ปากคาดปากยิ้ม
สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด สำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด

พัฒนาการอีกขั้น...ของครูฝึกกรีดยางที่ปากคาด


อำเภอปากคาดได้ยกระดับพัฒนาชาวสวนยางพาราที่มีความสามารถกรีดยาง ทำยางก้อนถ้วยและทำยางแผ่นดิบเพื่อทำหน้าที่เป็นครูฝึกกรีด(ผู้ช่วยวิทยากร)

อำเภอปากคาดได้ยกระดับพัฒนาชาวสวนยางพาราที่มีความสามารถกรีดยาง ทำยางก้อนถ้วยและทำยางแผ่นดิบ จำนวน 12 คน ไปฝึกทบทวน / ปรับเนื้อหา การกรีดยางพารา ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตร และให้ทำหน้าที่เป็นครูฝึกกรีด(ผู้ช่วยวิทยากร) โดยมีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดหนองคาย (ยางพารา) เป็นหัวหน้าทีมวิทยากร จำนวน 1 นาย  ในปี 2551 ได้ทำหน้าที่ฝึกกรีดยางพารา จำนวน 3 รุ่น 133 คน

ท่านทั้งหลายเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2551 จำนวนรุ่นที่ครูฝึกกรีดยางได้ทำหน้าที่ร่วม 16 รุ่น ชาวสวนที่ผ่าน จำวน 475 คน

ผ่านไปเร็วดังที่ผู้อาวุโสได้กล่าวไว้ว่าเวลานั้นสะสมไว้ไม่ได้ กลางวัน กลางคืน ผ่านไปสิ้นธันวาคม 2551 ก็เป็น 1 มกราคม 2552  พวกเราตระหนักดีว่านี่เพิ่งเริ่มต้นนับหนึ่ง จะนับสองให้มั่นใจจักทำอย่างไรหนอ  เพื่อไม่ให้เสียเวลาอย่ากระนั้นเลย พวกเฮาหันกลับดูตัวเองอจ่างจริงจัง(มีความลำเอียง)พอประมาณ) พวกเราจึงให้ชาวสวนที่ผ่านการอบรม และ คณะผู้บริหารและนักการเมืองท้องถิ่น ตรวจสอบพวกเราว่าสมควรได้รับการยอมรับให้ทำหน้าที่ต่อไปอีกไหมคำตอบว่า เป็นที่ยอมรับ

        อีกวิธีหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรฝีกกรีดยางพาราโดยไม่มีนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดหนองคาย และสำนักงานเกษตรอำเภอปากคาด ผลเป็นที่ประจักษ์ สอบผ่าน

        สรุป ประสบการณ์ถอดบทเรียนประมาณนั้น ที่ท่านนักวิชาการชอบใช้ พวกเรายืมมาใช้บ้าง  ได้นำครูฝึกกรีดยาง ทั้งหมดไปสรุปประสบการณ์ทำงาน แนวทางการปฏิบัติงาน คู่มือการฝึกอบรม ผลการดำเนินงาน ประสบการณ์ทำงาน คู่มือการฝึกอบรมและสิ่งที่ใช้ในการฝึกอบรม(ค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ http:// aopdr.01.doae.go.th

        พี่น้องชาวเกษตรครับ เหตุการณ์หลังจบ สรุปประสบการณ์ถอดบทเรียน ครูฝึกมีความเชื่อมั่น ตระหนักในคำว่า ครูนอกห้องฝึกอบรม เขาเหล่านั้นได้เล่นทบบาทเพื่อนบอกเพื่อนเพื่อนสอนเพื่อนในชุมชน และละแวกใกล้เคียงเมื่อมีเพื่อชาวสวนสนใจแวะเวียนเข้ามาหา เขาได้ให้งานส่งเสริมการเกษตร ช่วยประยัดบงประมาณแผ่นดิน ประการสำคัญเขาเหล่านั้นได้รับการอบรมเมื่อถูกพบในที่สาธารณะ ชาวสวนเรียกพวกเขาว่า ครู/ครูครับ จำผมได้บ่ ครุครับกินข้าวกับผม ผมเป็นเจ้ามือ

 

          เล่าไปเหมือนฝันแต่เป็นเรื่องราวเกิดขึ้นจริง เมื่อสำนักงานแรงงานจังหวัดหนองคาย และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานหนองคาย ได้รับงบประมาณฝึกอาชีพกรีดยางพารา หน่วยงานละ 40 รุ่น รวม 80 รุ่น ในพื้นที่ตั้งแต่ อำเภอรัตนวาปี เฝ้าไร่ ปากคาด บึงกาฬ  โซ่พิสัย บึงกาฬและเซกาตั้งแต่ 10 กุมภาพันธ์ 2552  - 29 พฤษภาคม 2552 วิทยากรฝึกกรีดยางพาราที่ประจำที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ดังกล่าว ศูนย์วิจัยยางพาราหนองคาย และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดหนองคาย มีไม่พอเพียงในห้วงเวลาดังกล่าว

งานเข้าละคับพี่น้อง ครูฝึกกรีดยางพาราสำนักงานเกษตรอำเภอปากคาดได้ไปทำหน้าที่ตามถิ่นที่จัด

·       สำนักงานแรงงานจังหวัดหนองคาย

-         อบตหนองเลิง   อ.บึงกาฬ 3 รุ่น 75 คน

-         อบต.โนนศิลา   ปากคาด 3 รุ่น 75 คน

-         อบต.นากั้ง       อ.ปากคาด 1 รุ่น 25 คน

-         เทศบาล ต.เฝ้าไร่ อ.เฝ้าไร่ 2 รุ่น 50 คน

-         เทศบาล  ต. ท่าสะอาด เซกา  2  รุ่น  50 คน

รวม  11  รุ่น   275   คน

·       ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดหนองคาย

-         เทศบาล ต.หอคำ  บึงกาฬ   2 รุ่น 50 คน

-         อบต.โสกก่าม เซกา   4 รุ่น 100คน

-         อบต.หนองเลิง  บึงกาฬ  1  รุ่น  100  คน

-         อบต. ไคสี  บึงกาฬ   2  รุ่น  50  คน

รวม  9  รุ่น  225  คน

·       อบต.ปากคาด     1 รุ่น  38  คน

·       อบต.สมสนุก    1 รุ่น   50  คน

พี่น้องครับ รวม  588  คน  ครูฝึกทำงานนี้เป็นตัวเลขที่ครูฝึก (อาสาสมัคร) ช่วยให้งานไปได้ ขณะที่พวกเราชาวส่งเสริมเกษตรทำภารกิจปกติ สบายแบบเบิร์ด ๆ

พวกเขาเหล่านั้นมีกระบวนการอะไรบ้าง  อย่างไร  เหล่าครูฝึกมีกระบวนการที่นักฝึกอบรมดำเนินการครับ

หลังจากพิธีการเปิด เจ้าภาพมอบเวทีให้เหล่าครูฝึกได้เริ่มต้น

1.      ทักทาย กล่าวขอบคุณเจ้าภาพ แล้วทักทายชาวสวนผู้เข้าอบรม

2.      แนะนำทีม

3.      แจ้งตาราง / ประเด็นเรียนรู้  ขอหลักสูตร  5  วัน

4.      แจ้งกติกาการอยู่ร่วมกัน

5.      ดำเนินการตามตารางฝึกอบรม ที่ประกอบด้วย  ทฤษฎีและปฏิบัติ แทรกการละลายพฤติกรรม (โจ๊ก, ละคร, นิทานอีสาน, เพลง)

6.      ให้คะแนนภาคปฏิบัติ

7.      ทดสอบภาคทฤษฎี

8.      สรุปคะแนน

9.      ให้ชาวสวนผู้เข้าอบรม วิจารณ์และครูฝึกกล่าวขอบคุณและขอโทษที่ล่วงละเมิดบางประเด็น

10.  มอบเวทีคืน เมื่อเวลา  14.00 น.  ของวันที่ 5  หลักสูตรJJJJJJJ

หมายเลขบันทึก: 268684เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 05:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นกิจกรรมที่ดีมากครับ

นำมาเผยแพร่อีกนะครับ

ดีมากครับ ขอโทษที่มาเยี่ยมช้าไปหน่อย

ขออนุญาต นำข้อมูลไปใช้ปรโยชน์ เผยแพร่ต่อ

แต่รู้สึกว่า ชื่อเวบไซด์ของ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรจังหวัดหนองคาย(ยางพารา) ไม่ใช่ http:// aopdr.01.doae.go.th แต่เป็น เวบนี้ http://aopdr01.doae.go.th โปรดสังเกต ชื่อเดิม แต่มีเว้นวรรค และมีจุดเพิ่มขึ้นมา เลยไม่ถูกต้อง

เป็นกิจกรรมเด่นที่สำนักงานเกาตรจังหวัดหนองคาย นำไปเป็น Best Practice แล้วจะติดตามเรื่องต่อไป

ผมอยากจะรบกวน ขอรายชื่อของครูฝึกกรีด ในจังหวัดหนองคาย ที่มีอยู่ในอำเภอต่างๆ ช่วย ส่งตามเมล นี้ [email protected] หรือจะให้ผมไปต่อกับใครได้ เพราะว่าที่หน่วยงานของผม จะมีโครงการเปิดฝึกกรีดยาง ผมทำงานอยู่ที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานหนองคาย ขอบคุณล่วงหน้าครับ จาก ธนาวุธ

กลุ่มผลิตพันธุ์ยางพาราอันดามัน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา 82140 เราเป็นผู้ผลิตต้นกล้ายางพาราทั้งชนิดตาเขียวและชำถุง ที่ได้มาตรฐานรายใหญ่ ประสบการณ์กว่า 10 ปี กิ่งตาพันธุ์แท้ที่กรมวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับรอง คุณภาพมาตรฐานส่งออก มีพันธุ์ Pb235 / RRIM 600 / RRIT 251 และ รับติดตาตามสั่งจอง ติดต่อคุณวิชาญ โทร.086 2771345 E-mail:[email protected]

(ต้องการเป็นตัวแทนจำหน่าย รีบติดต่อกลับด่วน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท