำให้ประชาชน ได้รับบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการ  

การประสานพลังความคิด สติปัญญาจากทุกภาคส่วน จนทำให้ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ได้ออกมาสร้างและพิทักษ์สิทธิ์ด้านสุขภาพของประชาชนนั้น ถือเป็นสัมมาทิฐิในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม แต่บทเรียนผลกระทบจากนโยบายสาธารณะที่ผ่านมา ย่อมอยู่ในความตระหนักว่า ทุกส่วนจะต้องติดตาม รับฟังเสียงสะท้อนเพื่อทราบผลกระทบขอนโยบายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ซึ่งนำมาสู่การแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 268950เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • ไม่ได้ลงทะเบียน แต่แอบมาขอเรียนรู้ด้วยนะครับ

ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์ แต่ไม่แน่ใจว่า พอจะมีอะไรให้เรียนรู้บ้างหรือเปล่านะครับ แต่ยังไงก็ยินดีครับ ผมยังต้องฝึกอีกเยอะเลย ยังไงก็ขอคำแนะนำด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท