เมื่อแรกเรียนรู้ การพัฒนาสุขภาพ


สุขภาวะบนความสมดุล
Issue 1: Health Development Approach
        จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชน ที่มีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่ไม่จำเป็นเพิ่มสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับกระบวนทัศน์เกี่ยวกับสุขภาพ โดยถือว่า “สุขภาพ คือสุขภาวะ” ซึ่งมองสุขภาพทั้งในมิติทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่เชื่อมโยงกับเหตุปัจจัยทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการยกระดับเพดานความสำเร็จของการพัฒนาสุขภาพ บนพื้นฐานของความถูกต้องพอดี ดำรงอยู่ในครอบครัว ชุมชนและสังคมที่พัฒนาอย่าง "สมดุล"
        การพัฒนาสุขภาพ ต้องดำเนินการพัฒนาทั้งระบบ เพราะสุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงมุ่งพัฒนาทั้งงานสร้างสุขภาพและควบคุมโรค ระบบประกันสุขภาพ ระบบบริหารทรัพยากร และมาตรการทางกฎหมาย โดยการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากร เสริมสร้างบทบาทของประชาชน ภายใต้หลักคิดสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของ ศ.นพ. ประเวศ วะสี (2545) ซึ่งส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสุขภาพอย่างชัดเจน ทั้งอัตราตายมารดาและทารก ที่มีแนวโน้มลดลง อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของประชากรทั้งชายและหญิงที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสถานบริการสุขภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ การติดอาวุธด้านปัญญาให้กับประชาชน ถือเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาสุขภาพ ที่จะทำให้ประชาชน พึ่งตนเองด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการสร้างสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ด้วยงบประมาณที่น้อย และไม่มีกำแพงด้านชนชั้น ใครทำใครได้ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาที่มุ่งสร้างสุขภาพเป็นฐาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการคับคั่งของผู้ป่วยในสถานบริการสุขภาพได้เป็นอย่างดี
         ด้วยมิติของสุขภาวะ ที่ผูกโยงกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในยุคแห่งการแข่งขันเพื่อยึดพื้นที่สื่อ จึงปฏิเสธมิได้ว่า สื่อเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อแนวคิด ความเชื่อ ค่านิยมของคนในสังคมที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมอย่างเท่าทัน เพื่อมิให้สังคมตกเป็นเหยื่อของสื่อที่ไร้จริยธรรม นำมาสู่ปัญหาสุขภาพและภัยคุมคามสุขภาพที่รุนแรง จนกลายเป็นสังคมที่ขาดสมดุล และเต็มไปด้วยผู้คนอ่อนแอทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ

คนยโส; ประเสริฐ ประสมรักษ์
หมายเลขบันทึก: 268408เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

  • สวัสดีครับ
  • ตามมาอ่าน เพราะเฝ้าระวังอยู่ทางนี้ครับ http://gotoknow.org/planet/phd-chd-kku 
  • ผมว่าตัวหนังสือเล็กไปนะครับ ลองปรับให้ขนาดใหญ่ขึ้นได้ครับ

มีประโยชน์มากครับ ผมจะได้นำไปเป็นนโยบายของพรรคฯในอนาคต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท